Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศึกษาเล่าเรียน, เรียน, ศึกษา, เล่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศึกษาเล่าเรียน, 341 found, display 151-200
  1. นิยาย : น. เรื่องที่เล่ากันมา.
  2. นิเวศวิทยา : [นิเวดสะวิดทะยา, นิเวดวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม; (มานุษย) การศึกษาเกี่ยวกับการดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม. (อ. ecology).
  3. แนวคิด : น. ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติ เช่น แนวคิดในการปฏิรูป การศึกษา.
  4. บทสนทนา : น. คําพูดที่โต้ตอบกันในการเรียนภาษา.
  5. บรรยาย : [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).
  6. บริยาย : [บอริยาย] ก. บรรยาย, สอน, แสดง, เล่าเรื่อง.
  7. บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  8. บ่อน : น. แหล่งเป็นที่ชุมนุมกันเพื่อเล่นการพนัน เช่น บ่อนไก่ บ่อนเบี้ย บ่อนไพ่, แหล่งเป็นที่ชุมนุมกันเพื่อการบางอย่างมีเล่นสักวาหรือ เล่านิทานเป็นต้น เช่น บ่อนสักวา บ่อนเล่านิทาน. ก. กินฟอนอยู่ ข้างใน เช่น หนอนบ่อนไส้, ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน. (โลกนิติ).
  9. บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  10. บัณฑิตย์ : [บันดิด] น. ความรอบรู้, การเรียน, ความเป็นบัณฑิต. (ส. ปาณฺฑิตฺย; ป. ปณฺฑิจฺจ).
  11. บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  12. เบรียน : [บะเรียน] (โบ) ก. ให้เรียน, สอน, เช่น อาจเบรียนภิกษุสงฆ์ ทั้งหลาย. (จารึกสยาม).
  13. เบี้ยกันดาร : (กฎ) น. เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง ประจําเนื่องจากการปฏิบัติราชการประจําในท้องที่กันดารหรือ โรงในเรียนที่กันดาร.
  14. เบื้อ ๒ : น. สัตว์ในนิยายเล่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายคน แต่ไม่มีสะบ้าหัวเข่า พูดไม่ได้, โดยปริยายเรียกผู้ที่นิ่งเฉยไม่พูดไม่จาเหมือนตัวเบื้อว่า เป็นเบื้อ เช่น นั่งเป็นเบื้อ.
  15. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  16. โบราณคดี : [โบรานนะคะดี, โบรานคะดี] น. วิชาที่ศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณสถาน, เดิมใช้ โบราณคดีวิทยา.
  17. ใบสุทธิ : น. เอกสารแสดงวิทยฐานะและความประพฤติเป็นต้นของ บุคคลผู้ถือเมื่อลาออกหรือจบการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียน.
  18. ปฐพีวิทยา : [ปะถะพีวิดทะยา, ปัดถะพีวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน. (อ. pedology).
  19. ปฐมนิเทศ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. การแนะนําชี้แนวเพื่อการศึกษา และการทํางานในเบื้องต้น.
  20. ประชากรศาสตร์ : น. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่ อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวม ทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
  21. ประชาบาล : น. การศึกษาของท้องถิ่น มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดําเนินการ, เรียกโรงเรียนประเภทนี้ว่า โรงเรียนประชาบาล; (เลิก) การปกครองพลเมืองในท้องถิ่น.
  22. ประถม : ว. ปฐม, ลําดับแรก, ลําดับเบื้องต้น, เช่น ประถมศึกษา ชั้นประถม; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลช้างเผือกและ มงกุฎไทยว่า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย. (ส.).
  23. ประพจน์ : น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
  24. ประมวลการสอน : น. หนังสือหรือเอกสารที่แสดงเนื้อหาของหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน.
  25. ประเมินผล : ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติ งานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง
  26. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  27. ประโยชน์ : [ปฺระโหฺยด] น. สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้, ผลที่ได้ตาม ต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, เช่น ประโยชน์ของการศึกษา ประโยชน์ของโรงเรียน. (ส. ปฺรโยชน; ป. ปโยชน).
  28. ปรับทุกข์ : ก. บอกเล่าความทุกข์, พรรณนาถึงความทุกข์.
  29. ปรานีตีเอาเรือ : (สํา) ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้าย ตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า. (สังข์ทอง).
  30. ปริญญาบัตร : น. บัตรที่แสดงวิทยฐานะของผู้สําเร็จการศึกษาว่ามีศักดิ์ และสิทธิ์ระดับปริญญา.
  31. ปริยาย : [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออก อย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
  32. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  33. ปัญญา : น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).
  34. ปัญญาชน : น. คนที่มีความรู้หรือความฉลาดอันเกิดแต่การเรียน มามาก.
  35. ปัญญาอ่อน : น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทําให้เด็กมีความสามารถ จํากัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ ควรเป็น. ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.
  36. ปากตลาด : น. ถ้อยคําที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่า กันมาอย่างนี้. ว. ปากจัด.
  37. ปากเปียก, ปากเปียกปากแฉะ : น. เรียกการว่ากล่าวตักเตือนซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็ยังไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย.
  38. ปารคู : น. ผู้ถึงฝั่ง คือผู้เรียนวิชาจบ ได้แก่ พราหมณ์ผู้เรียนจบ ไตรเพท หรือพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์. (ป.).
  39. เป็นคุ้งเป็นแคว : ว. อาการที่เล่าเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวติดต่อกัน เหมือนกับรู้เห็นมาด้วยตนเอง.
  40. เป็นตุเป็นตะ : ว. อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วย ตนเอง เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ.
  41. เปรียญ : [ปะเรียน] น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตาม หลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป.
  42. เป้าประสงค์ : น. วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่บุคคลพยายาม บรรลุถึง เช่น เป้าประสงค์ของวิชานี้เพื่อฝึกทักษะของผู้เรียน.
  43. เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
  44. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  45. ผัดวันประกันพรุ่ง : (สํา) ก. ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า.
  46. ผีกระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิม เป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้ กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของ โสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.
  47. ผู้อุปการะ : (กฎ) น. ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายความถึง (๑) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ ฉันบิดามารดากับบุตร หรือ (๒) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำหรือ ข้าราชการบำนาญผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะ ข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพหรือวิกลจริตไม่สามารถ ที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำ เป็นส่วนใหญ่.
  48. ฝึกสอน : ก. ฝึกหัดการสอนในโรงเรียนตามหลักสูตรวิชาการศึกษา; สอนให้ทําจนเป็น, สอนให้เป็นคนดี, เช่น เฝ้าฝึกสอน.
  49. พยัต : [พะยัด] น. ผู้เรียน, ผู้รู้. ว. ฉลาด, เฉียบแหลม. (ป. พฺยตฺต, วฺยตฺต; ส. วฺยกฺต).
  50. พรหมจรรย์ : น. การศึกษาปรมัตถ์, การศึกษาพระเวท; การถือพรต บางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, การบวชซึ่งเว้นเมถุนเป็นต้น. (ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-341

(0.0256 sec)