Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตุ่น , then ตน, ตุ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตุ่น, 385 found, display 351-385
  1. อยู่อาสา : (โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็ง และประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).
  2. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  3. อวดดี : ก. ทะนงใจว่าตนดี, ถือดี, แสดงให้เขาเห็นว่าตนดีโดยไม่มีดี จริง ๆ.
  4. อวดรู้ : ก. แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนรู้ เช่น เขาชอบอวดรู้ทุกเรื่อง.
  5. อเวจี : น. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสําหรับลงโทษ แก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.
  6. ออ ๒ : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  7. อัต : [อัดตะ] น. ตน, ตัวเอง. (ป. อตฺต; ส. อาตฺมนฺ).
  8. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  9. อัตโนมัติ : [อัดตะ] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลําพังตน, เช่นในคําว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทําหน้าที่ได้ใน ตัวเอง, มีกลไกทําหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
  10. อัตภาพ : น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).
  11. อัตหิต : [หิตะ] น. ประโยชน์ตน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ประโยชน์ เป็น อัตหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. (ป. อตฺตหิต).
  12. อัตเหตุ : [เหด] ว. เพราะตนเป็นเหตุ; เห็นแก่ตัว. (ป. อตฺตเหตุ).
  13. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  14. อาณาประโยชน์ : น. ผลประโยชน์ส่วนตัวจากการที่ตนมีอํานาจ ปกครอง.
  15. อาตม : [อาดตะมะ] น. ตน, ตัวตน. (ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา ว่า ตน, วิญญาณ, ร่างกาย; ป. อตฺต, อตฺตา).
  16. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  17. อาลปน์, อาลปนะ : [อาลบ, อาละปะนะ] น. การพูด, การสนทนา, การเรียก, การทักทาย; ในไวยากรณ์ หมายถึง คําที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น ''นายแดง แกจะไปไหน'' คํา ''นายแดง'' เป็นอาลปนะ. (ป., ส.).
  18. อาวาห, อาวาหะ : [อาวาหะ] น. ''การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน'' หมายถึง การ แต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยม ปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).
  19. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  20. อุดมคติ : [อุดมมะ, อุดม] น. จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน แห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน.
  21. อุทลุม : [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียก ลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใด เปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมา ฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวน มันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).
  22. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  23. อุปัชฌายวัตร : [อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริก จะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
  24. อุ้มสม : ก. อุ้มไปให้สมสู่กัน (ในวรรณคดีใช้แก่การที่เทวดาอุ้ม พระเอกไปให้สมสู่กับนางเอกที่ตนเห็นว่าคู่ควรกัน), (สํา) เปรียบเทียบคู่ผัวเมียที่เหมาะสมกันว่า ราวกับเทวดาอุ้มสม.
  25. เอกราช : [เอกกะราด] ว. เป็นอิสระแก่ตน, ไม่ขึ้นแก่ใคร.
  26. เอกอัครราชทูต : [เอกอักคฺระ] น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐ แต่งตั้งไปประจํายังสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็น ตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติ ของตนในรัฐนั้น ๆ. (อ. ambassador).
  27. เอง : ว. คําเน้นแสดงว่าไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฉันเอง เป็นธรรมดา อยู่เอง; ตามลําพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง; แหละ, นี่แหละ, นั่นแหละ, เช่น แค่นั้นเอง.
  28. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  29. เอาใจออกหาก : ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป, ปลีกตัวออกไป, ตีตัวออกหาก ก็ว่า.
  30. เอาเชิง : ก. สงวนท่าทีหรือชั้นเชิงของตนไว้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เกรงขาม.
  31. เอาดีเอาเด่น : ก. พยายามทําตัวให้คนเห็นว่าตนดีเด่นกว่าเพื่อน.
  32. เอาแต่ใจ : ว. ถือใจตนเป็นใหญ่.
  33. เอาเป็นธุระ : ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทําให้, เป็นธุระ ก็ว่า.
  34. เอาแรง ๑ : ก. ช่วยผู้อื่นทำงานเพื่อต่อไปเขาจะได้มาช่วยตนทำงาน ในลักษณะเดียวกันบ้าง เช่น เกี่ยวข้าวเอาแรงกัน.
  35. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-385]

(0.0309 sec)