Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตุ่น , then ตน, ตุ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตุ่น, 385 found, display 101-150
  1. ถือหาง : ก. เข้าทางฝ่ายที่ตนพอใจ. (มาจากภาษาชนไก่ ยึดเอาไก่ตัวใด ตัวหนึ่งในการต่อรอง).
  2. ทนม : [ทะนม] (กลอน) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกสอนตน. (ป., ส. ทมน).
  3. ทมก : [ทะมก, ทะมะกะ] (แบบ) น. ผู้ทรมาน, ผู้ฝึกตน. (ป.).
  4. ทมนะ : [ทะมะนะ] (แบบ) น. การทรมาน, การข่ม, การฝึกสอนตน, การปราบ. (ป., ส.).
  5. ทมะ : [ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา, การปรับไหม. (ป., ส.).
  6. ทรราช : น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความ เดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
  7. ทวง : ก. เรียกเอาสิ่งที่เป็นของตนหรือที่ติดค้างกลับคืน เช่น ทวงหนี้ ทวงเงิน ทวงค่าเช่า, เรียกร้องเอาสิ่งที่จะพึงมีพึงได้ เช่น ทวงสิทธิ ทวงบุญทวงคุณ.
  8. ท้วง : ก. พูดเป็นทํานองไม่เห็นด้วย; พยุง, ประคอง, พา, เช่น ท้วงตน หนีไปได้.
  9. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  10. ทับสิทธิ์ : ก. ไม่ยอมใช้สิทธิ์ของตน, สละสิทธิ์, นอนหลับทับสิทธิ์ ก็ว่า.
  11. ทัฬหิกรณ์ : [ทันหิกอน] น. เครื่องทําให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชัก มาอ้างเพื่อให้คําพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
  12. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  13. ทำนาบนหลังคน : (สํา) ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น.
  14. ทิคัมพร : [-พอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตน เป็นคนเปลือย, คู่กับ นิกายเศวตัมพร. (ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า).
  15. โทษกรณ์ : [โทดสะกอน] (กลอน) น. โทษ, อาชญา, เช่น รู้สึกซึ่ง โทษกรณ์ ตนผิด. (นิทราชาคริต).
  16. ธนาคารโลก : น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและ วิวัฒนาการ ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน.
  17. ธรรมรัตน์ : น. แก้วคือธรรม. (ส.; ป. ธมฺมรตน).
  18. ธรรมายตนะ : [ทํามายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
  19. นกรู้ : (สํา) น. ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน.
  20. นกสองหัว : (สํา) น. คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน.
  21. นอนหลับทับสิทธิ์ : ก. ไม่ใช้สิทธิ์ที่ตนมีอยู่เมื่อถึงคราวจะใช้, ทับสิทธิ์ ก็ว่า.
  22. น้อม : ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็น การแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ.
  23. นักท่องเที่ยว : (กฎ) น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดย ปรกติของตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และ ด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้.
  24. นั่งราว : ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจําที่ บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
  25. นามปากกา : น. ชื่อแฝงที่นักเขียนหรือนักประพันธ์ใช้แทนชื่อจริง ของตน.
  26. นายคลังสินค้า : (กฎ) น. บุคคลผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จ เป็นทางค้าปรกติของตน.
  27. นายเวร : ( น. นายตํารวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่ มีตําแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงาน ในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
  28. น้ำท่วมปาก : (สํา) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
  29. นิวัต, นิวัตน์ : [วัด] (แบบ) ก. กลับ. (ป. นิวตฺต, นิวตฺตน).
  30. เนรเทศ : [ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ) ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง การออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศ ตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).
  31. ในไส้ : (ปาก) ว. เรียกลูกที่เกิดจากตนว่า ลูกในไส้.
  32. บดีพรต, บดีวรดา : น. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัว แก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่า นั้น (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).
  33. บริษัทจำกัด : ( (กฎ) น. บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินจํานวน เงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  34. บังฟัน : ก. ใช้เวทมนตร์ไปทําร้ายผู้อื่นด้วยวิธีเอาดาบเป็นต้นฟันสิ่ง ที่สมมุติเป็นตัวผู้ที่ตนประสงค์จะทําร้าย เพื่อให้เกิดผลเป็นทํานอง เดียวกันแก่ผู้นั้น.
  35. บังหน้า : ก. นําชื่อบุคคลเป็นต้นมาอ้างเพื่อประโยชน์ตนโดยเจตนา ให้ผู้อื่นหลงผิด; ทํากิจการอย่างหนึ่งเพื่ออําพรางกิจการอีกอย่างหนึ่ง.
  36. บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน : (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
  37. บำเพ็ญ : ก. ทําให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บําเพ็ญบุญ บําเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บําเพ็ญตนให้เป็น ประโยชน์ บําเพ็ญพรต.
  38. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  39. บุตรบุญธรรม : [บุดบุนทํา] (กฎ) น. บุตรของผู้อื่นที่บุคคลได้จด ทะเบียนรับเป็นบุตรของตน.
  40. บุริมสิทธิ : [บุริมมะสิด] (กฎ) น. สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับ ชําระหนี้อันค้างชําระแก่ตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้ สามัญ.
  41. เบี้ยประกันภัย : (กฎ) น. จํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์ หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความ เสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
  42. เบี้ยปรับ : (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็น จํานวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระ หนี้ หรือไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษี อากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่ ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
  43. แบกหน้า : (สํา) ก. จําใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคย ทําไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้า กลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).
  44. โบนัส : น. เงินพิเศษที่รัฐวิสาหกิจ องค์การ บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น จ่ายให้ เป็นบําเหน็จรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตน นอกเหนือจาก เงินเดือนค่าจ้าง, เงินที่ให้เป็นส่วนแบ่งพิเศษแก่ผู้ถือหุ้น. (อ. bonus).
  45. ประจบสอพลอ : ก. ประจบประแจงผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะ สูงกว่าด้วยการกล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเป็นต้นเพื่อประโยชน์ของตน.
  46. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  47. ประชาทัณฑ์ : น. การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทําร้าย เป็นการลงโทษบุคคล ที่ตนเข้าใจหรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดําเนินการตามกระบวนการ ยุติธรรม.
  48. ประบาต : น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน).
  49. ประปราน : น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน). ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย,
  50. ประพฤติ : [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-385

(0.0303 sec)