Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไป , then ไบ, ไป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไป, 3760 found, display 2951-3000
  1. เลี่ยม ๑ : ก. ใช้โลหะเช่นทองคํา ทองเหลือง ตะกั่ว หุ้มโดยรอบที่ปลาย หรือ หุ้มเป็นแนวไปตามริม ขอบ หรือปากของสิ่งต่าง ๆ มีถ้วยชามเป็นต้น แล้วกวดให้แนบสนิทเพื่อทําให้แข็ง กันสึก กันบิ่น ปกปิดตําหนิ หรือ เพื่อความงาม เช่น เลี่ยมหัวตะพด เลี่ยมป้าน เลี่ยมถ้วย.
  2. เลี้ยว : ก. หักแยก โค้ง หรือคดเคี้ยวไปจากแนวตรง เช่น เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา. น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง เช่น เลยเลี้ยวแรกไป ๕๐ เมตรก็ถึงที่พัก, หัวเลี้ยว ก็ว่า.
  3. เลี้ยวลด : ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตาม ไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด, ลดเลี้ยว ก็ว่า.
  4. เลือก ๑ : ก. คัดสิ่งที่มีจํานวนมากกว่าหนึ่งขึ้นไปเพื่อเอาไว้หรือเอาออกตาม ต้องการ เช่น เลือกผู้ใหญ่บ้าน เลือกหัวหน้าชั้น.
  5. เลือดแรง : น. ลูกที่มีลักษณะเด่นในทางกรรมพันธุ์ไปทางพ่อหรือ แม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น พ่อขี้ริ้ว แม่สวย ถ้าลูกขี้ริ้ว ก็แสดงว่า เลือดพ่อแรงกว่า ถ้าลูกสวย ก็แสดงว่า เลือดแม่แรงกว่า.
  6. เลือดอุ่น : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถคงอุณหภูมิของร่างกาย ไว้ได้โดยไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นคน นก เรียกว่า สัตว์เลือดอุ่น.
  7. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  8. เลื่อนที่ : ก. เปลี่ยนที่, ได้ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงไปกว่าเก่า.
  9. เลือนราง : ว. ไม่ชัดเจน, พอระลึกได้บ้าง, เช่น ความจำชักเลือนราง ไปบ้างแล้ว ตาไม่ดีมองเห็นภาพเลือนราง.
  10. เลือน, เลือน ๆ : ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
  11. เลื้อย : ก. ทอดวกเวียนไป (ใช้แก่ไม้เถา), เสือกไปด้วยอก (ใช้แก่สัตว์ไม่มีตีน ตัวยาว) เช่น งูเลื้อย ไส้เดือนเลื้อย.
  12. แลก : ก. เอาสิ่งหนึ่งให้ไปเพื่อได้สิ่งหนึ่งที่ต้องการมา เช่น แลกเชลย แลกกล้วยไม้ นักกีฬาแลกธงกัน, ซื้อของด้วยของ เช่น เอาน้ำมัน แลกข้าว.
  13. แล็กเกอร์ : น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุให้เป็นเงา มันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) บิวทิลแอซิเทต (butyl acetate) และ ตัวถูกละลาย เช่น ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin) เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้ง ไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุเป็น เงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้นโลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
  14. แลกเงิน : ก. เอาเงินตราหน่วยใหญ่ไปแลกเป็นเงินปลีกหรือหน่วยย่อย, แตกเงิน ก็ว่า, แลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลกัน เช่น แลกเงินดอลลาร์ เป็นเงินบาท.
  15. แลกหมัด : ก. ชกโต้ตอบกันไปมา.
  16. แล่น ๑ : ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่นเร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชานแล่น ถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
  17. แล่นก้าว : ก. แล่นเรือใบเฉียงไปเฉียงมาแบบสลับฟันปลาเพื่อให้ถึง จุดหมายซึ่งอยู่ทางด้านต้นลม, แล่นทวนลม ก็ว่า.
  18. แล่นตามลม : ก. แล่นเรือใบไปตามทิศทางลมเพื่อให้ถึงจุดหมาย ซึ่งอยู่ในทิศทางเดียวกับลม.
  19. แล่นทวนลม : ก. แล่นเรือใบเฉียงไปเฉียงมาแบบสลับฟันปลาเพื่อ ให้ถึงจุดหมายซึ่งอยู่ทางด้านต้นลม, แล่นก้าว ก็ว่า.
