Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กั้นแบ่ง, แบ่ง, กั้น , then กน, กนบง, กั้น, กั้นแบ่ง, บง, แบ่ง, แป่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กั้นแบ่ง, 362 found, display 201-250
  1. มูลนิธิ : [มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
  2. แมง : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง มักเรียกสับกับคําว่า แมลง.
  3. แมลง : [มะแลง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มี ๖ ขา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งอาจมี ๑ หรือ ๒ คู่ แต่อาจพบพวกที่ไม่มีปีกก็ได้ เป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลก มักเรียกสับ กับคําว่า แมง.
  4. ไม่คิดไม่ฝัน : ก. นึกไม่ถึง, เกินคาด, เช่น ไม่คิดไม่ฝันว่าจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑.
  5. ไม้หมุน : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งทําเป็นไม้แป้นกลม ๆ เขียนแบ่งเป็นช่อง มีเข็มชี้วางตามแบน ใช้หมุน เมื่อเข็มชี้ไปหยุดตรงช่องที่แทง ก็ถูก; เรียก ไม้กลม ๆ สําหรับปาดปากสัดข้าวว่า ไม้หมุน.
  6. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  7. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  8. แยกตัว : ก. ผละออก เช่น เขาแยกตัวออกจากพรรคพวก; ไม่ผสมกลมกลืน กัน เช่น น้ำกับน้ำมันแยกตัวกัน; แบ่งตัวเพื่อขยายจำนวน เช่น เซลล์แยกตัว ออกจากกันเป็นทวีคูณ.
  9. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  10. รา ๒ : น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริง ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
  11. รากสาด : น. กลุ่มโรคที่มีอาการไข้สูงนานเป็นสัปดาห์ มีผื่นขึ้น แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ ไข้รากสาดน้อย และไข้รากสาดใหญ่.
  12. รางวัล : น. สิ่งของหรือเงินที่ได้มาเพราะความดีความชอบหรือความสามารถ เช่น รางวัลผู้มีมารยาทงามรางวัลสังข์เงิน รางวัลตุ๊กตาทอง หรือเพราะชนะ ในการแข่งขันเช่น รางวัลชนะเลิศในการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนา แก่เด็กรางวัลชนะเลิศฟุตบอล หรือเพราะโชค เช่นถูกสลากกินแบ่งรางวัล ที่ ๑; (กฎ) เงินตราที่จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทําความผิด; ค่าตอบแทนที่ให้แก่ผู้ซึ่งกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งสําเร็จตามที่บ่งไว้. ก. ให้สิ่งของโดยความชอบหรือเพื่อเป็นสินนํ้าใจเป็นต้น.
  13. รูเล็ตต์ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เจ้ามือใช้ลูกงากลมใส่ในวงล้อที่หมุนอย่างเร็ว วงล้อนั้นแบ่งเป็นช่อง ๆ สีแดงสลับดํา มีเลขกํากับทุกช่อง ผู้เล่นจะต้อง แทงว่าลูกกลมนั้นจะตกที่ช่องใด โดยจะแทงแต่ละหมายเลขหรือจะแทง เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มเลข คู่–คี่ กลุ่มเลข สูง–ตํ่า หรือจะแทงสีก็ได้. (อ. roulette).
  14. เรียงเบอร์ : (ปาก) น. ใบตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกรางวัล เรียงตาม ลำดับหมายเลข.
  15. เรือก : น. ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้นที่ผ่าออกเป็นซีก ๆ แล้วถักด้วยหวายสําหรับ ปูพื้นหรือกั้นเป็นรั้วเป็นต้น, พื้นที่ลาดหรือปูด้วยไม้ถักด้วยหวาย, เรียก สะพานชั่วคราวที่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกถักด้วยหวายหรือเชือกว่า สะพานเรือก.
  16. เรือน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สําหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จํานวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนาม ใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งนาฬิกา ๒ เรือน.
  17. เรือฟริเกต : น. เรือรบที่มีความเร็วสูง มีระวางขับน้ำประมาณ ๑,๕๐๐– ๓,๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยานเรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกต ปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์.
  18. ฤดู : [รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
  19. ลม ๆ แล้ง ๆ : ว. เลื่อนลอยเปล่า ๆ, ไม่มีผล, เช่น ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ว่าจะถูกสลากกินแบ่ง.
  20. ลอตเตอรี่ : น. สลากกินแบ่ง. (อ. lottery).
  21. ล้อม : ก. โอบเป็นวงโดยรอบ, ตีวงเข้าไปโดยรอบ เช่น ล้อมค่าย, กั้นรอบ เช่น ล้อมรั้ว ล้อมคอก, โดยปริยายหมายถึงรุมล้อมเข้ามาเพื่อจะทําร้าย, ล้อมกรอบ ก็ว่า.
