Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความมั่นใจ, มั่นใจ, ความ , then ความ, ความมนจ, ความมั่นใจ, มนจ, มั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความมั่นใจ, 3290 found, display 1251-1300
  1. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  2. บุญญาภินิหาร : น. ความปรารถนาอันแรงกล้าในความดี, บุญที่ให้สําเร็จได้ตาม ความปรารถนา. (ป. ปุญฺ?าภินิหาร).
  3. บุญ, บุญ- : [บุน, บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ?; ส. ปุณฺย).
  4. บุญฤทธิ์ : [บุนยะ-] น. ความสําเร็จด้วยบุญ.
  5. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : [บุบเพ-] น. ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึง ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, การระลึกชาติได้. (ป. ปุพฺเพนิวาสา นุสฺสติ?าณ).
  6. บุ่มบ่าม : ว. ที่ขาดความยับยั้งไม่เกรงใจใคร.
  7. บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
  8. บูรณภาพ : น. ความครบถ้วนบริบูรณ์ เช่น บูรณภาพแห่งดินแดน บูรณภาพแห่งอาณาเขต.
  9. เบญจธรรม : น. ธรรมะ ๕ ประการ คือ เมตตา ทาน ความสํารวม ในกาม สัจจะ สติ, คู่กับ เบญจศีล.
  10. เบน : ก. เหหรือทําให้เหไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น หัวเรือเบน เบนหัวเรือ เบนความคิด เบนความสนใจ.
  11. เบาปัญญา : ว. หย่อนความคิด, หย่อนสติปัญญา.
  12. เบามือ, เบาไม้เบามือ : ก. ทําเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทําไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทํางานมาก. ว. ที่ออก แรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
  13. เบียนธาตุ : ก. ทําให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป – อาคม = มา.
  14. เบี้ยประกันภัย : (กฎ) น. จํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์ หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความ เสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
  15. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  16. แบก : ก. ยกของที่มีนํ้าหนักขึ้นวางบนบ่า เช่น แบกของ แบกปืน, โดย ปริยายหมายความว่า รับภาระหนัก, มีความรับผิดชอบมาก, เช่น แบกภาระเข้าไว้มาก แบกงานไว้มาก.
  17. แบไต๋ : (ปาก) ก. ตีแผ่ หรือเปิดเผยความลับหรือความในใจออกมา.
  18. ใบพัด : น. วัตถุที่มีลักษณะแบนมีรูสําหรับใส่แกนหรือเพลาให้ หมุนได้ สําหรับพัดลมพัดนํ้า เพื่อขับยานมีเครื่องบินและเรือ เป็นต้น ให้ เคลื่อนที่หรือเพื่อให้เกิดความเย็นเป็นต้น เช่น ใบพัดเครื่องบิน ใบพัดพัดลม ใบพัดสีลม.
  19. ใบลา : น. เอกสารแสดงความจํานงขอลางาน.
  20. ใบสำคัญ : น. เอกสารที่รับรองข้อเท็จจริง ความถูกต้อง หรือสิทธิ. ใ
  21. ใบสุทธิ : น. เอกสารแสดงวิทยฐานะและความประพฤติเป็นต้นของ บุคคลผู้ถือเมื่อลาออกหรือจบการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียน.
  22. ปกปิด : ก. ปิดไม่ให้รู้หรือไม่ให้เห็น, ปิดไว้เป็นความลับ.
  23. ปฏิฆะ : (แบบ) น. ความคับแค้น, ความกระทบกระทั่ง, ความขึ้งเคียด (โทสะ). (ป.).
  24. ปฏิญญา : [ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอา สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการ แสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันทั่วไป.
  25. ปฏิบัติ : ก. ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทํา เพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติตาม สัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติ รับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
  26. ปฏิบัติการ : ก. ทํางานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชํานาญเป็นต้น เช่น ห้อง ปฏิบัติการ.
  27. ปฏิปทา : [-ปะทา] น. ทางดําเนิน; ความประพฤติ. (ป.).
  28. ปฏิภาณกวี : [ปะติพานนะกะวี, ปะติพานกะวี] น. กวีผู้มีความ สามารถในการใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด.
  29. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  30. ปฏิสัมภิทา : (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
  31. ปฏิเสธ : ก. ไม่รับ, ไม่ยอมรับ, เช่น ปฏิเสธการเชิญ, ไม่ยอมรับข้อเท็จจริง เช่น ปฏิเสธข้อกล่าวหา; (ไว) แสดงความหมายตรงกันข้ามกับ ยืนยัน รับ หรือ ยอมรับ. (ป.).
  32. ปติวัตร : น. ความประพฤติต่อผัว, ความจงรักในผัว.
  33. ปถมัง : [ปะถะหฺมัง] น. วิธีทําผงด้วยเวทมนตร์คาถาเพื่อความศักดิ์สิทธิ์.
  34. ปทานุกรม : น. หนังสือสําหรับค้นคว้าความหมายของคําที่เรียงตามลําดับบท.
  35. ปปัญจ-, ปปัญจะ : [ปะปันจะ-] (แบบ) น. ความเนิ่นช้า, ความนาน. ว. เนิ่นช้า. (ป.).
  36. ปมเขื่อง, ปมเด่น : น. ลักษณะอารมณ์และความต้องการที่แสดงออก ในทางที่เหนือกว่าบุคคลอื่น. (อ. superiority complex).
  37. ปมจิต : น. อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลที่เก็บกดสะสมไว้ใน จิตใต้สํานึกมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ปมจิตนี้จะทําให้บุคคลผู้นั้นแสดง ออกในด้านความคิดความรู้สึก และการกระทําในลักษณะที่ซํ้ากัน จนเกิดเป็นอุปนิสัยประจําตัว.
  38. ปมด้อย : น. ลักษณะความคิด ความรู้สึก อารมณ์ หรือการกระทํา ของบุคคล ที่แสดงออกถึงความตํ่าต้อยกว่าผู้อื่น. (อ. inferiority complex).
  39. ปรนัย : [ปะระ-, ปอระ-] ว. วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบ มักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคําถามที่ต้องการ คําตอบตายตัว ว่า การสอบแบบปรนัย, คู่กับ อัตนัย.
  40. ปรบ : [ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความ ยินดีเป็นต้น ในคําว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.
  41. ปรมัตถ์ : [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความ อย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). ปรมาจารย์ [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือ ยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
  42. ปรองดอง : [ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.
  43. ประกฤติ : [-กฺริด, -กฺริติ] (แบบ) น. มูลเดิม, ที่เกิด, รากเหง้า; ความเป็นไป ตามธรรมดา, ความเป็นไปตามปรกติ, ลักษณะ; กฎ, เกณฑ์, แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  44. ประกัน : ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
  45. ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
  46. ประกาย : น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็ง บางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้น กระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยาย หมายถึงแสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจาก กระเบื้องหลังคาโบสถ์. (แผลงมาจาก ผกาย).
  47. ประกิต : (แบบ) ก. แจ้งความ, ประกาศ, แสดง. (ส.).
  48. ประคัลภ์ : (แบบ) น. ความกล้า, ความสามารถ, ความคะนอง. ว. คล่องแคล่ว, ประเปรียว. (ส.).
  49. ประเคน : ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กําหนดไว้ เช่น ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอาไป ประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที.
  50. ประเคราะห์ : (แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกําราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1258 sec)