Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวเนื่อง, เนื่อง, เกี่ยว, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวเนื่อง, 3645 found, display 2351-2400
  1. รูปร่าง : น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก เป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.
  2. รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
  3. รู้เรื่อง : ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่ รู้เรื่อง.
  4. รู้หนเหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
  5. รู้เห็นเป็นใจ : ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
  6. รู้เหนือรู้ใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยาย หมายความว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือ หนใต้ ก็ว่า.
  7. เร้น : ก. หลบให้ลับตาคน, แฝง, เช่น เร้นกายเข้าไปในความมืด เร้นเข้าไป ในถ้ำไม่ให้คนเห็น, หลีกให้พ้นจากผู้คนเพื่อหาความวิเวก เช่น พระภิกษุหลีกไปเร้นอยู่ในป่า.
  8. เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
  9. เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
  10. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  11. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  12. เรียงหมอน : น. ชื่อดิถีเนื่องในพิธีส่งตัวบ่าวสาวเข้าหอ กําหนดตาม วันทางจันทรคติ.
  13. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  14. เรียน ๒ : ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.
  15. เรียนรู้ : ก. เข้าใจความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประสบการณ์.
  16. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  17. เรื่องสั้น : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่าโดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิก ความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.
  18. เรือนจำ : น. ที่ขังนักโทษและผู้ต้องหา; (กฎ) ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขัง ผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และหมายความรวมตลอดถึงที่อื่น ใดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กําหนดและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน.
  19. เรือนยอด : น. อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบ มณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอด เจดีย์ (ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา).
  20. เรื่อย, เรื่อย ๆ : ว. มีลักษณะอาการอันต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ เช่น ทำงานเรื่อยไม่ หยุดเลย เดินไปเรื่อย ๆ พูดไปเรื่อย ๆ; เฉื่อย, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดมา เรื่อย ๆ เขาเป็นคนเรื่อย ๆ.
  21. เรือรบ : น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถ ต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
  22. เรือลาดตระเวน : น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖,๐๐๐– ๒๐,๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่า เรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทาง อากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น.
  23. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  24. แรงงานและสวัสดิการสังคม : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การบริหารแรงงานการจัดหางาน การประชาสงเคราะห์ การพัฒนาฝีมือ แรงงาน การสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และการประกันสังคม.
  25. แรงเทียน : น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่างของแหล่งกําเนิดแสง, กําลังเทียน ก็ว่า.
  26. โรคจิต : น. โรคทางจิตใจที่มีความผิดปรกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมอย่างแรงถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ เช่น มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน, วิกลจริต ก็เรียก. (อ. psychosis).
  27. โรคจิตเภท : น. กลุ่มอาการของโรคทางจิตที่ทําให้ความคิด การรับรู้ อารมณ์ และบุคลิกภาพผิดปรกติ. (อ. schizophrenia).
  28. โรคประสาท : น. โรคทางจิตใจที่มีความกังวลเป็นอาการสําคัญ คนไข้อาจมีอาการแสดงออกเป็นความกังวล เช่น กลุ้มใจ เป็นอาการหงุดหงิด หรืออาจแสดงออกทางกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก เป็นลม กลัวที่สูง. (อ. neurosis).
  29. โรคสมอง : น. โรคที่ก่อให้เกิดความผิดปรกติใด ๆ แก่สมอง. (อ. cerebropathy).
  30. โรคาพยาธิ : [โรคาพะยาทิ] น. ความเจ็บไข้.
  31. โรคาพาธ : น. ความเจ็บไข้.
  32. โรงพยาบาล : น. สถานที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย คือทั้งตรวจ รักษา และป้องกันโรคให้แก่ประชาชน และมีเตียงสำหรับรับคนไข้เข้า พักรักษาตัวด้วย.
  33. โรมัน : น. ชื่อชนชาวยุโรปครั้งโบราณพวกหนึ่ง. ว. เนื่องด้วยชาตินั้น เช่น อักษรโรมัน เลขโรมัน. (อ. Roman).
  34. โรยรา : ก. น้อยไป, เสื่อมไป, เช่น ความรักโรยรา.
  35. โรษณะ : [โรดสะนะ] น. ความเคือง, ความแค้น. (ส.; ป. โรสน).
  36. ไร้ : ว. ขัดสน, ไม่มี, ปราศจาก, เช่น ไร้ทรัพย์ ไร้ความสามารถ.
  37. ฤดี : [รึ] น. รติ, ความยินดี, ใจ. (ป., ส. รติ).
  38. ฤดู : [รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
  39. ฤทัย : [รึไท] น. ใจ, ความรู้สึก. (กร่อนมาจาก หฤทัย). (ส. หฺฤทย; ป. หทย).
  40. ฤษี : [รึ] น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไป บําเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ).
  41. ฤๅชุตา : น. ความตรง, ความซื่อสัตย์.
  42. ฤๅดี : น. ฤดี, ความยินดี, ใจ.
  43. ฤๅทัย : น. ฤทัย, ใจ, ความรู้สึก.
  44. ฤๅษี : น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบําเพ็ญ พรตแสวงหาความสงบ.
  45. ฤๅษีแปลงสาร : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษร ข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มี ความหมายตรงกันข้าม.
  46. ลฆุภาพ : น. ความเบา, ความสะดวก, ความง่ายดาย. (ส. ลฆุภาว).
  47. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  48. ลงคอ : ว. อาการที่ทําสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้น โดยไม่ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบาก ลูกยังขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ.
  49. ลงคะแนน : ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
  50. ลงถม : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | [2351-2400] | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3645

(0.1974 sec)