Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความซื่อ, ซื่อ, ความ , then ความ, ความซอ, ความซื่อ, ซอ, ซื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความซื่อ, 3325 found, display 3001-3050
  1. อนุสัญญา : น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สําคัญเฉพาะเรื่อง ที่ ทําเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึก และผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
  2. อเนก, อเนก : [อะเหฺนก, อะเหฺนกกะ] ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.). อเนกประสงค์ [อะเหฺนกปฺระสง] ว. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แล้วแต่ความต้องการ.
  3. อบ : ก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจาย ออกไปไม่ได้; ทําให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความ ร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.
  4. อบอุ่น : ว. อุ่นสบาย; โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากความว้าเหว่.
  5. อบายภูมิ : [อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ และกําเนิดดิรัจฉาน. (ป., ส. อปาย).
  6. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  7. อบาย, อบาย : [อะบาย, อะบายยะ] น. ที่ที่ปราศจากความเจริญ; ความฉิบหาย. (ป.).
  8. อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  9. อปการ : [อะปะกาน] น. ความผิด, โทษ; การทําร้าย, การดูถูก. (ส.).
  10. อปจายน : [อะปะจายะนะ] น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม. (ป., ส.).
  11. อปจายนธรรม : น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม, การถ่อมตน. (ป. อปจายนธมฺม).
  12. อประมาท, อัประมาท : [อะปฺระหฺมาด, อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  13. อปราชัย, อัปราชัย : [อะปะ, อับปะ] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้ หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).
  14. อปราธ : [อะปะราทะ] น. ความผิด, โทษ. (ป., ส.).
  15. อภว : [อะภะวะ] น. ความไม่มี, ความเสื่อม, ความเสียหาย. (ป., ส.).
  16. อภัยทาน : [อะไพยะทาน] น. การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน. ว. ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน. (ป.).
  17. อภัย, อภัย : [อะไพ, อะไพยะ] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษ ให้ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
  18. อภิ : คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมาย ว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
  19. อภิจฉา : [อะพิดฉา] น. ความทะเยอทะยาน, ความกระวนกระวาย. (ป.).
  20. อภิชฌา : [อะพิดชา] น. ความโลภ, ความอยากได้. (ป.).
  21. อภิชัย : น. ความชนะ; การปราบปราม. (ป., ส.).
  22. อภิญญา, อภิญญาณ : [อะพินยา, อะพินยาน] น. ''ความรู้ยิ่ง'' ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกําหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺ?า, อภิชฺ?าน).
  23. อภินันทนาการ : น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ).
  24. อภินันท, อภินันท์ : น. ความยินดียิ่ง, ความดีใจยิ่ง. (ป., ส.).
  25. อภิปรัชญา : [อะพิปฺรัดยา, อะพิปฺรัดชะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่ง ว่าด้วยความ แท้จริง ซึ่งเป็นเนื้อหาสําคัญของปรัชญา. (อ. metaphysics).
  26. อภิปราย : [อะพิปฺราย] ก. พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย).
  27. อภิมานะ : น. ความเย่อหยิ่ง, ความถือตัว. (ป., ส.).
  28. อภิรดี, อภิรติ : [อะพิระ] น. ความรื่นรมย์ยินดียิ่ง (มักใช้ในเรื่องรักใคร่). (ป., ส.).
  29. อภิสมโพธิ, อภิสัมโพธิ : [อะพิสมโพด, สําโพทิ] น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
  30. อภิสมัย : [อะพิสะไหฺม] น. ความตรัสรู้, ความบรรลุ, การถึง, ใช้ในคําว่า ธรรมาภิสมัย. (ป., ส.).
  31. อภิสมาจาร : [อะพิสะมาจาน] น. มารยาทอันดี, ความประพฤติอันดี. (ป., ส.).
  32. อภิสัมโพธิญาณ : [อะพิสำโพทิยาน] น. ญาณคือความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า.
  33. อมความ : ก. เก็บใจความสําคัญ, ใช้ถ้อยคำน้อยแต่เก็บความสำคัญไว้ ได้มาก; (โบ) จำไว้ในใจ, จำใจความได้.
  34. อมทุกข์ : ว. มีความทุกข์สุมอยู่ เช่น หน้าตาอมทุกข์.
  35. อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
  36. อมภูมิ : [พูม] ก. ไม่ยอมแสดงความรู้ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ บางทีใช้ หมายถึงทำท่าทางคล้าย ๆ รู้ แต่ความจริงไม่รู้ เช่น ทำเป็นอมภูมิ.
  37. อมฤตยู : [อะมะรึดตะ] น. ความไม่ตาย. (ส.).
  38. อย่า : [หฺย่า] ว. คําประกอบกริยาบอกความห้ามหรือไม่ยอมให้ทําการ ต่าง ๆ.
  39. อย่างไร : ว. ใช้ในประโยคคําถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือ ความเห็นเป็นต้น เช่น จะทําอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ใน ประโยคที่ไม่เป็นคําถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
  40. อยู่ดีกินดี : ว. มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย.
  41. อยู่ดีไม่ว่าดี : (สำ) ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง.
  42. อยู่ไฟ : ก. นอนใกล้ไฟโดยเชื่อว่าความร้อนจะทําให้มดลูกเข้าสู่ภาวะ ปรกติได้เร็วหลังคลอดลูกแล้ว.
  43. อรดี, อรติ : [อะระ] น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ, อราดี หรือ อราติ ก็ใช้. (ป., ส.).
  44. อรรถกถา : [อัดถะกะถา] น. คัมภีร์ที่อธิบายความพระบาลี, คัมภีร์ ที่ไขความพระไตรปิฎก. (ส. อรฺถ + กถา; ป. อตฺถกถา, อฏฺ?กถา).
  45. อรรถกวี : [อัดถะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรอง ตามความเป็นจริง.
  46. อรรถบท : [อัดถะบด] น. แก่นเรื่อง, เนื้อความ, หัวข้อ, สาระ.
  47. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  48. อรรถรส : [อัดถะรด] น. รสแห่งถ้อยคํา, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดความ ซาบซึ้ง, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ.
  49. อรรถ, อรรถ : [อัด, อัดถะ] น. เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คําที่ยังไม่ได้ แปลความหมาย เช่น คําอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).
  50. อรรถาธิบาย : ก. ขยายความ, อธิบายความ. น. การขยายความ, การอธิบายความ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | [3001-3050] | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.2279 sec)