Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวเนื่อง, เนื่อง, เกี่ยว, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวเนื่อง, 3645 found, display 2951-3000
  1. สักกายทิฐิ : น. ความยึดถือว่ากายหรือตัวเป็นของตน. (ป. สกฺกายทิฏฺ??).
  2. สัขยะ : [สักขะยะ] (แบบ) น. มิตรภาพ, ความสนิทสนมกัน, ความรักใคร่กัน. (ส.).
  3. สังกัปปะ : น. ความดําริ. (ป.).
  4. สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
  5. สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
  6. สังโขภ : [โขบ] (แบบ) น. ความปั่นป่วน เช่น ธาตุสังโขภ ว่า ความปั่นป่วน แห่งธาตุ. (ป.; ส. สํโกฺษภ).
  7. สังค, สังค์ : [สังคะ, สัง] น. ความข้องอยู่, การติดอยู่. (ป.; ส. สํค).
  8. สังคหะ : (แบบ) น. การรวบรวม; การย่อ; ความเกื้อกูล, ความเอื้อเฟื้อ; การ สงเคราะห์. (ป.; ส. สํคฺรห).
  9. สังฆการี : น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง.
  10. สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
  11. สังเวคะ : น. ความสลด. (ป., ส. สํเวค).
  12. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  13. สังสการ : [สะกาน] (โบ) น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ, ส่งสการ ก็ว่า เช่น รุดเร่งส่งสการ. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. สํสการ).
  14. สังสดมภ์ : น. ความแข็งทื่อ, การต้านทาน; เครื่องคํ้าจุน. (ส. สํสฺตมฺภ).
  15. สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
  16. สังสิทธิ : [สิดทิ] น. ความสําเร็จ, ความเรียบร้อย, ความดีเลิศ; ผลสุดท้าย. (ส. สํสิทฺธิ).
  17. สังสุทธ์, สังสุทธิ : [สุด, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด; การชําระ, การล้าง. (ส. สํศุทฺธ, สํศุทฺธิ).
  18. สังหรรษ : [หัด] น. ความเต็มตื้นด้วยความยินดี, ความปีติยินดี; ความเสียวซ่าน. (ส. สํหรฺษ).
  19. สังหาริมทรัพย์, สังหาริมะ : [หาริมะ, หาริมมะ] น. ทรัพย์ที่นําไปได้ เช่น แหวน สร้อย โต๊ะ เก้าอี้, คู่กับอสังหาริมทรัพย์; (กฎ) ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย.
  20. สัจกิริยา : [สัดจะ] น. การตั้งความสัตย์.
  21. สัจญาณ : [สัดจะ] น. ความรู้เรื่องแห่งความจริง, ในพระพุทธศาสนา ประสงค์เอาปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ. (ป. สจฺจ?าณ).
  22. สัจธรรม : [สัดจะทำ] น. ความจริงแท้ เช่น บรรลุสัจธรรม เข้าถึง สัจธรรม.
  23. สัจ, สัจ, สัจจะ : [สัด, สัดจะ] น. ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมี สัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).
  24. สัญเจตนา : [เจดตะนา] น. ความตั้งใจ, ความจงใจ.
  25. สัญชาต : [ชาตะ, ชาดตะ] ว. เกิดเอง เช่น สัญชาตสระ ว่า สระที่เกิดเอง. (ป.). สัญชาตญาณ [ชาดตะ] น. ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิดของคนและสัตว์ ทําให้มีความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน เช่น สัญชาตญาณในการป้องกันตัว สัญชาตญาณในการรวมหมู่, สัญชาตเวค ก็ว่า. (อ. instinct).
  26. สัญชาติ : [ชาด] น. ความเกิด, การเป็นขึ้น, ความอยู่ในบังคับ คืออยู่ในความ ปกครองของประเทศชาติเดียวกัน เช่น ฝรั่งถือสัญชาติไทย, โดยปริยาย หมายความว่า สันดาน เช่น สัญชาติพาล สัญชาติคางคก ยางหัวไม่ตก ก็ไม่รู้สึก. (ป. สญฺชาติ ว่า ความเกิด, การเป็นขึ้น); (กฎ) สถานะตาม กฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง. (อ. nationality).
  27. สัญญา : น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
  28. สัญญี : ว. มีความหมายรู้ได้, มีความรู้สึก, มีความระลึก, มีความจําได้. (ป.).
  29. สัญประกาศ : [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ใช้ขีดไว้ใต้คํา หรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
  30. สัณฐิติ : น. ความตั้งมั่น. (ป.; ส. สํสฺถิติ).
  31. สัตยวาที : น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ใน สัตยวาที. (ม. คําหลวงกุมาร). (ส. สตฺยวาทินฺ).
  32. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  33. สัตยาเคราะห์ : น. การยึดความจริงเป็นหลักการต่อสู้เพื่อความเป็น ธรรมในสังคม โดยใช้วิธีดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคําสั่ง ที่ไม่ยุติธรรม แต่ไม่ใช้วิธีรุนแรง. (ส. สตฺยาคฺรห).
  34. สัตยาธิษฐาน : น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺ?าน; ป. สจฺจ + อธิฏฺ?าน).
  35. สัตยาบัน : น. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้ กระทําขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรม นั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย + อาปนฺน).
  36. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  37. สัทธา : น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส. (ป.; ส. ศฺรทฺธา).
  38. สัทธาจริต : ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคน สัทธาจริตเชื่ออะไรง่าย. (ป.).
  39. สัทธินทรีย์ : น. ความมีใจเชื่อ, ความเลื่อมใส. (ป.).
  40. สันดาป : [ดาบ] น. ความเร่าร้อน, ความแผดเผา; การเผาไหม้; ชื่อนรกขุมหนึ่ง. (ป., ส.).
  41. สันโดษ : [โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือ
  42. สันตติ : [ตะติ] น. ความสืบต่อ เช่น สืบสันตติวงศ์. (ป.; ส. สํตติ ว่า ลูกหลาน).
  43. สันติ : น. ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. (ป.; ส. ศานฺติ).
  44. สันติบาล : น. ผู้รักษาความสงบ.
  45. สันติภาพ : น. ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกัน รักษาสันติภาพของโลก. (ป. สนฺติ + ภาว).
  46. สันติวิธี : น. วิธีที่จะก่อให้เกิดความสงบ เช่น เจรจาสงบศึกโดยสันติวิธี.
  47. สันติสุข : น. ความสุขที่เกิดจากความสงบ เช่น รัฐบาลบริหารประเทศ เพื่อสันติสุขของประชาชน.
  48. สันถวไมตรี : น. ความเป็นมิตรสนิทสนมกัน เช่น ต้อนรับด้วย สันถวไมตรี ทูตสันถวไมตรี.
  49. สันถว, สันถวะ : [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน; ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).
  50. สันนิษฐาน : [นิด] ก. ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน. (ป. สนฺนิฏ?าน ว่า ลงความเห็นในที่สุด).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | [2951-3000] | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3645

(0.0876 sec)