Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอัปลักษณ์, อัปลักษณ์, ความ , then ความ, ความอปลกษณ, ความอัปลักษณ์, อปลกษณ, อัปลักษณ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอัปลักษณ์, 3278 found, display 1551-1600
  1. พลังงาน : (วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้ แรงงานได้. (อ. energy).
  2. พลังจิต : น. ความเข้มแข็งของจิตใจ, อํานาจจิต.
  3. พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ : (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
  4. พลาสติก : น. สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัวเมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิด แข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียมใช้ทําสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์. (อ. plastic).
  5. พวงมาลา : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ.
  6. พสุ : [พะ] น. ชื่อเรียกเทวดาจําพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี. ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
  7. พหูสูต : น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียน มามาก. (ป. พหุสฺสุต).
  8. พอ : ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง, เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
  9. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  10. พ้อ ๑ : ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, ตัดพ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้.
  11. พอกพูน : ก. เพิ่มขึ้นโดยลําดับ เช่น ทรัพย์สินพอกพูน พอกพูน ความรู้.
  12. พ้อง : ว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.
  13. พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
  14. พอดีพอร้าย : ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความ ไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
  15. พอตัว : ว. พอเหมาะสมแก่ตน เช่น มีความสามารถพอตัว.
  16. พอที่ : ว. เหมาะ, ควร, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่พอที่ เช่น ไม่พอ ที่จะเข้าไปยุ่งกับเขาเลย.
  17. พอไปได้ : ว. พอจะใช้ได้บ้าง เช่น ความรู้ของเขาพอไปได้.
  18. พอสถานประมาณ : ว. เพียงระดับปานกลาง เช่น เขามีความรู้พอ สถานประมาณ, พอสัณฐานประมาณ ก็ว่า.
  19. พะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
  20. พะพาน : ก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้ พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.
  21. พัก : ก. หยุดชั่วคราว เช่น พักร้อน พักเครื่อง, อยู่ชั่วคราว, อาศัยชั่วคราว, เช่น บ้านพัก; รอรั้ง มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่พักต้องว่า. น. คราว เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดินไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
  22. พัฒน, พัฒนะ : [พัดทะนะ] น. ความเจริญ. (ป. วฑฺฒน; ส. วรฺธน).
  23. พัฒนากร : น. ผู้ทําความเจริญ, ผู้ทําการพัฒนา.
  24. พัฒนาการ : น. การทําความเจริญ, การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น, การคลี่คลายไปในทางดี.
  25. พัดยศ : น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการศึกษา การ บริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดง ลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
  26. พันธุกรรม : น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการ บางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.
  27. พาดหัวข่าว : ก. เก็บความสําคัญของข่าว นํามาตีพิมพ์เป็นหัวเรื่อง โดยใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ผิดปรกติเพื่อให้เกิดความสนใจ, เรียก ข่าวเช่นนั้นว่า ข่าวพาดหัว.
  28. พาธ, พาธา : น. ความเบียดเบียน, ความทุกข์. (ป., ส.).
  29. พาน ๓ : น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความ เป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน.
  30. พายเรือทวนน้ำ : (สํา) ก. ทําด้วยความยากลําบาก.
  31. พายุไซโคลน : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความ เร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป.
  32. พายุทอร์นาโด : น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมี ความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลาง พายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรือ งวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกา และทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก.
  33. พายุหมุน : น. ลมแรงที่พัดเวียนเข้าหาบริเวณศูนย์กลางที่มีความกด อากาศต่ำกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบมาก.
  34. พาโล : ก. แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น, กล่าวหาความ, บางทีก็ใช้มี สร้อยว่า พาโลโสเก หรือ พาโลโฉเก. (ป., ส. พาล).
  35. พาหุสัจจะ : น. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก. (ป.).
  36. พิฆเนศ, พิฆเนศวร : [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพ แห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
  37. พิชญ์ : น. นักปราชญ์, คนมีความรู้สูง. (ส. วิชฺ?).
  38. พิชย, พิชัย : [ชะยะ] น. ความชนะ. (ป., ส. วิชย).
  39. พิชาน : น. ความรู้สึกตัว, การรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า. (อ. consciousness).
  40. พิทย, พิทย์, พิทยา : [พิดทะยะ, พิด, พิดทะยา] น. ความรู้. (ส. วิทฺยา; ป. วิชฺชา).
  41. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  42. พิธี : น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
  43. พิธีสาร : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจาก สนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไข เพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
  44. พินาศ : น. ความเสียหายสิ้นเชิง, ความเสียหายย่อยยับ. ก. เสียหายสิ้นเชิง, เสียหายย่อยยับ. (ป. วินาส; ส. วินาศ).
  45. พิบัติ : น. ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล. ก. ฉิบหาย. (ป., ส. วิปตฺติ).
  46. พิพัฒน์ : น. ความเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน).
  47. พิพากษา : (กฎ) ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าว ว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้นว่า คำพิพากษา. (ส. วิวกฺษา ว่า ความสำคัญ).
  48. พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน : [พิพิดทะพัน, พันทะสะถาน] น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้าน วัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.
  49. พิมล : [พิมน] ว. ปราศจากมลทิน, ปราศจากความมัวหมอง; ผ่องใส. (ป., ส. วิมล).
  50. พิโมกข์ : น. ความพ้น, ความเปลื้องออก, ชื่อพระนิพพาน. ก. เปลื้อง, พ้น. (ป. วิโมกฺข; ส. วิโมกฺษ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | [1551-1600] | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3278

(0.1529 sec)