Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสงสาร, สงสาร, ความ , then ความ, ความสงสาร, สงสาร, สงสาระ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสงสาร, 3299 found, display 601-650
  1. จับไม้จับมือ : ก. จับมือจับแขนแสดงความสนิทสนม.
  2. จับลมปราณ : น. วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดี หรือฤกษ์ร้าย.
  3. จับหัวเข่าพูด, จับเข่าคุยกัน : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  4. จาตุกรณีย์ : น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บํารุงราษฎร ๓. บํารุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).
  5. จาบัล, จาบัลย์ : [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
  6. จาระบี : น. นํ้ามันข้นเหนียวสําหรับหล่อลื่นและกันความสึกหรอของเครื่องจักร เป็นต้น, จระบี ก็ว่า. (ฮ. จรฺพี).
  7. จำกัด : ก. กําหนดหรือขีดคั่นไว้โดยเฉพาะ เช่น จํากัดอายุ จํากัดความรู้.
  8. จำเลย : น. (กฎ) บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว; ผู้ถูกฟ้องความ. (กลอน) ก. เฉลย, ตอบ. (ข. จํเลิย ว่า ผู้ตอบ).
  9. จำหุด : ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สําคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ. (ไตรภูมิ). (ข. จํหุต ว่า ความถูกต้อง, ความเที่ยงตรง).
  10. จิตตวิสุทธิ : (แบบ) น. ความหมดจดของจิต คือหมดจดจากกิเลส.
  11. จิตนิยม : [จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).
  12. จิตแพทย์ : [จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดง ความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).
  13. จิตไร้สำนึก : น. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก. (อ. un-conscious).
  14. จิตวิสัย : [จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัย วัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดง ความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).
  15. จินดา : น. ความคิด, ความนึก; แก้วมีค่า เช่น ทับทรวงดวงกุดั่นจินดาแดง. (อิเหนา).
  16. จินดามัย : ว. ที่สําเร็จด้วยความคิด. (ป., ส. จินฺตามย).
  17. จินตกวี : น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามแนวความคิด และจินตนาการของตนเอง.
  18. จินตนิยม : น. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะ ที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือ กันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญ กว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรม หรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).
  19. จินตภาพ : น. ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น, ภาพลักษณ์ ก็ว่า. (อ. image).
  20. จีโบ : น. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทําด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกัน ความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่อง ถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง. (รูปภาพ หมวกจีโบ)
  21. จึง, จึ่ง : สัน. สําหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทําดีจึงได้ดี.
  22. จืดจาง : ก. คลายลง, เหินห่าง, เช่น ความสัมพันธ์จืดจาง.
  23. จุก ๒ : น. สิ่งที่ใช้อุดปากขวด. ก. อาการที่บังเกิดแน่นอยู่ในอกหรือในท้อง เช่น กินมากจนจุก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอุดปากขวดเป็นต้น เช่น เอาไม้ก๊อกจุก ปากขวด, ค้างคาอยู่ที่ช่อง เช่น นั่งจุกประตู ลิ้นจุกปาก, ปิด ใช้ใน ความเช่น หางจุกตูด.
  24. จุ่ง : ก. จง, คําช่วยกริยาบอกความบังคับหรือความหวัง.
  25. จุณณียบท : [จุนนียะบด] (แบบ) น. บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ. (ป.).
  26. จุดจบ : น. วาระสุดท้าย, ตอนสุดท้าย; ความตาย.
  27. จุดเดือด : น. อุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับ ความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลาย เป็นไอได้ทั่วทั้งหมด. (อ. boiling point).
  28. จุดบอด : น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณ หลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็น ได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของ ปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
  29. จุดประสงค์ : น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มี จุดประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ, วัตถุประสงค์ ก็ว่า.
  30. จุดยืน : น. ความคิดแน่วแน่, ความมั่นคงในหลักการตามความคิด ความเชื่อของตน.
  31. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  32. จุดเยือกแข็ง : น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียว กับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน). (อ. freezing point).
  33. จุดรวม : น. จุดกลางซึ่งเป็นที่รวมของคน สิ่งของ หรือความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น, จุดศูนย์กลาง ก็ว่า.
  34. จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
  35. จุดหลอมเหลว : น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็น ของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิ เดียวกับจุดเยือกแข็งของสารเดียวกัน). (อ. melting point).
  36. จุตูปปาตญาณ : [-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺ?าน).
  37. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  38. จูงจมูก : ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดย ปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ ความคิดของตน.
  39. จู๋จี๋ : ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า. ว. อาการ ที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า.
  40. จูบ : ก. เอาจมูกสัมผัสสูดแสดงความรักหรือความใคร่.
  41. เจตคติ : [เจตะ-] น. ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. attitude).
  42. เจตจำนง : [เจด-] น. ความตั้งใจมุ่งหมาย, ความจงใจ.
  43. เจตนา : [เจดตะนา] ก. ตั้งใจ, จงใจ, มุ่งหมาย. น. ความตั้งใจ, ความจงใจ, ความมุ่งหมาย. (ป., ส.).
  44. เจตนารมณ์ : น. ความมุ่งหมาย.
  45. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  46. เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
  47. เจนเวที : ก. ขึ้นเวทีมามากแล้ว, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง.
  48. เจนสนาม : ก. ออกสนามมามากแล้ว, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง.
  49. เจนสังเวียน : ก. ขึ้นชกบนสังเวียนบ่อย, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง.
  50. เจ็บไข้, เจ็บป่วย : ก. ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทํา ให้รู้สึกเช่นนั้น, เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3299

(0.1422 sec)