Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเสื่อมโทรม, เสื่อมโทรม, ความ , then ความ, ความสอมทรม, ความเสื่อมโทรม, สอมทรม, เสื่อมโทรม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเสื่อมโทรม, 3276 found, display 1751-1800
  1. มไหศวรรย์ : [มะไหสะหฺวัน] น. อํานาจใหญ่; สมบัติใหญ่; ความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน. (ส. มไหศฺวรฺย, มไหศฺวรฺยฺย).
  2. มอบฉันทะ : ก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทําแทนโดย มีหลักฐาน.
  3. มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
  4. มอร์ฟีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H19O3N ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๒๕๔ ? ซ. มีในฝิ่น เป็น ยาเสพติดอย่างแรง ทางแพทย์ใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์หรือเกลือ แอซีเทต หรือเกลือซัลเฟตของมอร์ฟีนเป็นยาระงับความปวด. (อ. morphine).
  5. มะเหงก : [-เหฺงก] น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สําหรับเขกหรือชูให้ประกอบ คํากล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก.
  6. มักกะสัน : น. ชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมากัสซาร์ตอนใต้เกาะเซเลบีส, โดยปริยายหมาย ความว่า มีรูปร่างใหญ่โต ดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว เช่น รูปร่างอย่างกับยักษ์มักกะสัน.
  7. มักขะ : น. ความลบหลู่คุณท่าน (เป็นประการหนึ่งในอุปกิเลส ๑๖). (ป.).
  8. มักง่าย : ก. มีนิสัยชอบเอาแต่ความสะดวกเข้าว่า.
  9. มัจจุ : น. ความตาย. (ป.; ส. มฺฤตฺยุ).
  10. มัจจุราช : น. ''เจ้าแห่งความตาย'' คือ พญายม. (ป.).
  11. มัจฉริยะ : น. ความตระหนี่. (ป.; ส. มาตฺสรฺย).
  12. มัตตัญญู : น. ผู้รู้ประมาณคือความพอเหมาะพอดี. (ป.).
  13. มัตสรรย์ : [มัดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
  14. มัททวะ : น. ความอ่อนโยน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).
  15. มัทนียะ : [มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).
  16. มันตา : น. ความรู้, ปัญญา. (ป.).
  17. มันสมอง : น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก.
  18. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  19. มาตราพฤติ : น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยมาตรา คือ กําหนดคําในฉันท์ แต่ละคําเป็นมาตราส่วน เช่น คําครุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คําลหุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
  20. มาตสรรย์ : [มาดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา; ใช้ว่า มัตสรรย์ ก็มี. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
  21. ม้าน : ก. เหี่ยวแห้ง; เผือดเพราะความอาย. น. เรียกข้าวที่ยืนต้นแห้งตาย เพราะขาดน้ำเนื่องจากฝนแล้งว่า ข้าวม้าน; เรียกหน้าที่เผือดด้วย ความละอายจนไม่กล้าสบตาคนว่า หน้าม้าน.
  22. มาน ๒ : น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).
  23. มานะ ๒ : น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
  24. มายาการ : น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้ พลังหรืออํานาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.
  25. มาลา : น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ เรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ; สาย, แถว. (ป., ส.).
  26. มาเหนือเมฆ : (สํา) ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือ ปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย.
  27. มิ่งมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นสิริมงคลอันจะนำความสุขความเจริญมาสู่.
  28. มิจฉาทิฐิ : น. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. (ป.).
  29. มิจฉาวายามะ : น. ความพยายามผิด. (ป.).
  30. มิจฉาสติ : น. ความระลึกในทางผิด. (ป.).
  31. มิจฉาสมาธิ : น. สมาธิผิด, ความตั้งใจผิด. (ป.).
  32. มิจฉาสังกัปปะ : น. ความดําริในทางที่ผิด. (ป.).
  33. มิตรจิต : น. ความมีนํ้าใจเอื้อเฟื้อเสมือนเพื่อนรัก, ความรักใคร่ ประนีประนอมฐานเพื่อนรัก, เช่น มีมิตรจิตต่อกัน.
  34. มิตรภาพ : น. ความเป็นเพื่อน เช่น มิตรภาพระหว่างเขาทั้งสอง. (ส.).
  35. มิทธะ : [มิด-] น. ความท้อแท้, ความเชื่อมซึม. (ป., ส.).
  36. มิลลิบาร์ : (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ มิลลิบาร์มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ ดายน์ ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๐ นิวตันต่อตารางเมตร. (อ. millibar).
  37. มีชีวิตชีวา : ว. มีความสดชื่นคึกคัก.
  38. มีเสียง : ก. เถียง, มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่ามีเสียงนะ.
  39. มีหน้า : ว. ไม่รู้สึกอาย (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น), มักใช้กับคํา ยัง เช่น โกรธกันแล้วยังมีหน้ามาพูด เก่าไม่ใช้ ยังมีหน้ามายืมใหม่อีก.
  40. มีหน้ามีตา : ว. มีคนนับถือ, มีเกียรติ, ได้รับความยกย่อง.
  41. มือเก่า : ว. มีความชํานาญหรือชํ่าชองมาก เช่น อย่าประมาท มือเก่านะเจ้าเอ๋ย. (อภัย).
  42. มือขวา : น. ความสันทัด เช่น การรบพุ่งชิงชัยมันเป็นมือขวา ของเขานี่ครับ. (ชิงนาง ร. ๖). ว. ที่ใกล้ชิด, ที่เก่งกล้าสามารถ, ที่ไว้วางใจได้, เช่น สมุนมือขวา.
  43. มือดี : ว. มีความชำนาญ, มีความสามารถสูง, เช่น เขาเป็นคน มือดีของกองปราบ.
  44. มือตก : ว. เสื่อมความสามารถลง เช่น หมู่นี้เล่นบิลเลียดมือตกไป, เสื่อมความนิยม เช่น เขียนหนังสือมือตกไป, เสียมากกว่าได้ ในการเล่นการพนัน เช่น ตอนนี้เขาเล่นไพ่กำลังมือตก.
  45. มือที่สาม : น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก หรือบ่อนทำลาย.
  46. มือเที่ยง : ว. แน่, แม่นยำ, เช่น เขายิงปืนมือเที่ยง; มีความสามารถ ในการบังคับมือให้เขียนเส้นตรง เส้นโค้ง หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น ได้ตามที่ต้องการ เช่นในการเขียนเส้นตรงได้ตรงเหมือน ไม้บรรทัดหรือเขียนวงกลมได้กลมดิกเป็นต้น.
  47. มือเป็นระวิง : (สำ) ว. อาการที่ใช้มือทำงานไม่ได้หยุด ในความว่า ทำงานมือเป็นระวิง.
  48. มือมืด : น. ผู้ที่ลอบทําความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเหลือรู้ เหลือเห็นว่าเป็นใคร.
  49. มือไม่ถึง : ว. มีความสามารถยังไม่ถึงระดับ.
  50. มือรอง : น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก, คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | [1751-1800] | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3276

(0.1483 sec)