Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไป , then ไบ, ไป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไป, 3760 found, display 1551-1600
  1. นิยยานิก : [นิยะยานิกะ] (แบบ) ว. ที่นําออกไปจากทุกข์ เช่น นิยยานิกธรรม คือ ธรรมที่นําสัตว์ออกจากทุกข์. (ป., ส. นิรฺยาณิก).
  2. นิรนัย : [–ระไน] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดําเนินจากส่วนรวมไปหาส่วน ย่อย, คู่กับอุปนัย. (อ. deduction).
  3. นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
  4. นิรัติศัย : [รัดติไส] (แบบ) ว. พิเศษยิ่ง, ประเสริฐยิ่ง. (ส. นิรฺ + อติศย). นิรันดร, นิรันตร [รันดอน, รันตะระ] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
  5. นิรา : (กลอน) ก. ไปจาก. ว. ไม่มี. (ส. นิรฺ).
  6. นิราศ ๑ : [ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึง การจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือ โคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.).
  7. นิ้ว : น. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลําดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต. นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น (สํา) น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.
  8. นิวเคลียส : น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วน ย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่น ไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
  9. นึกไม่ถึง : ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้า มาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
  10. นึกเห็น : ก. นึกเอาเองเห็นไปต่าง ๆ นานา.
  11. นุ่งผ้าโจงกระเบน : ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้น ไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว.
  12. นูน : ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
  13. นู่น : (ปาก) ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลออกไป.
  14. นู้น : (ปาก) ว. ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลออกไป.
  15. เนรเทศ : [ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ) ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง การออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศ ตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).
  16. เน้อ : ว. คําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ.
  17. เนา ๑ : ก. เย็บห่าง ๆ พอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป.
  18. เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
  19. เนื้อเต่ายำเต่า : (สํา) ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับ ไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม. เนื้อถ้อยกระทงความ น. ถ้อยคําที่ได้เรื่องได้ราวเข้าใจได้ชัดเจน, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.
  20. เนื้อผ้า : (สำ) น. ความจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.
  21. เนือย, เนือย ๆ : ว. เฉื่อย, ช้าลง, อ่อนลง, เช่น ดูเนือยลงไป นํ้าไหลเนือย ๆ; ไม่กระปรี้ กระเปร่า เช่น ทํางานเนือย ๆ, ไม่ประเปรียว เช่น แก่แล้วชักเนือย.
  22. แน่ ๑ : ว. แท้, จริง, ไม่เป็นอื่น, เช่น ทําแน่ ไปแน่; เก่ง, มีฝีมือดี, เช่น คนนี้ มือแน่มาก.
  23. แน่ ๒, แน่นิ่ง : ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, นิ่งแน่ ก็ว่า.
  24. แนบ : ก. แอบชิด, แอบเคียง, เช่น แนบข้าง แนบกาย แนบเนื้อ; ติดไปด้วย เช่น ได้แนบสําเนาจดหมายมาด้วยแล้ว.
  25. แนม : ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกม แนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้ แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริก มีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.
  26. แนว : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทาง ยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.
  27. แน่ว : ว. ตรงดิ่งไปยังที่หมายไม่แวะเวียน เช่น วิ่งแน่วกลับไป, ไม่วอกแวก เช่น ใจแน่ว.
  28. แนวโน้ม : น. แนวทางที่น่าจะเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง.
  29. แนวป่า : น. ชายป่าที่เห็นเป็นทิวยาวไป.
  30. แนวเรือ : น. รอยต่อของกระดานเรือที่เห็นเป็นทางยาวไป.
  31. แนะ : ก. ชี้แนวทางหรือวิธีการให้รู้โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น แนะให้ไปหา หมอ แนะให้รู้เป็นนัย ๆ.
  32. โน่น : ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลออกไป เช่น ที่โน่นมีอากาศดี.
  33. โน้น : ว. ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลออกไป เช่น บ้านโน้นมีงานรื่นเริง.
  34. ไนลอน : น. สารประกอบอินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักผลิต ให้เป็นเส้นใยเล็ก ๆ ซึ่งนําไปฟั่นเป็นเส้นด้ายหรือเส้นเชือกที่มีความ เหนียวมาก หรือนําไปทอเป็นผ้าได้, เรียกสิ่งที่ทําจากเส้นใยนั้น เช่น ผ้าไนลอน เชือกไนลอน. (อ. nylon).
  35. ไนโอเบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปเจือเหล็กกล้าไม่เป็น สนิม เพื่อทําให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี. (อ. niobium).
  36. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  37. บทจร : [บดทะ-] (กลอน) ก. เดินไป. (ป.).
  38. บทวาร : [บดทะวาน] (แบบ) น. ชั่วก้าวเท้า, ระยะก้าวเท้า, เช่น ทางเล็ก ควรบทวารผู้หนึ่งจะพึงไป. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  39. บ่มผิว : ก. ทําให้ผิวงามด้วยการอยู่ในที่ซึ่งไม่ถูกแดดถูกลมจนเกินไป.
  40. บรรณาการ : [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
  41. บรรทุก : [บัน-] ก. วางไว้ ใส่ลง หรือบรรจุลงบนยานพาหนะเป็นต้นเพื่อขนย้าย ไปทีละมาก ๆ, ประทุก ก็ใช้ โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น
  42. บรรพบุรุษ : ( น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคล ที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป.
  43. บรากรม : [บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).
  44. บราลี : [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
  45. บริกรม : [บอริกฺรม] (แบบ) ก. เดินไป, ผ่านไป, พ้นไป, จากไป. (ส. ปริกฺรม).
  46. บริคณห์สนธิ : (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท จํานวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของ กฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
  47. บริพัตร : [บอริพัด] ก. หมุนเวียน, เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป; สืบสาย. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
  48. บริโภค : [บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
  49. บวก : ก. เอาจํานวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจํานวนหนึ่งหรือหลายจํานวนให้ เป็นจํานวนเพิ่มขึ้นจํานวนเดียวกัน, เพิ่มเติมเข้าไป. ว. ที่เป็นไป ในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก; ในทางคณิตศาสตร์เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ว่า จำนวน
  50. บ่วงบาศ : น. บ่วงสําหรับโยนไปคล้อง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | [1551-1600] | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3760

(0.1918 sec)