Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความมั่นใจ, มั่นใจ, ความ , then ความ, ความมนจ, ความมั่นใจ, มนจ, มั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความมั่นใจ, 3290 found, display 2451-2500
  1. ศิลปหัตถกรรม : น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.
  2. ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.
  3. ศิลปิน, ศิลปี : [สินละ] น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติ ทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็น ที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ.
  4. ศิศีระ : น. ฤดูหนาว; ความหนาว, ความเยือกเย็น. ว. เย็น, หนาว, เย็นเยือก. (ส. ศิศิร).
  5. ศิษฏ์ : ว. ฝึกแล้ว, คงแก่เรียน, อบรมแล้ว, มีปัญญา, มีความรู้. (ส.).
  6. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  7. ศิษย์เอก : น. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวง หรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น.
  8. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  9. ศีลธรรม : [สีนทํา, สีนละทํา] น. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและ ธรรม, ธรรมในระดับศีล.
  10. ศีลวัต : [สีละวัด] ว. มีศีล, มีความประพฤติดี. (ส.).
  11. ศุจิ : น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุจิ).
  12. ศุจิกรรม : น. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
  13. ศุทธะ, ศุทธิ : [สุดทะ, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุทฺธ, สุทฺธิ).
  14. ศุภ : [สุบพะ] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ส.; ป. สุภ).
  15. ศุภกร : ว. ที่ทําความเจริญ, ที่เป็นมงคล. (ส.).
  16. ศุภมัสดุ : [มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคําใช้ขึ้นต้น ลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สําคัญ เช่น ประกาศ พระบรมราชโองการ.
  17. ศูนย์การค้า : น. แหล่งรวมสินค้าเพื่อจำหน่าย มีร้านขายสินค้า นานาชนิด มีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้มาซื้อสินค้า เช่น ที่จอดรถ ร้านอาหาร.
  18. ศูนยภาพ : น. ความไม่มีอะไร, ความว่างเปล่า. (ส. ศูนฺยภาว).
  19. เศร้าใจ : ว. มีความรู้สึกสลดหดหู่ใจ เช่น เห็นป่าถูกบุกรุกทำลาย แล้วเศร้าใจ.
  20. เศร้าโศก : ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มากเช่น พ่อตาย ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมาก, โศกเศร้า ก็ว่า.
  21. เศร้าสร้อย : ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า. เ
  22. เศวตฉัตร : [สะเหฺวดตะฉัด] น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่ง ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น. (ส. เศฺวตจฺฉตฺร ว่า ฉัตรขาว).
  23. เศาไจย : [ไจ] น. คนซักฟอก, คนทําความสะอาด. (ส. เศาเจย).
  24. เศารยะ : [ระยะ] น. ความกล้าหาญ; อํานาจ. (ส.).
  25. โศก ๑, โศก : [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป.โสก).
  26. โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
  27. โศกเศร้า : ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มาก เช่น พ่อตาย ทำให้เขาโศกเศร้าเสียใจมาก, เศร้าโศก ก็ว่า.
  28. โศกาดูร : ก. เดือดร้อนด้วยความโศก, ร้องไห้สะอึกสะอื้น. (ส. โศก + อาตุร).
  29. โศกาลัย : น. ความเศร้าหมองใจและความห่วงใย, ร้องไห้สะอึก สะอื้น. (ส. โศก + อาลย).
  30. โศจนะ : [จะนะ] น. ความเศร้าใจ. (ส.; ป. โสจน).
  31. โศจิ : น. แสง, แวว, สี; ความสว่าง, ความงาม. ว. สว่าง, สุกใส. (ส.).
  32. โศถะ : น. ความบวม, ความพอง, โศผะ ก็ว่า. (ส. โศถ, โศผ).
  33. โศผะ : (ราชา) น. ความบวม, ความพอง, โศถะ ก็ว่า. (ส. โศผ, โศถ). น. ความงาม, ความดี. (ส.; ป. โสภณ).
  34. โศภา : ว. งาม, ดี. (ส. ว่า สว่าง, ความงาม).
  35. ส ๒ : คําประกอบหน้าคําอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).
  36. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  37. ส่งกระแสจิต : ก. อาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่ง กับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใด อย่างหนึ่ง.
  38. สงกา : น. ความสงสัย. (ป. สงฺกา; ส. ศงฺกา).
  39. สงค์ : น. ความข้องอยู่, ความเกี่ยวพัน, การติดอยู่. (ป. สงฺค; ส. สํค).
  40. สงคร : [คอน] (แบบ) น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร; ส. สํคร).
  41. ส่งใจ : ก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.
  42. สงบราบคาบ : ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้าง กระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ.
  43. สงบเสงี่ยม : ก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลา อยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
  44. ส่งพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทาง โหราศาสตร์.
  45. สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  46. สงวนปากสงวนคำ : ก. พูดด้วยความระมัดระวัง, ระมัดระวังคำพูด, เช่น จะพูดจาอะไร รู้จักสงวนปากสงวนคำไว้บ้าง ผู้อื่นจะรู้ความคิด.
  47. ส่งวิญญาณ : ก. ทำพิธีเพื่อให้วิญญาณผู้ตายไปเกิดในสุคติตามคติความ เชื่อถือของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน.
  48. ส่งสายตา : ก. มองโดยมีเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ว่าตนมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ อ้อนวอน หรือเพื่อเป็นการปรามเป็นต้น เช่น ส่งสายตาปราม ไม่ให้เพื่อนพูด.
  49. สงสาร ๒ : [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  50. สดับตรับฟัง : ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรม เทศนา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | [2451-2500] | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1447 sec)