Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความมั่นใจ, มั่นใจ, ความ , then ความ, ความมนจ, ความมั่นใจ, มนจ, มั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความมั่นใจ, 3290 found, display 801-850
  1. ดุลการค้า : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอก ประเทศกับสินค้าที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูง กว่ามูลค่าของที่สินค้านําเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ, ถ้า มูลค่าของสินค้าที่นําเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า ดุลการค้า เสียเปรียบ.
  2. ดุลการชำระเงิน : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอก ประเทศกับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นําเข้ามาใน ประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงิน เกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นําเข้าใน ประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงินขาดดุล.
  3. ดุลชำระหนี้ : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอก ประเทศกับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ.
  4. ดุล, ดุล- : [ดุน, ดุนละ-] น. ตราชู, คันชั่ง, มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ เช่น ทองคําหนัก ๒๐ ชั่งเรียกว่า ดุลหนึ่ง; ความเท่ากัน, ความเสมอกัน, เช่น รายรับรายจ่าย เท่ากัน เรียกว่า งบประมาณสู่ดุล; ชื่อกลุ่มดาวรูปคันชั่ง เรียกว่า ราศีดุล เป็น ราศีที่ ๖ ในจักรราศี, ราศีตุล ก็ว่า. ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
  5. ดุลยภาพ : น. ความเท่ากัน, ความเสมอกัน.
  6. ดุษฎี : [ดุดสะดี] น. ความยินดี, ความชื่นชม. (ส.).
  7. ดุษฎีมาลา : น. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็น คุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษ ประจําเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกําหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับ เหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็ม ศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญ ดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.
  8. ดูชา : ก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความ เราจงมิด. (ลอ.)
  9. ดูดำดูดี : ก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้ เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดี เด็กคนนี้เลย.
  10. ดูดู๋, ดูหรู : (กลอน) อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแค้นใจ.
  11. ดูตาม้าตาเรือ : (สํา) ก. พิจารณาให้รอบคอบ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ดูตาม้าตาเรือ.
  12. ดูเบา : ก. เห็นเป็นการเล็กน้อย, เห็นไม่เป็นสําคัญ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าดูเบา.
  13. ดูรึ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ.
  14. ดูหรือ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้.
  15. เด่ : ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรง เช่น ชี้เด่ ตั้งเด่.
  16. เด็กเมื่อวานซืน : (สํา) น. คํากล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่า มีความรู้ หรือมีประสบการณ์น้อย.
  17. เดช, เดชะ : [เดด] (แบบ) น. อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).
  18. เดโช : น. อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).
  19. เดโชชัย : น. ความชนะด้วยอํานาจ. (ป., ส.).
  20. เด่น : ว. ที่ปรากฏเห็นได้ชัดจะแจ้งเพราะนูนขึ้นมา ยื่นลํ้าออกมา หรือสูงใหญ่กว่า ธรรมดา, โดยปริยายหมายความว่า มีคุณสมบัติหรือความสามารถเยี่ยม เช่น สวยเด่น ดีเด่น.
  21. เดินเหิน : ก. วิ่งเต้นเพื่อขอความช่วยเหลือ; (ปาก) เดิน.
  22. เดียงสา : ว. รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็ก ยังไม่รู้เดียงสา.
  23. เดือด : ก. อาการที่ของเหลวพลุ่งขึ้นเพราะความร้อนจัด เช่น นํ้าเดือด, โดยปริยาย หมายความว่า บันดาลโทสะ.
  24. แดกดัน : ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดเพราะความไม่พอใจ.
  25. แดง ๑ : ว. สีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลม ตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง. ก. ลักษณะที่ ความลับซึ่งปกปิดไว้ได้ปรากฏออกมา เช่น เรื่องนี้แดงออกมาแล้ว. (ปาก) น. สตางค์ เช่น ไม่มีสักแดงเดียว. (ตัดมาจาก สตางค์แดง).
  26. โด่ : ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่น ตําตาอยู่ เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่.
  27. โดนดี : (ปาก) คําพูดเชิงประชดประชัน มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ระวังเถอะเดี๋ยวโดนดีดอก.
  28. โดยจริง : ว. ตามความมุ่งหวัง, ตามความประสงค์.
  29. โดยปริยาย : ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน.
  30. โดยอรรถ : ว. ตามเนื้อความ.
  31. ใด : ว. ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความไม่เจาะจงหรือเป็นคําถาม เช่น คนใด เมื่อใด.
  32. ได้ : ก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้าย คํากริยามีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สําเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คําช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.
  33. ได้แก่ : สัน. คือ, เท่ากับ, เช่น หนังสือสําหรับค้นความหมายของคําที่เรียง ลําดับตามตัวอักษร ได้แก่พจนานุกรม.
  34. ได้สติ : ก. ได้คิด, กลับระลึกขึ้นได้, กลับรู้สึกตัวได้; ฟื้นคืนสติ; (ปาก) ใช้ ในความปฏิเสธหมายความว่า ไม่ดี ใช้การไม่ได้ ในคําว่า ไม่ได้สติ.
  35. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  36. ตกนรกทั้งเป็น : (สํา) ก. ได้รับความลําบากแสนสาหัส เช่นคนที่ ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจํา.
  37. ตกใน : ก. อาการที่เลือดไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก แทงหรือฟันเป็นต้น เรียกว่า เลือดตกใน; โดยปริยายใช้เรียกอาการ ที่ต้องกลํ้ากลืนความทุกข์ไว้ ไม่แสดงออกมาว่า นํ้าตาตกใน.
  38. ตกพุ่มม่าย : ก. อยู่ในฐานะที่เป็นม่าย. ว. เรียกชายหรือหญิงที่หย่าขาด จากความเป็นผัวเมียกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไป, เป็นม่าย ก็ว่า.
  39. ตกว่า : ว. คือ, คือว่า, รวมความว่า, ลงความว่า, ถือเอาว่า, บางทีใช้ว่า ตก ก็มี เช่น ตกมีฤทธิไกรกว่าพี่ยา. (อิเหนา).
  40. ตงิด : [ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก) เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.
  41. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  42. ต้นสายปลายเหตุ : น. ความเป็นมาของเรื่อง.
  43. ตบ ๒ : ก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.
  44. ตบมือ : ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ ก็ว่า.
  45. ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
  46. ตบะแตก : ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมด ความอดกลั้น, สิ้นความอดทน.
  47. ตม- ๑, ตโม- : [ตะมะ-] น. ความมืด, ความเศร้าหมอง, ความเขลา. (ป.; ส. ตมสฺ).
  48. ตโมนุท : น. พระอาทิตย์, พระจันทร์. (ส. ตโมนุท ว่า ผู้ขจัดความมืด).
  49. ตโมไพรี : น. ไฟ. (ส. ตโมไพรี ว่า ศัตรูของความมืด).
  50. ตโมหร : น. พระจันทร์. (ส. ตโมหร ว่า ผู้คลายความมืด).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1563 sec)