  20. แล่นใบบนบก : (สำ) ก. คิดทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.
  21. แลบ : ก. เหลื่อมหรือทําให้เหลื่อมออกจากที่เดิม (มักใช้แก่ของแบน ๆ) เช่น แขนเสื้อชั้นในแลบ แลบลิ้น; เป็นแสงแวบ ๆ ออกไป เช่น ฟ้าแลบ ไฟแลบ.
  22. แล้ว : ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กิน แล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
  23. แล้วไป : (ปาก) ก. เสร็จสิ้นไป, ช่างปะไร, (มักพูดแสดงความไม่พอใจ) เช่น ไม่ทำก็แล้วไปให้กินแล้วไม่กินก็แล้วไป.
  24. โล้ : ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง ทะเล ว่า เรือโล้.
  25. โลกาภิวัตน์ : น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลก ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจาก สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนา ระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
  26. โลกียวัตร : น. ความเป็นไปของสามัญชน. (ป. โลกิย + วตฺต).
  27. โล้ชิงช้า : ก. ยืนบนชิงช้าแล้วใช้มือโหนเชือกโยกตัวให้ชิงช้าแกว่ง โยนไปมา.
  28. โลดลิ่ว : ก. อาการที่ไปอย่างเร่งรีบ.
  29. โลดแล่น : ก. อาการที่กระโดดวิ่งถลาไปด้วยความตื่นเต้นดีอกดีใจเป็นต้น.
  30. โลน ๑ : ว. อาการที่แสดงกิริยาวาจาหยาบคายไปในทางลามก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ หยาบ เป็น หยาบโลน เช่น แสดงกิริยาโลน พูดจาหยาบโลน.
  31. โลน ๒ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis ในวงศ์ Pediculidae ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
  32. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  33. ไล่ขับ : ก. วิ่งตามเพื่อให้ทัน เช่น เด็กวิ่งไล่ขับกันมาบนถนน; บังคับ ให้ออกไปให้พ้น เช่น ไล่ขับคนร้ายออกไปจากบ้าน.
  34. ไล่ต้อน : ก. ไล่สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ เช่น ไล่ต้อนเป็ดเข้าเล้า สุนัขไล่ต้อนฝูงแกะ นักมวยไล่ต้อนคู่ชกให้เข้ามุม.
  35. ไล่ตะเพิด : ก. ออกเสียงไล่ให้หนีไป.
  36. ไล่ที่ทำวัง : (สํา) ก. บังคับให้ย้ายไปให้พ้นเพื่อตนจะเข้าไปอยู่.
  37. ไล่นิ้ว : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีประเภทเครื่องสีเครื่องดีดจากเสียงต่ำ ไปหาสูงหรือจากเสียงสูงไปหาต่ำเพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
  38. ไล่เบี้ย : ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
  39. ไล่เปิด : (ปาก) ก. ไล่ให้หนีไป.
  40. ไล่ราว : ก. ล่าสัตว์ด้วยวิธีตีเกราะเคาะไม้ให้สัตว์ตกใจวิ่งกระเจิด กระเจิงไปตามทางที่ผู้ล่าต้องการ.
  41. ไลลา : (กลอน) ก. ไปมา, เยื้องกราย.
  42. ไล่ส่ง : ก. ไล่ไปให้พ้น.
  43. ไล่สี : ก. เกลี่ยสีให้เสมอกันในการระบายสี ระบายสีให้เป็นไป ตามลำดับของสีจากสีอ่อนไปหาแก่หรือจากสีแก่ไปหาอ่อน.
  44. ไล่เสียง : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียง สูงไปหาต่ำ เพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
  45. วกวน : ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
  46. วงกลม : น. รูปวงที่กลม รอบมีรัศมีจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบมี ขนาดเท่ากันหมด; (คณิต) รูปที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซต หนึ่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะเท่ากัน.
  47. วงจร : (ไฟฟ้า) น. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไปครบรอบ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วงจรชีวิต.
  48. วงจรชีวิต : น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มี พัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่ กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ.
  49. วงรี : น. รูปวงที่กลมเรียวอย่างลูกสมอหรือเมล็ดข้าวสาร; (คณิต) รูปคล้ายรูปไข่ที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซตหนึ่ง โดยผลบวก ของระยะจากจุดแต่ละจุดไปยังจุดตรึงอยู่กับที่ ๒ จุด มีค่าคงตัว เสมอ.
  50. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | [2951-3000] | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3760

(0.0863 sec)