Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เน้นหนัก, เน้น, หนัก , then นน, เน้น, เน้นหนัก, หนก, หนัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เน้นหนัก, 392 found, display 251-300
  1. มือเบา : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างละมุนละไมหรือ ประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือหนัก.
  2. มูก ๒ : น. นํ้าเมือกที่ไหลออกจากจมูก เรียกว่า นํ้ามูก, นํ้าเมือกที่ไหลออก ทางทวารหนักพร้อมกับอุจจาระ.
  3. มู่เล่ : (ปาก) น. ล้อหนักสําหรับหมุนถ่วงให้เครื่องยนต์เดินเรียบ.
  4. เมาหมัด : ก. มีอาการมึนงงเพราะเคยถูกชกหนัก ๆ มาแล้ว.
  5. แมกนีเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๒ สัญลักษณ์ Mg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๖๕๐?ซ. เมื่อจุดให้ติดไฟในอากาศจะได้เปลวสีขาว สว่างจัด ใช้ประโยชน์ในการถ่ายรูป ทําระเบิดเพลิง นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะ เจือชนิดนํ้าหนักเบา เป็นต้น. (อ. magnesium).
  6. แม่แปรก : [-ปะแหฺรก] น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง, (ราชา) แม่หนัก; หญิงสาวแก่ที่จัดจ้านซึ่งเป็นหัวหน้าของหญิงสาวในหมู่.
  7. แม่แรง : น. เครื่องสําหรับดีดงัดหรือยกของหนัก, โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นกําลัง สําคัญในการงาน.
  8. ไมโครกรัม : [-โคฺร-] น. หน่วยวัดนํ้าหนัก ๑ ไมโครกรัม มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ของ ๑ กรัม ใช้สัญลักษณ์ mg. (อ. microgramme).
  9. ไม้ล้มลุก ๑ : น. ไม้ ๒ ขาสำหรับกว้านของหนักขึ้นไปไว้บนที่สูง เช่น เอาไม้ล้มลุกกว้าน พระบรมโกศขึ้นบนเกริน.
  10. ยวบยาบ : ว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทําให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการ ที่พื้น ยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ.
  11. ยาเหน็บ : น. ยาที่ใช้สอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก.
  12. ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
  13. ย้ำ, ย้ำ ๆ : ก. พูดหรือทําซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมา กัดย้ำแต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
  14. ยุยง : ก. ยุหรือส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีหนักขึ้น เช่น ยุยงให้หนีโรงเรียน ยุยงให้เล่นการพนัน.
  15. เยิบ, เยิบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่แบนและยาวเมื่อรับน้ำหนักมาก ๆ จะไหวตัวขึ้นลง เป็นจังหวะเนิบ ๆ เช่น กระดานนอกชานอ่อนเยิบ หาบของมาเยิบ ๆ.
  16. เยียวยา : ก. บําบัดโรค, แก้โรค, เช่น ไม่มีหมอจะมาเยียวยาได้; แก้ไข, ทําให้ดีขึ้น, เช่น เศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก ยากที่จะเยียวยาได้.
  17. เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  18. แย้ ๒ : ก. ถ่วงหนักลง เช่น ก้นแย้ ท้องแย้.
  19. แย่แต้ : ว. หนักจนต้องย่อลง.
  20. รอก : น. เครื่องผ่อนแรงรูปคล้ายล้อ มีแกนหมุนได้รอบตัว ที่ขอบเป็นร่อง สําหรับให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเดินได้สะดวก ใช้สําหรับยก ลาก หรือดึงของหนักให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น.
  21. ร่อแร่ : ว. อาการหนักจวนตาย เช่น อยู่ในอาการร่อแร่.
  22. ระนาบเอียง : น. สิ่งที่มีพื้นแบนเรียบเอียงทํามุมแหลมกับพื้นระดับ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องกลอย่างง่ายสําหรับเลื่อนเทหวัตถุหนักไปสู่ ระดับที่ต้องการโดยที่สามารถพักเทหวัตถุนั้นได้เป็นระยะ ๆ.
