Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความซื่อ, ซื่อ, ความ , then ความ, ความซอ, ความซื่อ, ซอ, ซื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความซื่อ, 3325 found, display 1001-1050
  1. ทุกฏ : [ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจําพวกหนึ่งในอาบัติ ทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).
  2. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  3. ทุคตะ : [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
  4. ทุคติ : [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).
  5. ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  6. ทุด : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
  7. ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  8. ทุพพลภาพ : [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกําลังความสามารถที่จะ ประกอบการงานตามปรกติได้.
  9. ทุ้ม : ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียกระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่า มีไม้นวม ๒ อันสําหรับตีว่า ระนาดทุ้ม.
  10. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  11. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  12. ทุรกันดาร : ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.
  13. ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
  14. ทุเรศ : (ปาก) คําพูดแสดงความรู้สึกเมื่อประสบสิ่งที่ขัดหูขัดตาหรือ เป็นที่น่าสมเพชเป็นต้น.
  15. ทู่ : ว. ไม่แหลม (ใช้แก่ของที่มีลักษณะยาวแหลม แต่ขาดความแหลมไป เพราะความสึกกร่อนด้วยการใช้เป็นต้น) เช่น ดินสอทู่ เข็มทู่.
  16. ทูนหัว : น. คำพูดแสดงความรักใคร่หรือยกย่อง เช่น พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว.
  17. เทคโนโลยี : น. วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม. (อ. technology).
  18. เทพี ๑ : น. เทวี, เรียกหญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนา ว่า นางเทพี, หญิงที่ชนะประกวดความงาม เช่น เทพีสงกรานต์.
  19. เทว- ๒ : [ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว). เทวภาวะ น. ความเป็น ๒, ความเป็นคู่; พยัญชนะที่ซ้อนกัน ๒ ตัว; ใช้ เทวภาพ ก็ได้.
  20. เทวนิยม : น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความ เป็นไปในโลก. (อ. theism).
  21. เทววิทยา : น. วิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้า กับโลก. (อ. theology).
  22. เทวษ : [ทะเวด] น. การครํ่าครวญ, ความลําบาก. (ส.).
  23. เทศน์แจง : น. เทศน์สังคายนา ซึ่งต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนาพระพุทธศาสนา โดย เฉพาะในการสังคายนาครั้งแรก.
  24. เทอญ : [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็น ดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).
  25. เทอร์โมมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ อาจประกอบด้วยปรอท แอลกอฮอล์ แก๊ส หรือโลหะเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนํา ไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก. (อ. thermometer).
  26. เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
  27. เท่านั้น : ว. แค่นั้น, เพียงนั้น, ขนาดนั้น, เป็นคําเน้นความแสดง จํานวนจํากัดจําเพาะ.
  28. เที่ยง : ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่ พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.
  29. เที่ยงธรรม : ว. ตั้งตรงด้วยความเป็นธรรม.
  30. เทียว ๒ : ว. คําที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มี ความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็น มาหาบ้างเลย.
  31. เที่ยว ๒ : ก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลิน ตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความ สนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.
  32. แทงใจ : ก. เก็งใจ. ว. ตรงใจ, ตรงกับความคิด.
  33. แทงใจดำ : (สํา) ก. พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง.
  34. แท้ที่จริง : ว. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.
  35. แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
  36. แทนที่จะ : สัน. ใช้ในความที่ขัดแย้งกัน เช่น แทนที่จะเขียนอย่างนั้น เขากลับเขียนอย่างนี้.
  37. แทรก ๑ : [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.
  38. โทมนัส : [โทมมะ-] น. ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ. (ป. โทมนสฺส).
  39. โทษทางอาญา : (กฎ) น. มาตรการที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับ ลงโทษแก่ผู้กระทําความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ การประหารชีวิต การจําคุก การกักขัง การปรับและการ ริบทรัพย์สิน.
  40. โทษ, โทษ- : [โทด, โทดสะ-] น. ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความ เกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. ก. อ้างเอาความผิด ให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).
  41. โทษานุโทษ : น. ความผิดมากและน้อย.
  42. โทส-, โทสะ, โทโส : น. ความโกรธ, ความฉุนเฉียว. (ป.; ส. โทษ).
  43. โทสาคติ : น. ความลําเอียงเพราะความโกรธ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โทส + อคติ).
  44. โทหฬะ : [-หะละ] (แบบ) น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง. (ป.; ส. โทหล, โทหท).
  45. ไทย ๑ : [ไท] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า, ชนเชื้อชาติไทย มีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดํา ไทยขาว; ความมีอิสระ ในตัว, ความไม่เป็นทาส; คน เช่น ไทยบ้านนอก ว่า คนบ้านนอก ไทยใจแทตย์ ว่า คนใจยักษ์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  46. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  47. ธงชาติ ๑ : น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง.
  48. ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
  49. ธงนำริ้ว : น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
  50. ธงบรมราชวงศ์น้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียว กับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนก แซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธง เป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.1346 sec)