  22. ละครรำ : น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดง บทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรี ปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
  23. ลับแล : น. เครื่องกั้นหรือบังตา เป็นแผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขาตั้ง ขนาบ ๒ ข้าง ยกย้ายได้ มักตั้งต่อช่องประตูเข้าไป บังตาคนภาย นอกไม่ให้เห็นภายใน; ชื่อเมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่ โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจไปไม่พบ.
  24. ลายฮ่อ : น. ลายเส้นเขียนเป็นไพรคิ้วไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบ ด้วยเส้นสีแดง ดินแดงและสีทอง, เส้นฮ่อ ก็เรียก; ลายที่เขียนเป็น อย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ใน งานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ.
  25. ลำแพน ๒ : น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง มักสานด้วยตอกไม้ไผ่เส้นใหญ่ ๆ แบน ๆ ซึ่งเรียกว่า ตอกปื้น ที่ทําด้วยหวายหรือเส้นใยเปลือกไม้ก็มี ใช้ปูหรือ ทําเป็นแผงใช้กั้นหรือกรุเป็นฝาเรือนเป็นต้น เรียกว่า เสื่อลําแพน.
  26. ลิปดา : น. มาตราวัดมุม ได้แก่เศษ ๑ ใน ๖๐ ขององศา แบ่งออกเป็น ๖๐ พิลิปดา. (ส.).
  27. ลุ้ง : น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทําด้วยโลหะมีทองเหลือง และเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็น ห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้; โลงสําหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.
  28. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  29. ลูกล้อ ๒ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน และ ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใดหรือจะมี เพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  30. โล่งโถง : ว. เปิดว่างตลอด ขาดสิ่งที่ควรมี เช่น ห้องโล่งโถง คือ ห้องที่ควรจะมีฝากั้น แต่ไม่มี.
  31. ไล่ต้อน : ก. ไล่สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ เช่น ไล่ต้อนเป็ดเข้าเล้า สุนัขไล่ต้อนฝูงแกะ นักมวยไล่ต้อนคู่ชกให้เข้ามุม.
  32. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  33. วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
  34. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  35. วรรณ, วรรณะ : [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  36. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  37. วอลเลย์บอล : น. กีฬาอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๖ คน แต่ละฝ่าย ต้องใช้มือตีหรือตบลูกบอลข้ามตาข่ายโต้กันไปมา. (อ. volley ball).
  38. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  39. วาจก : น. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่า ประธานทําหน้าที่เป็นผู้ทํา ผู้ใช้ ผู้ถูกทํา หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจกและการิตวาจก. (ป., ส.).
  40. ว่าไม่ได้ : (ปาก) ว. ยังลงความเห็นไม่ได้, ยังไม่แน่นอน, เช่น ว่าไม่ได้เขาอาจจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ ก็ได้.
  41. ว่าวอน : (แบบ) ก. อ้อนวอน เช่น ผ่านม่านสุวรรณซึ่งกั้นกาง เห็นนางบรรทมอยู่ในที่ พี่เลี้ยงโลมไล้ไม่ไยดี มะเดหวีจึงเข้าไป ว่าวอน. (อิเหนา).
  42. วิ่งเปี้ยว : น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับ ช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตี ฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.
  43. วิ่งผลัด : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นชุด ๆ ชุดละ ๔ คน แต่ละชุดจัดคนยืนอยู่ในลู่ของตนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด คนแรก จะเริ่มวิ่งจากต้นทาง แล้วส่งไม้ให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ วิ่งไปส่งให้คน ที่๓ และคนที่ ๓ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๔ ตามลำดับ คนที่ ๔ ของชุดใดวิ่ง ถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
  44. วิ่งสามขา : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็นคู่ ๆ โดยผูกขาขวา ของคนหนึ่งเข้ากับขาซ้ายของอีกคนหนึ่ง แล้ววิ่งแข่งกับคู่อื่น ๆ.
  45. วิตามิน : น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่ เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะใน ร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการ เจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วย ต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ ''ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
  46. วิภังค์ : น. การจําแนก, การแบ่ง; ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎก. (ป., ส.).
  47. วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
  48. วิภาค : น. การแบ่ง, การจําแนก; ส่วน, ตอน. (ป., ส.).
  49. ไวกูณฐ์ : น. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.); (โบ) พระนารายณ์ ที่แบ่งภาคลงมา เช่นซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  50. ศาลา : น. อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อ ประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-362

(0.0874 sec)