Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไป , then ไบ, ไป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไป, 3760 found, display 2351-2400
  1. ไม้ล้มลุก ๑ : น. ไม้ ๒ ขาสำหรับกว้านของหนักขึ้นไปไว้บนที่สูง เช่น เอาไม้ล้มลุกกว้าน พระบรมโกศขึ้นบนเกริน.
  2. ไม้ลื่น : น. กระดานที่ตั้งสูงทอดต่ำลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, กระดานลื่น ก็เรียก.
  3. ไม้สั้นไม้ยาว : น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จํานวนเท่าคนที่จะจับ กําปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้.
  4. ไม้เส้า : น. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา; ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ; ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้; ไม้ส้าว ก็ว่า.
  5. ไม้หมุน : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งทําเป็นไม้แป้นกลม ๆ เขียนแบ่งเป็นช่อง มีเข็มชี้วางตามแบน ใช้หมุน เมื่อเข็มชี้ไปหยุดตรงช่องที่แทง ก็ถูก; เรียก ไม้กลม ๆ สําหรับปาดปากสัดข้าวว่า ไม้หมุน.
  6. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  7. ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน : (สํา) ว. โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือน ไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง).
  8. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  9. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ : (สํา) ว. ด่วนทําไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.
  10. ไม้เอนชาย : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีต้นเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เหมือนไม้ที่อยู่ริมน้ำ.
  11. ยก ๑ : ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหม ชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
  12. ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
  13. ยกครู : ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  14. ยกเค้า : ก. เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; (ปาก) ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า.
  15. ยกฟ้อง : (กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคําฟ้อง ของโจทก์.
  16. ยกภูเขาออกจากอก : (สํา) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่ หนักอกหนักใจให้หมดไป.
  17. ยกยอด : ก. ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นใน คราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง.
  18. ยกยอปอปั้น : (ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขา ไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง.
  19. ยกเลิก : ก. เพิกถอน, ไม่ใช้ต่อไป.
  20. ยกเหลี่ยม : ก. ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยม อกเลาของบานประตู.
  21. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  22. ยถากรรม : [ยะถากํา] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม).
  23. ยมทูต : น. ผู้นําคนตายไปยังบัลลังก์พระยมเพื่อรอคําตัดสิน. (ป., ส.).
  24. ย้วย : ก. เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทําให้ยาวยื่นเกินไป เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย, ให้บิดไปบิดมา โค้งไปโค้งมา เสี้ยวไป เฉไปเฉมา เช่น แถวย้วย แม่น้ำย้วย.
  25. ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  26. ยอกย้อน : ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมี เงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดี ยอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
  27. ย้อน : ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.
  28. ย้อนต้น : ก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือ ย้อนต้น.
  29. ย้อนเนื้อ : ว. ลักษณะไม้ที่ไม่มีตา แต่เนื้อทวนไปทวนมา เลื่อยหรือไสกบ ได้ยาก มักเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งิ้ว เรียกว่า ไม้ย้อนเนื้อ.
  30. ย้อนศร : ก. ไปทวนเครื่องหมายลูกศร เช่น ขับรถย้อนศร.
  31. ย้อนหลัง : ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง.
  32. ยอม : ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอม ตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทําได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.
  33. ย้อม : ก. ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี, ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วย การชุบลงไปในน้ำสี.
  34. ยะ ๒ : ว. คําออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ.
  35. ยะย้าย : (กลอน) ก. ยักย้าย, ย้ายไปมา.
  36. ยักกระสาย : (ปาก) ก. เปลี่ยนน้ำกระสายยาไปตามอาการของโรค, โดย ปริยายหมายความว่า เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือวิธีอื่นแทน.
  37. ยักคอ : ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการ รำไทยอย่างหนึ่ง.
  38. ยักเงี่ยง : ก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือ ข้ามห้วย.
  39. ยักยอก : ก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดย ทุจริต, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบัง เอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความ ครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก.
  40. ยักย้าย : ก. เปลี่ยนที่เสีย หรือนําไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี.
  41. ยักเยื้อง : ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้อง ไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทํายักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
  42. ยักเอว : ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  43. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  44. ยั้ง : ก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.
  45. ยังแล้ว : (กลอน) ว. อยู่แล้ว, ให้เสร็จไป.
  46. ยัชโญปวีต : [ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรํา หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).
  47. ยัน ๒ : ก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.
  48. ยับยั้งชั่งใจ : ก. คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป.
  49. ยับยาบ : ก. โบกหรือกระพือขึ้นลงไปมาช้า ๆ, ยาบ ๆ ก็ใช้.
  50. ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | [2351-2400] | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3760

(0.1452 sec)