Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศึกษาเล่าเรียน, เรียน, ศึกษา, เล่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศึกษาเล่าเรียน, 341 found, display 201-250
  1. พรหมจารี : น. ผู้ศึกษาปรมัตถ์, นักเรียนพระเวท; ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ; หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.; ส. พฺรหฺมจารินฺ).
  2. พลศึกษา : [พะละ] น. การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและ พัฒนาการทางร่างกาย.
  3. พอสมควร : ว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร, พอควร ก็ว่า.
  4. พัดยศ : น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการศึกษา การ บริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดง ลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
  5. พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน : [พิพิดทะพัน, พันทะสะถาน] น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้าน วัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.
  6. พีชคณิต : [พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มา ศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบ จํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็น สําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
  7. พื้นดี : น. อารมณ์ดี; พื้นความรู้ดี. ว. ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาดี.
  8. เพิ่มเติม : ก. เสริมหรือเติมของที่มีอยู่แต่ยังไม่สมบูรณ์ให้มีมากหรือ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ศึกษาเพิ่มเติม แก้ไขเพิ่มเติม.
  9. ฟรี : [ฟฺรี] ว. ไม่เสียมูลค่าหรือไม่ได้ค่าตอบแทนใด ๆ เช่น เรียนฟรี ทํางานฟรี; ว่างจากงาน เช่น วันนี้ฟรี; อิสระ เช่น ล้อฟรี. (อ. free).
  10. ภาคนิพนธ์ : [พากคะ–, พาก–] น. รายงานการค้นคว้าประจําภาคเรียน. (อ. term paper).
  11. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  12. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  13. ภาษาศาสตร์ : น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
  14. ภูมิศาสตร์ : [พูมิ–] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.
  15. ภูมิศาสตร์กายภาพ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่อง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์.
  16. ภูมิศาสตร์การเกษตร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการ กสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ และการประมง.
  17. ภูมิศาสตร์การเมือง : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่อง เกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก.
  18. ภูมิศาสตร์ประชากร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักใน เรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
  19. ภูมิศาสตร์ประวัติ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง ปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
  20. ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทาง เศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้.
  21. มหาดไทย : น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนา ชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
  22. มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
  23. มัธยมศึกษา : [มัดทะยมมะ-, มัดทะยม-] น. การศึกษาระหว่าง ประถมศึกษากับอุดมศึกษา.
  24. มุขบาฐ, มุขปาฐะ : [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.
  25. มุ่ง : ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.
  26. มูลนิธิ : [มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
  27. แม่กองธรรมสนามหลวง : น. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่ พระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและธรรมศึกษาของคณะสงฆ์.
  28. ไม้นวม : น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
  29. ยชุรเวท : [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่า แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  30. ยาวยืด : ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้ จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืด เล่าไม่รู้จักจบ.
  31. โยคาพจร, โยคาวจร : [โยคาพะจอน, วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
  32. รอมร่อ : [รอมมะร่อ] ว. ในระยะทางหรือเวลาอันใกล้จวนเจียน เช่น จะสำเร็จ การศึกษาอยู่รอมร่อ จะถึงบ้านอยู่รอมร่อ, รํามะร่อ ก็ว่า.
  33. ระบือ : ว. เล่าลือ เช่น ข่าวระบือ, เลื่องลือ, แพร่หลายรู้กันทั่ว, เช่น ชื่อเสียงระบือ ไปไกล.
  34. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  35. รับช่วง : ก. รับทอดต่อเนื่องกันไป เช่น รับช่วงงานที่คนเก่าทำค้างไว้ น้องรับช่วงหนังสือเรียนจากพี่.
  36. รับทุน : ก. รับเงินอุดหนุน เช่น รับทุนการศึกษา.
  37. รับสมัคร : ก. รับผู้ที่มาสมัครเข้าเรียน เข้าสอบ หรือเข้าทำงาน เป็นต้น.
  38. รากฐาน : น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับ สำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็น รากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
  39. รายงาน : น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ.
  40. รายวิชา : น. หน่วยวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา มีทั้งที่บังคับและให้เลือก. (อ. course).
  41. รำมะร่อ : ว. ในระยะทางหรือเวลาอันใกล้จวนเจียน เช่น จะสำเร็จการศึกษาอยู่ รำมะร่อ จะถึงบ้านอยู่รำมะร่อ, รอมร่อ ก็ว่า.
  42. ร่ำสุรา : (ปาก) ก. ดื่มสุราแล้วดื่มสุราเล่า.
  43. รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  44. รู้ไม่จริง : ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของ เพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง.
  45. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม : (สํา) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือ เสียหายอะไร.
  46. เร่งรัด : ก. เร่งอย่างกวดขัน เช่น เร่งรัดลูกหนี้ให้ใช้เงินคืน. ว. เรียก หลักสูตรที่เร่งให้เรียนจบภายในกำหนดเวลาที่เร็วขึ้นว่า หลักสูตร เร่งรัด.
  47. เรื่องราว : น. เรื่องที่พูดหรือเล่าติดต่อกันไป.
  48. โรงเรียน : น. สถานศึกษา.
  49. โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ : น. โรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่ หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจํา, เรียกนักเรียนเช่นนั้นว่า นักเรียน กินนอน หรือ นักเรียนประจํา.
  50. ลงทะเบียน : ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อ รายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อ แสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-341

(0.0313 sec)