Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไป , then ไบ, ไป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไป, 3760 found, display 1301-1350
  1. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  2. ถึงกัน : ก. ติดต่อไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ เช่น นาย ก กับ นาย ข เขาถึงกัน.
  3. ถึงแก่กรรม : ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคําพูดที่สุภาพ), ถึงมรณกรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
  4. ถึงคราว : ก. ถึงกําหนดจะเป็น เช่น ถึงคราวมีบุญ ถึงคราวตกอับ, ถ้าใช้ตามลําพัง มักหมายไปในทางไม่ดี เช่น เขาถึงคราวแล้ว.
  5. ถึงเป็นถึงตาย : ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้ กันอย่างถึงเป็นถึงตาย.
  6. ถือดี : ก. ทะนงตัว, อวดดี, สําคัญว่ามีดีในตน, (มักเป็นไปในเชิงก้าวร้าว คนอื่นเป็นต้น).
  7. ถือท้าย : ก. ทําหน้าที่บังคับเรือให้แล่นไปตามทิศทาง; โดยปริยาย หมายความว่า เข้าข้าง เช่น ถือท้ายเด็ก; ควบคุม เช่น ถือท้ายรัฐนาวา.
  8. ถือบังเหียน : ก. มีอํานาจบังคับให้เป็นไปตามต้องการ.
  9. ถือวิสาสะ : ก. ถือว่าสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ถือวิสาสะหยิบหนังสือ เพื่อนไปโดยไม่บอก.
  10. ถู : ก. สี เช่น ถูขี้ไคล ถูฟัน ถูเนื้อถูตัว, เช็ดโดยวิธีใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งไถไป ไถมาให้สะอาด เช่น ถูบ้าน.
  11. ถูกกระทำ : ก. ถูกทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ โดยวิธีใช้เวทมนตร์เป็นต้น.
  12. ถูไถ : ก. แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้ เช่น พอถูไถไปได้, ยังใช้ได้ ก็ทนใช้ไป เช่น ยังใช้ถูไถไปได้ ใช้ถูไถมานาน.
  13. ถูลู่ถูกัง : ก. อาการที่ลากดึงหรือฉุดไปให้ได้โดยไม่ปรานีปราศรัย; ถูไถ เช่น ถูลู่ถูกังใช้ไปก่อน.
  14. เถรตรง : (สํา) ว. ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผัน สั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา.
  15. เถร, เถร-, เถระ : [เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกําหนดว่า พระมีพรรษา ตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).
  16. เถรภูมิ : [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุ เป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
  17. เถลไถล : [ถะเหฺลถะไหฺล] ว. ไม่ตรงไปตรงมาเที่ยวแวะโน่นแวะนี่.
  18. เถลิก : [ถะเหฺลิก] ว. เถิก, เลิกขึ้นไป, เช่น ขากางเกงเถลิกขึ้นไป.
  19. เถอะน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
  20. เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
  21. เถาดาน : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นลําแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้ว ลามลงไปถึงท้องน้อย ทําให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
  22. เถิก : ว. เถลิก, ลักษณะของหน้าผากที่ผมถอยร่นสูงขึ้นไปหรือขึ้นอยู่สูงกว่า ปรกติ.
  23. เถิดน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถิดน่า, เถอะน่า ก็ว่า.
  24. เถือ : ก. เชือดเฉือนลงไปอย่างแรงด้วยของมีคม เช่น หนังเหนียวเถือไม่เข้า.
  25. เถือก : ว. ดาษไป, ทั่วไป, (ใช้แก่สีแดง ในคําว่า แดงเถือก); จ้า, โพลง, พราว, เช่น เถือกถ่อง เถือกทินกร.
  26. แถ ๑ : ก. อาการที่นกเป็นต้นเอียงปีกร่อนลง, อาการที่ของแบน ๆ เช่นกระเบื้อง หรือรูป แฉลบหรือร่อนไปเฉียง ๆ, โดยปริยายเรียกอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วัน ๆ ไม่เห็นทำการทำงานได้แต่แถไปโน่นไปนี่.
  27. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  28. แถบ : ว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไป แถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่น–พายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.
  29. ไถ ๑ : น. เครื่องมือทําไร่ทํานาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันชัก หางยาม ผาล หัวหมู ใช้ควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน, คันไถ ก็ว่า. ก. เอาไถเทียมควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน; เคลื่อนไปไถลไป เช่น นั่งไม้ลื่นไถลงมา; (ปาก) ขอร้องแกมบังคับ, รีดไถ.
  30. ไถ่ ๑ : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อถอนคืนทรัพย์สินที่จํานําไว้; ซื้อทรัพย์สินที่ขาย ฝากไว้คืนภายในกําหนดเวลา; ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลก เปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
  31. ไถกลบ : ก. ไถให้ดินปิดทับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านลงไปเมื่อไถแปรเสร็จ แล้ว (ใช้แก่การทํานาหว่าน).
  32. ไถดะ : ก. ไถตะลุยไปในการไถครั้งแรก.
  33. ไถล : [ถะไหฺล] ก. ลื่นไปไม่ตรงทาง. ว. เชือนแช, ไม่ตรงไปตรงมา.
  34. ทดแทน : ก. ตอบแทน, ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป.
  35. ทดรอง : ก. ออกเงินหรือทรัพย์รองจ่ายไปก่อน.
  36. ทดเลข : ก. ยกจํานวนเลขครบสิบไปไว้เพื่อบวกกับผลของหลักหน้า.
  37. ท้น : ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวม เสื้อคับจนเนื้อท้น.
  38. ทยอย ๑ : [ทะ-] ว. หย่อย ๆ กันไปไม่ขาดระยะ, อาการที่ไปหรือมาทีละน้อย.
  39. ทแยงมุม : ว. เฉียงจากมุมหนึ่งไปยังมุมตรงข้าม.
  40. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  41. ทรงมัณฑ์ : [ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คําว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคํา มณฑป).
  42. ทรหวล : [ทอระ-] (กลอน) ว. พัดหอบเอาไป.
  43. ทรเหล : [ทอระเหน] (กลอน) น. ความลําบากในการเดินทางไป เช่น เขาก็บอกความทุกข์ทรเหล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  44. ทราบเกล้าทราบกระหม่อม : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านาย ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), ใช้ย่อว่า ทราบเกล้าฯ.
  45. ทราบฝ่าพระบาท : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้น พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า).
  46. ทรายขาว : [ซาย-] น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Scolopsis วงศ์ Nemipteridae ลำตัวสั้น รูปไข่ แบนข้าง ปากเล็ก ไม่มีฟันเขี้ยว มีหนามแหลม อยู่บริเวณใต้ตา ปลายชี้ไปทางด้านหลัง เช่น ชนิด S. cancellatus, S. dubiosus.
  47. ทรุด : [ซุด] ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกําลัง ต้านทานไม่พอ เช่น กําแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกําลัง ทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด.
  48. ทรุดโทรม : ว. เสื่อมไปเพราะร่วงโรย ครํ่าคร่า หรือตรากตรําเกินไป.
  49. ทรู่ : [ซู่] (กลอน) ก. ลากไป, คร่าไป.
  50. ท้วง : ก. พูดเป็นทํานองไม่เห็นด้วย; พยุง, ประคอง, พา, เช่น ท้วงตน หนีไปได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3760

(0.1382 sec)