Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอัปลักษณ์, อัปลักษณ์, ความ , then ความ, ความอปลกษณ, ความอัปลักษณ์, อปลกษณ, อัปลักษณ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอัปลักษณ์, 3278 found, display 1601-1650
  1. พิริย, พิริยะ : [พิริยะ] น. ความหมั่น, ความกล้า; คนกล้า, คนแข็งแรง, นักรบ. (ป. วิริย; ส. วีรฺย ว่า ความหมั่น, ความกล้า).
  2. พิศวาส : [พิดสะหฺวาด] ว. รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส; ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).
  3. พิศุทธ์ : ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน, ไม่มีความ เสียหาย, ไม่มีตําหนิ. (ส. วิศุทฺธ; ป. วิสุทฺธ).
  4. พิศุทธิ์ : น. ความผ่องใส, ความงาม, ความดี, ความสะอาด, ความบริสุทธิ์, ความถูกต้อง; การล้าง. (ส. วิศุทฺธิ; ป. วิสุทฺธิ).
  5. พิเศษ : ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
  6. พิษ, พิษ : [พิด, พิดสะ] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความ เดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทํา ให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).
  7. พิสดาร : [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
  8. พิสมัย : [พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่ หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
  9. พิสัญญี : ว. วิสัญญี, หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ.
  10. พิสัย : น. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตําบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).
  11. พิสูจน์ : ก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริง ในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
  12. พีชคณิต : [พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มา ศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบ จํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็น สําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
  13. พึง : ว. คําช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป ว่าควรไป, หมายความจําเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทํา ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทํา.
  14. พึ่ง ๑ : ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
  15. พึมพำ : ก. พูดค่อย ๆ จับความไม่ได้ เช่น เขาพึมพำอยู่คนเดียว.
  16. พืชมงคล : [พืดชะ, พืด] น. ชื่อพระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดเพื่อ ความเจริญของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์.
  17. พื้นฐาน : น. รากฐาน เช่น เขามีพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษดี, หลัก ความรู้เบื้องต้น เช่น วิชาพื้นฐาน.
  18. พื้นดี : น. อารมณ์ดี; พื้นความรู้ดี. ว. ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาดี.
  19. พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
  20. พุฒิ : [พุดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์. (ป. วุฑฺฒิ).
  21. พุทธิ : [พุดทิ] น. ปัญญา, ความฉลาด. (ป.).
  22. พุทธิศึกษา : น. การศึกษาที่เน้นในเรื่องการสอนให้เกิดความรู้ ความคิดอย่างมีเหตุผล.
  23. พุทโธ่ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรําคาญใจเป็นต้น.
  24. เพ่งพิศ : ก. ดูด้วยความพินิจพิเคราะห์.
  25. เพชรดา : [เพ็ดชะดา] น. ความแข็ง, ความอยู่ยงคงกระพัน.
  26. เพทนา : [เพดทะ] น. เวทนา, ความรู้สึก. (ดู เวทนา).
  27. เพราะฉะนั้น : สัน. คําสําหรับนําหน้าความที่บอกผลหรือข้อสรุป.
  28. เพราะว่า : สัน. คําสําหรับนําหน้าความที่อธิบายเหตุหรือสาเหตุ.
  29. เพียงตา : ว. ระดับตา, เรียกศาลเทพารักษ์ที่ทำขึ้นชั่วคราว มีระดับ เสมอนัยน์ตาเพื่อความเคารพและสวัสดิมงคล ว่า ศาลเพียงตา.
  30. เพียร : น. ความบากบั่น, ความกล้าแข็ง. ก. พยายามจนกว่าจะสําเร็จ, บากบั่น. (ส. วีรฺย; ป. วิริย).
  31. แพแตก : (สํา) ว. ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจาย แยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธาน ประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต.
  32. แพร่งพราย : ก. แยก, กระจายไป, แผ่ไป; เปิดเผยความลับ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เรื่องนี้รู้แล้วอย่าแพร่งพรายไป.
  33. แพ้รู้ : ก. แพ้ความคิด, เสียที, เสียรู้.
  34. แพะ ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Capra hircus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์ กีบคู่ขนาดกลาง มีความอดทน แข็งแรง และทนทานต่อโรคได้ดี กว่าสัตว์กีบคู่อื่น ๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือ ภูเขาได้ดี ขนหยาบสีดํา ขาว หรือนํ้าตาล มีเขา ๑ คู่ ตัวผู้มีเครา หางสั้น; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาว ช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก.
  35. โพธ : [โพด] น. ความรู้, ความเข้าใจ, ความฉลาด. (ป., ส.). ก. แย้ม, บาน, แรกรุ่น เช่น นงโพธ.
  36. โพธิปักขิยธรรม : น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรม เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
  37. โพธิ, โพธิ์ : [โพทิ, โพ] น. ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ. (ป., ส.).
  38. ไพ่ตาย : น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือ เขาทิ้งให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยายหมายถึงเรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่าย หนึ่งกำเป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด.
  39. ไพบูลย์ : น. ความเต็มเปี่ยม, ความเต็มที่. ว. เต็มเปี่ยม, เต็มที่. (ส. ไวปุลฺย; ป. เวปุลฺล).
  40. ไพมอก : ก. ครํ่าครวญ, บ่นด้วยความเศร้า.
  41. ฟ้องกลับ : (ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจําเลยในคดีอาญา ด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิก ความเท็จ.
  42. ฟ้องตัวเอง : ก. แสดงความผิดของตนออกมาให้ผู้อื่นรู้โดยไม่ได้ ตั้งใจ, แสดงความเท็จออกมาให้ปรากฏ.
  43. ฟอนเฟะ : ว. เละเทะ, เป็นที่น่ารังเกียจ, เช่น มีความประพฤติฟอนเฟะ สังคมฟอนเฟะ.
  44. ฟังขึ้น : ว. พอจะยึดถือได้ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เหตุผลฟังไม่ขึ้น.
  45. ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด : (สํา) ก. ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ หรือทําผิด ๆ พลาด ๆ.
  46. ฟาดเคราะห์ : ก. ทําพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว, สละสิ่งใด สิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไป; (ปาก) ตัดใจยอมเสียสิ่งใด สิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้ว เป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์.
  47. ฟาดหัว : (ปาก) ก. ให้เพื่อตัดความรําคาญเป็นต้น, ให้เพราะดูถูก, เช่น เอาเงินฟาดหัวไป.
  48. ฟาทอม : น. มาตราวัดระยะทาง เท่ากับ ๖ ฟุต หรือ ๑.๘ เมตร มักนิยมใช้วัด ความลึกของทะเล. (อ. fathom).
  49. ฟ้าร้อง : น. เสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศขยายตัวเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็วเพราะความร้อนที่เกิดจากฟ้าแลบ.
  50. ฟ้าแลบ : น. แสงที่เกิดวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจํานวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็น เหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | [1601-1650] | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3278

(0.1336 sec)