Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความก้าวร้าว, ก้าวร้าว, ความ , then ก้าวร้าว, ความ, ความกาวราว, ความก้าวร้าว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความก้าวร้าว, 3280 found, display 1401-1450
  1. ป่ายปีน : ก. ปีนหรือตะกายขึ้นไปด้วยความยากลำบาก, ปีนป่าย ก็ว่า.
  2. ป้ายสี : ก. ใส่ความผู้อื่นโดยไม่มีมูลความจริง, ให้ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
  3. ปาราชิก : น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวด อุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
  4. ปาสาทิกะ : (แบบ) ว. นํามาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
  5. ปิด : ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้ เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน; ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง; โดย ปริยายหมายความว่า หยุด เช่น โรงเรียนปิด, ทําให้หยุด เช่น ปิดพัดลม ปิดวิทยุ, ไม่เปิดเผย เช่น ปิดวิชา ปิดความ.
  6. ปิดทองหลังพระ : (สํา) ก. ทําความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะ เไม่มีใครห็นคุณค่า.
  7. ปิดบัง : ก. ไม่เปิดเผย เช่น ปิดบังความรู้ ปิดบังความจริง.
  8. ปี้ ๑ : (โบ) น. กระเบื้องถ้วยหรือทองเหลืองหรือแก้วทําเป็นเครื่องหมาย สําหรับใช้แทนเงินในบ่อนเบี้ย; ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้ง ก่อนเป็นสําคัญว่าได้เสียเงินค่าราชการแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ความดี ความชอบ.
  9. ปีกหัก : (ปาก) ว. ที่ประสบความผิดหวังหรือพลาดพลั้งอย่างรุนแรง จนหมดกําลัง.
  10. ปีติ : น. ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ป.; ส. ปฺรีติ).
  11. ปีนเกลียว : ว. มีความเห็นไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกัน, แตกพวกหรือ ไม่ถูกกัน.
  12. ปีนป่าย : ก. ปีนหรือตะกายขึ้นไปด้วยความยากลำบาก, ป่ายปีน ก็ว่า.
  13. ปึกแผ่น : ว. ที่ตั้งอยู่ด้วยความมั่นคง, มีหลักฐานมั่นคง.
  14. ปูด ๓ : (ปาก) ก. พูดหรือเผยความลับเพราะทนเก็บไว้ไม่ได้.
  15. เป็ดขันประชันไก่ : (สํา) น. ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อยแต่อวด แสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง.
  16. เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
  17. เป็นกันเอง : ว. มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน.
  18. เป็นการ : ก. ได้ผล, สําเร็จ, เช่น เป็นการหรือไม่เป็นการ, มักใช้ใน ความปฏิเสธ เช่น เห็นจะไม่เป็นการ. เป็นการเป็นงาน, เป็นงานเป็นการ
  19. เป็นงาน : ว. มีความชำนาญ.
  20. เป็นชิ้นเป็นอัน : ว. เป็นสาระ, เป็นเรื่องเป็นราว, มักใช้ในความ ปฏิเสธว่า ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
  21. เป็นที่ ๒ : ว. ใช้นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อเสริมความให้แจ่ม ชัดยิ่งขึ้น เช่น เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นที่น่ากลัว เป็นที่น่าพอใจ.
  22. เป็นเพื่อน : ว. อาการที่อยู่ด้วยหรือไปด้วยเพื่อให้มีความอุ่นใจ.
  23. เป็นมัน : ว. อาการที่มองดูด้วยความอยากได้หรือพออกพอใจ เช่น เห็นผู้หญิงสาวสวยดูตาเป็นมัน เห็นเงินตาเป็นมัน.
  24. เป็นไร : ว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคําถาม หมายความว่า เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ.
  25. เป็นโล้เป็นพาย : ว. เอาการเอางาน, แข็งขัน, จริงจัง, ได้เรื่องได้ราว, เข้าท่าเข้าทางดี, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ทําไม่เป็นโล้เป็นพายเลย.
  26. เป็นสุข : ก. มีความสบายกายสบายใจ เช่น เขาถูกลอตเตอรี่รางวัล ที่ ๑ เวลานี้จึงเป็นสุขมาก ประชาชนในประเทศนี้อยู่เย็นเป็นสุข เสมอหน้ากัน, โดยปริยายหมายความว่า ตาย เช่น ไหน ๆ เขาก็ เป็นสุขไปแล้ว อโหสิให้เขาเถิด.
  27. เป็นอยู่ : ว. สภาพความเป็นไป ในคำว่า ความเป็นอยู่.
  28. เป็นอัน : ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันยุติ, เป็นอันว่า ก็ใช้; ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่เป็นอัน หมายความว่า ทําได้ไม่เต็มที่ เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
  29. เป็นอันว่า : ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันว่ายุติ, เป็นอัน ก็ใช้.
  30. เปรม : [เปฺรม] ก. สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ. น. ความรัก, ความชอบใจ. (ส.).
  31. เปรียญ : [ปะเรียน] น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตาม หลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป.
  32. เปรื่องปราด : ว. มีความคิดแคล่วคล่องว่องไว, ปราดเปรื่อง ก็ว่า.
  33. เปลี่ยนใจ : ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็น อย่างอื่น.
  34. เปลี่ยว ๑ : [เปฺลี่ยว] น. เรียกเนื้อที่นูนขึ้นที่คอวัวควายและสัตว์มีกีบเมื่อ เวลาหนุ่ม, ความหนุ่มของวัวควาย. ว. หนุ่ม (ใช้แก่วัวควาย).
  35. เปลี่ยวดำ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากความ เย็นมาก, เกลี่ยวดํา ก็ว่า.
  36. เปสุญ, เปสุญ-, เปสุไณย : [-สุน, -สุนยะ-, -ไน] น. ความส่อเสียด. (ป. เปสุ?ฺ?; ส. ไปศุนฺย).
  37. เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
  38. เปิดโปง : ก. เปิดเผยความลับที่เขาปิดไว้.
  39. เปิดเผย : ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผย ความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
  40. เปิดอก : ก. บอกความในใจอย่างไม่ปิดบัง, พูดความจริงอย่าง ตรงไปตรงมาโดยไม่มีลับลมคมใน.
  41. เปี่ยม : ก. เต็มถึงขอบ, เกือบจะล้น, เช่น แกงเปี่ยมหม้อ น้ำเปี่ยมฝั่ง, เต็มที่, บริบูรณ์, เช่น เปี่ยมด้วยคุณธรรม เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา.
  42. เปี๊ยว : ว. เสียงเป่าปากแสดงความพอใจเป็นต้น.
  43. แปรญัตติ : ก. แก้ถ้อยคําหรือเนื้อความในร่างกฎหมายที่สภารับ หลักการแล้ว.
  44. แปล : [แปฺล] ก. ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง, ทําให้เข้าใจความหมาย.
  45. แปลโดยอรรถ : ก. แปลตามเนื้อความ, แปลตามอรรถ ก็ว่า.
  46. แปลตามพยัญชนะ : ก. แปลตามตัวอักษร, แปลความหมายของคํา อย่างตรงไปตรงมาคําต่อคํา.
  47. แปลตามอรรถ : ก. แปลตามเนื้อความ.
  48. แปลร้อย : ก. แปลเอาความโดยยกศัพท์บาลีมาคั่นไว้.
  49. โป้ง : ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผย สิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความผิดพลาดเสียหาย; ใหญ่ เช่น หัวโป้ง; เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น.
  50. โปรด : [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3280

(0.1556 sec)