Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กึ่งหนึ่ง, หนึ่ง, กึ่ง , then กง, กงหนง, กึ่ง, กึ่งหนึ่ง, หนง, หนึ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กึ่งหนึ่ง, 3618 found, display 3451-3500
  1. อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
  2. อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
  3. อา ๓, อ๋า : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก ๓ ประตู โปออก ประตูใดใน ๓ ประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน หมดทั้ง ๓ ประตู.
  4. อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
  5. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  6. อาครหายณี : [อาคฺระหายะนี] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวมิคสิระ ก็เรียก. (ส.).
  7. อาจ : ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีก สิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
  8. อาจารย์ : น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).
  9. อาชีวก : [วก] น. นักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล. (ป., ส.).
  10. อาณาจักร : น. เขตแดนที่อยู่ในอํานาจปกครองของประเทศหนึ่ง ๆ; อํานาจปกครองทางบ้านเมือง, คู่กับ ศาสนจักร ซึ่งหมายความว่า อํานาจปกครองทางศาสนา.
  11. อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
  12. อาบแดด : ก. ให้ผิวกายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดถูกแดด เพื่อ สุขภาพหรือความงาม.
  13. อาม ๑, อ่าม : ว. ไม่ เช่น เลี้ยงลาอามสาย, หนึ่งจงเลี้ยงม่ามอ่ามสาย. (ไตรภูมิ). (ไทยใหญ่ อํ่า ว่า ไม่).
  14. อายุรเวท : น. วิชาแพทย์, วิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา. (ถือกันว่าเป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนหนึ่งของอถรรพเวท). (ส.).
  15. อารยัน : น. ชื่อชนชาติหนึ่งซึ่งเป็นต้นเค้าของชาวอินเดียบางพวก ชาวอิหร่าน และชาวยุโรปบางพวก, อริยกะ ก็ว่า.
  16. อาลัว : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้แป้งสาลีตั้งไฟกวนกับกะทิ และน้ำตาลทราย จนสุกหยอดเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วผึ่งแดดให้ภายนอกแห้ง แต่ภายใน ยังเยิ้มเหมือนนํ้ามันตานี.
  17. อาวาห, อาวาหะ : [อาวาหะ] น. ''การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน'' หมายถึง การ แต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยม ปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).
  18. อาหนี : [หฺนี] น. เหล้าชนิดหนึ่งผสมด้วยเมล็ดผลไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมฉุน. (ฝ. anise ว่า เมล็ดผลไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอมฉุน).
  19. อาหนู : [หฺนู] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  20. อาหม : [หมฺ] น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อะหม ก็ว่า.
  21. อาหรับ : [หฺรับ] น. ชื่อชนชาติผิวขาวพวกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย.
  22. อำนาจ : น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอม ทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถ บันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของ กฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถ ทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระ ศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.
  23. อำพันขี้ปลา, อำพันทอง : น. วัตถุสีเทาและสีเหลือง มีกลิ่นหอม ลอยอยู่ในทะเลหรือริมฝั่งทะเลของประเทศแถบร้อน เข้าใจว่า เป็นขี้ปลาวาฬชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
  24. อิน : น. ชื่อลูกจันชนิดหนึ่ง ลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียกว่า ลูกจันอิน. (ดู จัน).
  25. อินซูลิน : น. ฮอร์โมนประเภทโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งหย่อมเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ (islets of Langerhans) ในตับอ่อนผลิตขึ้น มีสมบัติควบคุมการ เผาผลาญนํ้าตาลในร่างกาย ในทางแพทย์ใช้เป็นสารลดระดับ นํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (อ. insulin).
  26. อินเดีย : น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งในเอเชียใต้ อยู่ทางทิศตะวันตก ของประเทศพม่า.
  27. อินเดียนแดง : น. ชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมพวกหนึ่งในทวีปอเมริกา.
  28. อินทรธนู : [อินทะนู] น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า); เครื่องประดับ บ่าอย่างหนึ่งเพื่อแสดงยศเป็นต้น; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.
  29. อินทรวงศ์ : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสําเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๗ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลัง เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช).
  30. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  31. อินทราภิเษก : [อินทฺรา] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นําเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอา ฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทําพิธีราชาภิเษก อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอํานาจได้ มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.
  32. อิมัลชัน : น. สารผสมที่ประกอบด้วยของเหลวต่างชนิดกันตั้งแต่ ๒ ชนิด ขึ้นไปผสมกันอยู่ในลักษณะซึ่งของเหลวชนิดหนึ่งเป็นอย่างน้อย อยู่ในสภาพเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลอยแผ่กระจายทั่วโดยสมํ่าเสมอ. (อ. emulsion).
  33. อิริยาบถ : น. อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (ป.).
  34. อิเล็กตรอน : [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ อะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวล ๙.๑๐๙๑ x ๑๐-๓๑ กิโลกรัม. (อ. electron).
  35. อิเล็กโทน : น. เครื่องดนตรีไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สามารถทําเสียงเครื่องดนตรี หลายชนิดได้ในเวลาเดียวกัน. (อ. electone).
  36. อิศวร : [อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
  37. อิสลาม : น. ศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก มีศาสดาชื่อมุฮัมมัด นับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออัลลอฮ์ มีคัมภีร์อัลกุรอานเป็นหลัก ไม่มีนักบวช, เรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามว่า มุสลิม.
  38. อี๊ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น อี๊ ! เสื้อสกปรกอย่างนี้ ยังจะเอามาให้อีก, ยี้ ก็ว่า.
  39. อี๋ ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มนํ้าตาล.
  40. อีก : ว. ต่อไป, ซํ้า, เพิ่มเติม เช่น ขออีก, อื่นจากนั้น เช่น อีกประการหนึ่ง, อิก ก็ว่า.
  41. อีก้อ : น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบตพม่า มีอยู่ทางแถบเหนือ ของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, ก้อ ก็เรียก.
  42. อีแก่, อีแก่กินน้ำ : น. ชื่อการเล่นไพ่อย่างหนึ่ง.
  43. อีคว่ำอีหงาย : น. เรียกการเล่นชนิดหนึ่งในจําพวกหมากแยก ซึ่งมีการกินหงายเบี้ย.
  44. อีจู้ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อ คอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, กระจู้ หรือ จู้ ก็เรียก.
  45. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  46. อีดำอีแดง ๒ : น. ชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นสีดําสีแดงตามตัว.
  47. อีเต้อ : น. เครื่องมือสําหรับขุดของแข็งหรือหินเป็นต้น ทําด้วยเหล็ก ลักษณะคล้ายจอบ ปลายหัวด้านหนึ่งแหลม ส่วนปลายอีก ด้านหนึ่งแบน มีรูตรงกลางสําหรับใส่ด้าม.
  48. อีเทอร์ : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่ง มีสูตรทั่วไปเป็น ROR โดยทั่วไปมักหมายถึง ไดเอทิลอีเทอร์ ซึ่งมีสูตร C2H5OC2H5 ลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี มีขีดเดือด ๓๔.๖?ซ. ไวไฟมาก ใช้ประโยชน์เป็นยาดมสลบ เป็นตัวทําละลาย และใช้นําไปเตรียม สารเคมีอื่น. (อ. ether).
  49. อีเป็ด : น. ชื่อเรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้าย แบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่อง ดูรูปร่างคล้ายเป็ด, เรือเป็ด ก็เรียก.
  50. อีเป้า : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว คู่กับ ว่าวจุฬา, ปักเป้า ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | [3451-3500] | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3618

(0.1634 sec)