Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวเนื่อง, เนื่อง, เกี่ยว, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวเนื่อง, 3645 found, display 1301-1350
  1. นักบุญ : น. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทําความดีไว้มากเมื่อตายแล้ว ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้สําเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, ผู้ยินดีใน การบุญ.
  2. นักวิชาการ : น. ผู้เชี่ยวชาญในวิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา.
  3. นักศึกษา : น. ผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ตํ่ากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตาม หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษา ธิการเทียบเท่า ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา.
  4. นั่งกินนอนกิน : ว. มีความสุขสบายมากโดยไม่ต้องทํามาหากินอะไร.
  5. นั้น : ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมาย ฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล กว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคําอื่นคู่กับคํา ใด แสดงความ แน่นอน เช่น คนใดคนนั้น เมื่อใดเมื่อนั้น. นั้นแล คําลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
  6. นันท : [นันทะ] น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป.).
  7. นันทนาการ : [นันทะ] น. กิจกรรมที่ทําตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด, การสราญใจ. (อ. recreation).
  8. นันทิ : น. ผู้มีความยินดี. (ส.).
  9. นับถือ : ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลัก ผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคําลงท้าย จดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
  10. นัวเนีย : ว. ปัวเปีย, พัลวัน, เกี่ยวพันกันยุ่ง.
  11. นา ๒ : (แบบ) คําบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคําบทร้อยกรองให้มีความกระชับ หรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.
  12. น่า ๒ : ว. คําประกอบท้ายความ หมายความไปในทางชักชวนหรือให้ทําตาม เช่น กินเถิดน่า ไปเถิดน่า.
  13. นาง ๒ : ใช้แทนคําว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคําเพื่อความสุภาพ เช่น นางรม
  14. นางงาม : น. หญิงสาวที่ชนะการประกวดความงาม.
  15. นางร้องไห้ : น. หญิงที่ทําหน้าที่หรือรับจ้างร้องไห้ครํ่าครวญถึงคุณความดี ของผู้ตาย.
  16. นาฏ, นาฏ : [นาด, นาตะ, นาดตะ] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับ คําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.). นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละครหรือการฟ้อนรํา; (กฎ) งานเกี่ยวกับ การรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และ หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
  17. นาฏย : [นาดตะยะ] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรํา, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
  18. นาท : น. ความบันลือ; เสียงบันลือ, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  19. นานัตว : [นานัด] (แบบ) น. ความเป็นต่าง ๆ. (ส.).
  20. นานาจิตตัง : ว. ต่างจิตต่างใจ, ต่างคนก็ต่างความคิดเช่นคนหนึ่งถูกกับ อากาศเย็น แต่อีกคนหนึ่งถูกกับอากาศร้อน.
  21. นาบ : ก. เอาสิ่งที่มีความร้อนรีดหรือกดลงไป เช่น นาบพลู นาบใบตอง เอา เหล็กร้อนนาบเท้า, เรียกพลูที่นาบแล้วว่า พลูนาบ.
  22. นาบข้าว : ก. เอาไม้ยาวกดต้นข้าวให้ราบลงเพื่อเกี่ยว.
  23. นาวิก, นาวิก : [นาวิก, นาวิกกะ] น. คนเรือ. ว. เกี่ยวกับเรือ. (ป., ส.).
  24. นาศ : (แบบ) น. ความเสื่อม, การทําลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).
  25. น้ำกาม : น. นํ้าเชื้อที่เกิดจากความกําหนัด แล้วเคลื่อนออกมาจากอวัยวะ สืบพันธุ์ของเพศชาย.
  26. น้ำแข็ง : น. นํ้าที่ถูกความเย็นจัดจนแข็งตัวเป็นก้อน.
  27. น้ำแข็งแห้ง : น. คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง เย็นจัด ลักษณะคล้ายนํ้าแข็ง ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําความเย็น; น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ไม่ใส่น้ำ.
  28. น้ำค้าง : น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  29. นำจับ : (กฎ) ก. นําความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทําการจับกุม ผู้กระทําความผิด.
  30. น้ำใจ : น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความจริงใจ, เช่น เห็นนํ้าใจ, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจพ่อ นํ้าใจแม่ นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้อเฟื้อ เช่น เขาไม่มีนํ้าใจ แล้งนํ้าใจ.
  31. น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  32. น้ำทรง : น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่ง รับนํ้า, นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจาก นํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง อาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
  33. น้ำนิ่งไหลลึก : (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
  34. น้ำพักน้ำแรง : น. แรงที่เกิดจากความมานะพยายามของตนเอง.
  35. น้ำมันเครื่อง : น. นํ้ามันประเภทหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างข้น ใช้สําหรับ หล่อลื่นเพื่อลดความเสียดทานระหว่างผิวโลหะ, ใช้ผสมกับนํ้ามัน เบนซินเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องยนต์เบนซินชนิด ๒ จังหวะ ก็ได้, นํ้ามันหล่อลื่น ก็เรียก.
  36. น้ำมันเตา : น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ใช้พ่นเข้าไปจุดเผาในเตาเพื่อ ให้ความร้อนแก่หม้อนํ้าเครื่องจักร.
  37. น้ำมันหม่อง : น. ยาที่ใช้ทาบรรเทาอาการขัดยอก หรือความเจ็บปวด เนื่องจากแมลงกัดต่อยเป็นต้น, ยาหม่อง ก็เรียก.
  38. น้ำมือ : น. มือของตัวแท้ ๆ; รสมือ; ความสามารถในการทํา เช่น บํารุง สินค้าให้เกิดมีขึ้นในประเทศโดยนํ้ามือของคนไทยเรา.
  39. น้ำยา ๒ : (ปาก) น. ความสามารถในทางใดทางหนึ่ง (มักใช้ในทาง ตําหนิ) เช่น ไม่มีนํ้ายา หรือ หมดนํ้ายา หมายความว่า ไม่มีสติปัญญา ความสามารถ หรือ หมดความสามารถ.
  40. น้ำลดตอผุด : (สํา) เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ.
  41. น้ำลายสอ : (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากกินจน นํ้าลายสอ.
  42. น้ำลายหก, น้ำลายไหล : (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากได้จนนํ้าลายหก.
  43. นำสมัย : ว. มีความคิดริเริ่มในการแต่งกายเป็นต้นก่อนสมัยนิยม.
  44. น้ำหนัก : น. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ, ความสําคัญ เหตุผล หรือพยาน หลักฐาน เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ.
  45. น้ำหน้า : น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้าอย่างนี้ทําไม่สําเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า; (โบ; กลอน) นํ้าตา เช่น นํ้าหน้าไล้กําลูน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  46. น้ำหนึ่งใจเดียวกัน : (สํา) ว. มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
  47. น้ำอดน้ำทน : น. ความอดทน.
  48. น้ำอัดลม : น. นํ้าที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่โดยใช้ความดัน อาจผสมนํ้าตาลหรือนํ้าผลไม้ ใช้เป็นเครื่องดื่ม.
  49. นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
  50. นิคม ๒ : น. คําประพันธ์ที่กล่าวย่อและซํ้าความเดิมเพื่อให้ผู้ฟังจําง่าย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3645

(0.1781 sec)