Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอับอาย, อับอาย, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอับอาย, 3287 found, display 2651-2700
  1. สันดาป : [ดาบ] น. ความเร่าร้อน, ความแผดเผา; การเผาไหม้; ชื่อนรกขุมหนึ่ง. (ป., ส.).
  2. สันโดษ : [โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือ
  3. สันตติ : [ตะติ] น. ความสืบต่อ เช่น สืบสันตติวงศ์. (ป.; ส. สํตติ ว่า ลูกหลาน).
  4. สันติ : น. ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. (ป.; ส. ศานฺติ).
  5. สันติบาล : น. ผู้รักษาความสงบ.
  6. สันติภาพ : น. ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกัน รักษาสันติภาพของโลก. (ป. สนฺติ + ภาว).
  7. สันติวิธี : น. วิธีที่จะก่อให้เกิดความสงบ เช่น เจรจาสงบศึกโดยสันติวิธี.
  8. สันติสุข : น. ความสุขที่เกิดจากความสงบ เช่น รัฐบาลบริหารประเทศ เพื่อสันติสุขของประชาชน.
  9. สันถวไมตรี : น. ความเป็นมิตรสนิทสนมกัน เช่น ต้อนรับด้วย สันถวไมตรี ทูตสันถวไมตรี.
  10. สันถว, สันถวะ : [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน; ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).
  11. สันนิษฐาน : [นิด] ก. ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน. (ป. สนฺนิฏ?าน ว่า ลงความเห็นในที่สุด).
  12. สัปปุริส, สัปปุรุษ : [สับปุริสะ, สับปุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา ในพระศาสนา, คนที่มีความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม. (ป. สปฺปุริส; ส. สตฺปุรุษ).
  13. สัมปชัญญะ : [สําปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
  14. สัมปทา : [สําปะทา] น. ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี เช่น อุฏฐานสัมปทา = ความถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ป., ส.).
  15. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  16. สัมผัสสระ : น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตรา เดียวกัน เช่น (รูปภาพ อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ. (เพลงยาวถวาย โอวาท), คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย). (นิ. วัดสิงห์).
  17. สัมพันธภาพ : น. ความผูกพัน, ความเกี่ยวข้อง, เช่น สัมพันธภาพ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตดีขึ้นตามลำดับ.
  18. สัมพันธไมตรี : น. ความเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร เช่น ประเทศไทย มีสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน.
  19. สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ : [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
  20. สัมพาธะ : น. ความคับแคบ, การเบียดเสียด, การยัดเยียด, การอัดแอ. (ป., ส.).
  21. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  22. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  23. สัมมัปธาน : [สํามับปะทาน] น. ความเพียรที่ตั้งไว้ชอบ. (ป. สมฺมปฺปธาน; ส. สมฺยกฺปฺรธาน).
  24. สัมมาคารวะ : น. ความเคารพนบนอบ เช่น พูดกับผู้ใหญ่ต้องมี สัมมาคารวะ.
  25. สัมมาทิฐิ : น. ความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. (ป. สมฺมาทิฏฺ??).
  26. สัมมาวายามะ : น. ความพยายามชอบ. (ป.).
  27. สัมมาสติ : น. ความระลึกชอบ. (ป.).
  28. สัมมาสมาธิ : น. สมาธิชอบ, ความตั้งใจชอบ. (ป.).
  29. สัมมาสังกัปปะ : น. ความดําริในทางที่ชอบ. (ป.).
  30. สัมโมทนียกถา : [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจ แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
  31. สัมฤทธิ, สัมฤทธิ์ : [สําริดทิ, สําริด] น. ความสําเร็จ ในคําว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่าสําริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).
  32. สากัลย์ : (แบบ) น. ความรวมกันของสิ่งทั้งหมด. (ป., ส.).
  33. สาแก่ใจ : ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่า อย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่าย ให้สาแก่ใจ.
  34. สาง ๔ : น. ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด เริ่มแต่มีความมืดน้อยลง ๆ ตามลําดับ จนกว่าจะสว่างแจ้งเป็นที่สุด เรียกว่า ท้องฟ้าสาง. ก. ทําให้ แจ้งให้กระจ่าง เช่น สางคดี, ทําให้หายยุ่ง เช่น สางผม.
  35. สางห่า : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อจิ้งเหลนหางยาวชนิด Takydromus sexlineatus ในวงศ์ Lacertidae ตัวเล็ก หางยาวประมาณ ๕ เท่าของความยาวลําตัว พบทุกภาคของประเทศไทย ที่เรียกสางห่าเพราะเข้าใจผิดว่ามีพิษร้ายแรง.
  36. สาดน้ำรดกัน : (สํา) ก. กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน, ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่กันและกัน.
  37. ส่าเลือด : น. เม็ดผื่นที่ขึ้นตามตัวเนื่องจากความผิดปรกติของเลือด ประจําเดือน.
  38. หกคว่ำ : ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ ล้มคว่ำคะมำหงาย.
  39. หงอด, หงอด ๆ : [หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่น ด้วยความไม่พอใจ.
  40. หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน : (สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.
  41. หญ้าแพรก : [-แพฺรก] น. ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้; (สํา) สามัญชน ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
  42. หน่วยคำ : น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
  43. หนอ : [หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอ น่าอนาถจริงหนอ.
  44. หนักไม่เอา เบาไม่สู้ : (สํา) ว. ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน.
  45. หนักสมอง : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหา หนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.
  46. หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์ : ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิด ครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
  47. หนักหัว : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว, หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  48. หนังสือเดินทาง : น. หนังสือสําคัญประจําตัวซึ่งทางราชการของประเทศ หนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการ เดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.
  49. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  50. หนังหน้าไฟ : (สํา) น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิด มา พ่อความผิดมาแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | [2651-2700] | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3287

(0.1117 sec)