Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความซื่อ, ซื่อ, ความ , then ความ, ความซอ, ความซื่อ, ซอ, ซื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความซื่อ, 3325 found, display 1951-2000
  1. รชะ : [ระชะ] น. ธุลี, ละออง; ความกําหนัด. (ป., ส.).
  2. รตะ : [ระตะ] น. ความสุข, ความสนุก. ก. ยินดี, ชอบใจ, สนุก. (ป., ส. รต ว่า ผู้ยินดี).
  3. รติ : น. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกําหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).
  4. รถจี๊ป : น. รถยนต์แบบหนึ่ง ใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แทบทุก ภูมิประเทศมีความคล่องตัวสูง.
  5. รถไฟเล็ก : น. รถไฟขนาดเล็กที่จัดวิ่งให้ผู้โดยสารนั่งในระยะใกล้ ๆ เพื่อความบันเทิง เช่น ตามสวนสนุกหรือในงานเทศกาล.
  6. รถยนต์ : น. ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ตามปรกติมี ๔ ล้อ มีหลายแบบหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามความมุ่งหมายที่ใช้เป็นต้น เช่น รถเก๋งรถบรรทุก รถโดยสาร; (กฎ) รถที่มีล้อตั้งแต่ ๓ ล้อ และเดิน ด้วยกําลังเครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นยกเว้นที่เดินบนราง.
  7. รถวิทยุ : น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการ ทราบเป็นระยะ ๆ.
  8. รถสองแถว : น. รถรับจ้างที่มีที่นั่งไปตามความยาวของรถเป็น ๒ แถว.
  9. ร่มเกล้า, ร่มเกศ : น. ผู้คุ้มครองป้องกันให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หมายถึง พระมหากษัตริย์.
  10. รมณียสถาน : น. สถานที่ให้ความรื่นรมย์, สถานที่ให้ความบันเทิงใจ.
  11. รมดำ : ก. ใช้น้ำมันกำมะถันเป็นต้น ทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วอบด้วยความ ร้อนให้ดำ เช่น รมปืน รมพระ รมรูปหล่อโลหะ.
  12. ร่มโพธิ์ร่มไทร : (สำ) น. ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ, เช่น พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก.
  13. ร่มเย็น : ว. มีความสุขสบาย, ไม่มีความเดือดร้อน.
  14. ร่มรื่น : ว. มีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ๆ ที่ทำให้เกิดความรื่นรมย์ใจ เช่น ในสวนนี้ร่มรื่นดี.
  15. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  16. ร่วมใจ : ว. มีความนึกคิดอย่างเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมใจ.
  17. รส : น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).
  18. รสนิยม : [รดสะนิยม, รดนิยม] น. ความนิยมชมชอบ, ความพอใจ, เช่น เขามีรสนิยมในการแต่งตัวดี.
  19. ร้องทุกข์ : ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ.
  20. ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
  21. รอดตาย : ก. ผ่านพ้นความตายมาได้, เอาชีวิตรอดมาได้.
  22. รอน ๆ : ว. อ่อนแสง (ใช้แก่พระอาทิตย์เวลาใกล้คํ่า) เช่น แสงตะวัน รอน ๆ, อาการที่ใกล้จะขาดหรือสิ้นสุดลง ในความว่า ใจจะขาดอยู่ รอน ๆ.
  23. ร้อน : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกไฟเป็นต้น, ตรงข้ามกับ เย็น; กระวน กระวาย เช่น ร้อนใจ; รีบเร่ง, ช้าอยู่ไม่ได้.
  24. ร้อนตัว : ก. กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว.
  25. ร้อนวิชา : (สํา) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็น ปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิด ปรกติวิสัย.
  26. ร้อน ๆ หนาว ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัว ว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, สะบัดร้อนสะบัดหนาว หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
  27. รอบตัว : ว. ทั่ว ๆ ไป เช่น ความรู้รอบตัว.
  28. ร้อยกรอง : ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีต ศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรอง สไบ; ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตาม บัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็น ระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
  29. ร้อยแก้ว : น. ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและ ความหมาย.
  30. รอหน้า : ก. เข้าหน้า, เผชิญหน้า, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น รอหน้า ไม่ติด ไม่อยู่รอหน้า.
  31. ระกำ ๒ : น. ความลําบาก, ความตรมใจ, ความทุกข์, เช่น ตกระกำลำบาก.
  32. ระแคะ : น. เล่ห์, เงื่อนความ.
  33. ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
  34. ระดับ : น. ลักษณะของพื้นผิวตามแนวนอนระหว่างจุด ๒ จุดที่มีความสูงเสมอกัน โดยปรกติใช้ระดับนํ้าทะเลเป็นมาตรฐานในการวัด, เรียกเครื่องวัดความ เสมอของพื้นผิวว่าเครื่องวัดระดับ. ก. ปูลาด, แต่งตั้ง.
  35. ระดับทะเล : น. ความสูงของพื้นนํ้าทะเลในขณะใดขณะหนึ่ง. (อ. sea level).
  36. ระทด : ก. สลดใจ, มีจิตใจหวั่นไหวเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น ระทดท้อ ระทดใจ.
  37. ระบบ : น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่ง ความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผล ทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ.
  38. ระบม : ก. อาการเจ็บร้าวที่เกิดจากความเมื่อยขัดหรือบอบชํ้าเป็นต้น เช่น ฝีระบม จนเป็นไข้ ถูกตีระบมไปทั้งตัว, ชอกช้ำ เช่น อกระบม ระบมใจ.
  39. ระบาย ๒ : ก. ผ่อนออกไป เช่น ระบายสินค้า ระบายนํ้า ระบายความทุกข์, ถ่ายออก เช่น ระบายท้อง ระบายอากาศ.
  40. ระบายสี : ก. ลงสี, แต้มสี, ป้ายสี, เช่น ระบายสีภาพทิวทัศน์ด้วยสีน้ำ; เสริมแต่งเกินความจริง เช่น เขาระบายสีข่าวเสียจนเชื่อไม่ลง. ว. ที่เสริมแต่งเกินความจริง เช่น ข่าวระบายสี.
  41. ระบำ : น. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความ บันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอย ระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือ ความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.
  42. ระเบิดไอพิษ : น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารพิษซึ่งเมื่อเกิดการระเบิดขึ้นแล้ว จะกลายเป็นไอหรือควันที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและอาจทำให้ ถึงแก่ความตายได้.
  43. ระลึก : ก. คิดถึงหรือนึกถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตได้ เช่น ระลึกถึง ความหลัง, รำลึก ก็ว่า.
  44. ระลึกชาติ : ก. ระลึกถึงความเป็นไปในชาติก่อน.
  45. ระวัง : ก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี, เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิด ภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.
  46. ระส่ำระสาย : ก. กระจัดพลัดพราย, เสียกระบวน, เช่น กองทัพแตกระส่ำระสาย; วุ่นวาย, เกิดความไม่สงบ, เช่น บ้านเมืองระส่ำระสาย.
  47. ระหกระเหิน : ก. ด้นดั้นไปด้วยความลําบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลําบากยากเย็น, เช่น ชีวิตของเขาต้องระหกระเหินอยู่ตลอดเวลา, ระเหินระหก ก็ใช้.
  48. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  49. ระเหินระหก : ก. ด้นดั้นไปด้วยความลำบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลำบากยากเย็น, ระหกระเหิน ก็ใช้.
  50. ระอุ : ว. ร้อนมาก ในความว่า อากาศร้อนระอุ แผ่นดินร้อนระอุ; สุกทั่ว เช่น ข้าวระอุ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | [1951-2000] | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.1645 sec)