Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความมั่นใจ, มั่นใจ, ความ , then ความ, ความมนจ, ความมั่นใจ, มนจ, มั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความมั่นใจ, 3290 found, display 1651-1700
  1. ไพบูลย์ : น. ความเต็มเปี่ยม, ความเต็มที่. ว. เต็มเปี่ยม, เต็มที่. (ส. ไวปุลฺย; ป. เวปุลฺล).
  2. ไพมอก : ก. ครํ่าครวญ, บ่นด้วยความเศร้า.
  3. ฟ้องกลับ : (ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจําเลยในคดีอาญา ด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิก ความเท็จ.
  4. ฟ้องตัวเอง : ก. แสดงความผิดของตนออกมาให้ผู้อื่นรู้โดยไม่ได้ ตั้งใจ, แสดงความเท็จออกมาให้ปรากฏ.
  5. ฟอนเฟะ : ว. เละเทะ, เป็นที่น่ารังเกียจ, เช่น มีความประพฤติฟอนเฟะ สังคมฟอนเฟะ.
  6. ฟังขึ้น : ว. พอจะยึดถือได้ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เหตุผลฟังไม่ขึ้น.
  7. ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด : (สํา) ก. ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ หรือทําผิด ๆ พลาด ๆ.
  8. ฟาดเคราะห์ : ก. ทําพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว, สละสิ่งใด สิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไป; (ปาก) ตัดใจยอมเสียสิ่งใด สิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้ว เป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์.
  9. ฟาดหัว : (ปาก) ก. ให้เพื่อตัดความรําคาญเป็นต้น, ให้เพราะดูถูก, เช่น เอาเงินฟาดหัวไป.
  10. ฟาทอม : น. มาตราวัดระยะทาง เท่ากับ ๖ ฟุต หรือ ๑.๘ เมตร มักนิยมใช้วัด ความลึกของทะเล. (อ. fathom).
  11. ฟ้าร้อง : น. เสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศขยายตัวเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็วเพราะความร้อนที่เกิดจากฟ้าแลบ.
  12. ฟ้าแลบ : น. แสงที่เกิดวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจํานวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็น เหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น.
  13. ฟื้น : ก. กลับคืนมาใหม่ เช่น ฟื้นความทรงจํา ฟื้นสติ, คืนความรู้สึก เช่น ฟื้นจากสลบ, พลิกกลับขึ้นมา เช่น ฟื้นดิน; ถอนขึ้น เช่น ฟื้นมัน.
  14. ฟุ่มเฟือย : ว. สุรุ่ยสุร่าย, ใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลือง, เกินความจำเป็น เช่น ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย.
  15. ฟูฟ่อง : ก. กระเตื้องขึ้น, ดีขึ้น, เจริญขึ้น, ฟุ้งกระจายไปด้วยความดี, ฟ่องฟู ก็ว่า.
  16. ฟูมฟายน้ำตา : ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก.
  17. เฟื่อง ๒ : ก. เจริญรุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, มีชื่อเสียงโด่งดัง, เช่น เขากำลังเฟื่อง ความคิดเฟื่อง ชื่อเสียงเฟื่อง; คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอก มาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง.
  18. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  19. ไฟฉาย : น. เครื่องทําความสว่าง ประกอบด้วยอุปกรณ์สําคัญ คือ จานฉายรูปโค้งสําหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุ อยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้ มักทําเป็นรูปทรงกระบอก.
  20. ไฟธาตุ : น. ไฟที่โบราณถือว่ามีในร่างกายมนุษย์และสัตว์ สําหรับ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและย่อยอาหาร.
  21. ไฟฟ้า : น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มี สมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่.
  22. ภคะ : (แบบ) น. โชคดี, ความเจริญ, เกียรติ. (ป., ส.).
  23. ภย– : [พะยะ–] (แบบ) น. ความกลัว, ของที่น่ากลัว. (ป., ส.).
  24. ภยาคติ : [พะยาคะติ] น. ความลําเอียงเพราะความกลัว เป็นอคติ ๑ ใน อคติ ๔ ได้แก่ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ภย + อคติ).
  25. ภราดรภาพ, ภราตรภาพ, ภราตฤภาพ : [พะราดะระพาบ, พะราดอนระพาบ, –ตฺระ–, –ตฺรึ–] น. ความเป็นฉันพี่น้องกัน.
  26. ภวกษัย : [พะวะกะไส] น. ความสิ้นภพ, นิพพาน. (ส.).
  27. ภวตัณหา : น. ตัณหาเป็นไปในภพ คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากเกิด. (ป.).
  28. ภว–, ภวะ : [พะวะ–] น. ความเกิด, ความมี, ความเป็น; ภพ. (ป., ส.).
  29. ภวังค–, ภวังค์ : [พะวังคะ–] น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.); ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว.
  30. ภวาภพ : น. ความเป็นอยู่และมิใช่ความเป็นอยู่, ภพและมิใช่ภพ; ภพน้อย ภพใหญ่. (ป., ส. ภวาภว).
  31. ภักดี : น. ความจงรัก, ความเลื่อมใสยิ่ง. (ส. ภกฺติ; ป. ภตฺติ).
  32. ภัค : น. โชคดี, ความเจริญ, เกียรติ. (ป. ภค).
  33. ภังค–, ภังคะ : [–คะ–] น. การแตก, การทําลาย; ความยับเยินล่มจม. (ป., ส.); ผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยของหลายสิ่งเช่นผ้าด้ายแกมไหม.
  34. ภาคทฤษฎี : น. ภาคที่เกี่ยวกับความคิดเห็นอันเนื่องด้วยหลักวิชา, คู่กับ ภาคปฏิบัติ.
  35. ภาคภูมิใจ : ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ, เช่น เขาภาคภูมิใจใน ความสำเร็จ.
  36. ภาพนิ่ง : น. ภาพขยายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวบนจอ เกิดจากการฉายแสง ที่มีความเข้มมาก ผ่านแผ่นสไลด์หรือแผ่นฟิล์มภาพไปยังจอ.
  37. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  38. ภาพ, ภาพ– : [พาบ, พาบพะ–] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วน ท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึก เห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบ ไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  39. ภาพลวงตา : น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็น พยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  40. ภาพลักษณ์ : [พาบลัก] น. ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะ เป็นเช่นนั้น, จินตภาพ ก็ว่า. (อ. image).
  41. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  42. ภารโรง : [พาน–] น. ผู้รักษาและทําความสะอาดสถานที่.
  43. ภาระติดพัน : น. ความผูกพันที่จะต้องกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  44. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  45. ภาว–, ภาวะ : [พาวะ–] น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).
  46. ภาวศุทธิ : [พาวะสุดทิ] น. ความบริสุทธิ์แห่งใจ. (ส.).
  47. ภาวะฉุกเฉิน : น. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัย แห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทําให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือ ภาวะการรบหรือการสงคราม.
  48. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  49. ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  50. ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | [1651-1700] | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1592 sec)