Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิชาเลือก, เลือก, วิชา , then ลอก, เลือก, วิช, วิชา, วิชาเลือก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิชาเลือก, 331 found, display 51-100
  1. กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
  2. เกณฑ์ทหาร : (ปาก) ก. เรียกบุคคลมาตรวจเลือกเข้ารับ ราชการทหารกองประจำการในยามปรกติ.
  3. เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
  4. แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
  5. ขึ้นครู : ก. ทําพิธีคํานับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
  6. เข้าตู้ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า ``วิชาเข้าตู้'' ซึ่ง หมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน ตําราที่เก็บไว้ในตู้.
  7. เข้ารอบ : ก. เข้าเกณฑ์ที่กําหนดไว้, ได้รับคัดเลือกไว้.
  8. เข้าหม้อ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา.
  9. เขียนไทย : น. วิชาเขียนภาษาไทยตามคําบอกของครู เพื่อฝึกเขียน ตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.
  10. แขนง ๑ : [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อย ที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์.
  11. คชศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยช้าง มี ๒ ประเภท คือ คชลักษณ์ และ คชกรรม.
  12. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  13. คณะองคมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรง แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและ องคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็น ต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรง ปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.
  14. คณิต, คณิต- : [คะนิด, คะนิดตะ-] น. การนับ, การคํานวณ, วิชาคํานวณ, มักใช้เป็น คําหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต.
  15. คณิตศาสตร์ : [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
  16. คติชาวบ้าน : น. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและ ประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่น ของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
  17. ค้นคว้า : ก. หาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา, เสาะหาเอามา.
  18. คนธรรพ-, คนธรรพ์ : [คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชํานาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).
  19. คนธรรพศาสตร์ : [คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า วิชาดนตรี).
  20. ครอบ ๒ : [คฺรอบ] ก. ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้, ถ่ายทอดความรู้ให้; ทําพิธีรับรอง ความรู้ เช่น ครูครอบศิษย์ (อย่างครูครอบศิษย์ด้วยหัวโขน).
  21. ครุศาสตร์ : [คะรุสาด] น. วิชาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของ การเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น.
  22. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  23. คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
  24. คอมมานโด : น. ทหารหรือตํารวจในกลุ่มที่ได้คัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อฝึกการต่อสู้ ประชิดตัว การโจมตีโฉบฉวย จู่โจม และยุทธวิธีข่มขวัญอื่น ๆ, หน่วยรบเฉพาะกิจ. (อ. commando).
  25. คัดไทย : น. วิชาคัดภาษาไทยตามที่ครูสั่ง.
  26. คุณสมบัติ : [คุนนะสมบัด, คุนสมบัด] น. คุณงามความดี, คุณลักษณะ ประจําตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง.
  27. คุรุศึกษา : น. การเล่าเรียนวิชาครู.
  28. คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
  29. คูหา : น. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดย อนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตร ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.
  30. เคมีอนินทรีย์ : [-อะนินซี] น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ ธาตุทั้งสิ้นและสารประกอบของธาตุเหล่านั้น ยกเว้นธาตุคาร์บอนซึ่ง ศึกษาแต่เพียงตัวธาตุคาร์บอน สารประกอบออกไซด์ สารประกอบซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนตเท่านั้น. (อ. inorganic chemistry).
  31. เคมีอินทรีย์ : น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบ ทั้งสิ้นของธาตุคาร์บอน ยกเว้นเรื่องสารประกอบออกไซด์ สารประกอบ ซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนต. (อ. organic chemistry).
  32. เครดิต : [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการเจ้าหนี้ ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษา จะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้, หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
  33. แค็ตตาล็อก : น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้า เลือกซื้อ. (อ. catalogue, catalog).
  34. จะกละ ๑, จะกลาม : ว. ตะกละ, ตะกลาม, มักกิน, กินไม่เลือก, เห็นแก่กิน, มักใช้รวมกันว่า จะกละจะกลาม ก็มี, ตะกละตะกลาม ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า อยากได้มาก ๆ.
  35. จัดหา : ก. ไปเลือกเฟ้นหามา.
  36. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  37. จาว ๆ : ว. ห่าง ๆ เช่น เนาผ้าจาว ๆ, จะจะ เช่น วางเครื่องข้าวยำจาว ๆ ให้เลือกกิน.
  38. จิตวิทยา : [จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วย ปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.
  39. จิตเวชศาสตร์ : [จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษา การตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).
  40. จิปาถะ : ว. สารพัด, ไม่เลือกว่าอะไร, ทุกสิ่งทุกอย่าง.
  41. จู้จี้ ๑ : ก. งอแง เช่น เด็กจู้จี้, บ่นจุกจิกรํ่าไร เช่น คนแก่จู้จี้; พิถีพิถันเกินไป เช่น ซื้อของเลือกแล้วเลือกอีกจู้จี้มาก.
  42. โจทย์ : [โจด] น. คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลแก้ไม่ตก.
  43. ฉกรรจ์ลำเครื่อง : (โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะ เข้ารบได้ทันทีเช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา).
  44. ฉุปศาสตร์ : [ฉุปะสาด] น. วิชาว่าด้วยการสงคราม. (ส.).
  45. ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
  46. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  47. ชาติพันธุ์วิทยา : [ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กําเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).
  48. ชีวเคมี : น. วิชาเคมีสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบ ทางเคมีของสิ่งที่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กับองค์ประกอบเหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่ ควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ. (อ. biochemistry).
  49. ชีววิทยา : น. วิชาว่าด้วยสิ่งที่มีชีวิต.
  50. ดะ ๑ : ว. ตะลุยไป, ไม่เลือกหน้า, ไม่งดเว้น, เช่น เก็บดะ ตีดะ เตะดะ ฟันดะ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-331

(0.0854 sec)