  23. ระเบิดไฮโดรเจน : น. ลูกระเบิดที่ให้อํานาจระเบิดได้ด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ ชนิดที่ทําให้นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจนหลอมรวมตัวเป็นนิวเคลียสของ ธาตุฮีเลียมซึ่งหนักกว่า ระเบิดชนิดนี้มีอํานาจทําลายยิ่งกว่าระเบิดปรมาณู มาก. (อ. H—bomb).
  24. ริดสีดวง : น. ชื่อโรคพวกหนึ่งมีหลายชนิด เกิดในช่องตา จมูก ทวารหนัก เป็นต้น.
  25. รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  26. รุนแรง : ว. หนักมาก, แรงมาก, เกินปรกติ, เช่น ดุว่าอย่างรุนแรง คัดค้าน อย่างรุนแรง ความคิดเห็นรุนแรง.
  27. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม : (สํา) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือ เสียหายอะไร.
  28. รู้สำนึก : ก. รู้สึกตัวว่าผิด เช่น ถูกลงโทษอย่างหนักแล้วยังไม่รู้สำนึก.
  29. ลด : ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือ นอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
  30. ลมสว้าน : [–สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน จะสิ้นใจ.
  31. ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
  32. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  33. ลำไส้ : น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับ ทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึม อาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.
  34. ลำไส้ใหญ่ : น. ลำไส้ส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็กและไปสุดสิ้นที่ทวารหนัก มีหน้าที่ดูดซึมน้ำจากกากอาหารที่ย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กแล้ว ซึ่งทำให้กากอาหารงวดเป็นอุจจาระ.
  35. ลิ้นห้อย : ว. อาการที่เหน็ดเหนื่อยมากเปรียบเหมือนวิ่งมาไกล เหนื่อยจนลิ้นห้อย, อาการที่เหน็ดเหนื่อยเนื่องจากต้องทำงาน หนักมาก.
  36. ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
  37. ลูกกลิ้ง : น. เหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีนํ้าหนักมากใช้ลากให้กลิ้งทับดิน ให้ราบ, เรียกสิ่งที่กลิ้งไปได้เพื่อประโยชน์ในการต่าง ๆ ว่า ลูกกลิ้ง เช่น ลูกกลิ้งของช่างตัดเสื้อ.
  38. ลูกโกลน : [–โกฺลน] น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อ รองรับสิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก.
  39. ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
  40. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  41. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  42. เลิกรา : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น ร้านแถวนี้ขายไม่ดี จึงเลิกรากันไป เรื่อย ๆ บ้าน ๒ หลังนี้ทะเลาะกันเรื่อย หนักเข้าก็เลิกรากันไปเอง.
  43. เลียน : ก. เอาอย่าง, ทําหรือพยายามทําให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับแบบอย่าง, เช่น พูดเลียนเสียงเด็กร้องเลียนเสียงนก; ชั่งโดยเอาเงินตราเป็นเกณฑ์ นํ้าหนัก.
  44. โลกันตร์ : น. ชื่อนรกขุมหนึ่งเป็นที่ลงโทษที่หนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด. (ป. โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก; ส. ว่า โลกอื่น).
  45. โล่งอก : ก. รู้สึกปลอดโปร่งใจเพราะปลดเปลื้องภาระหนักได้แล้ว.
  46. ไล่ออก : ก. คัดชื่อออกจากทะเบียน เช่น ไล่ออกจากโรงเรียน, ให้ ออกจากราชการหรือวงการเพราะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ไล่ออกจากราชการ ไล่ออกจากงาน. (กฎ) น. โทษทางวินัย สถานหนักที่สุดที่ใช้ลงแก่ข้าราชการ ผู้กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการและไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญ.
  47. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  48. วะ ๒ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทาง ย้ำหรือเน้นคำ.
  49. วัจมรรค : น. ทวารหนัก, เวจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
  50. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-392

(0.0814 sec)