Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เน้นหนัก, เน้น, หนัก , then นน, เน้น, เน้นหนัก, หนก, หนัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เน้นหนัก, 392 found, display 301-350
  1. วิทยุมือถือ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถใช้มือถือในขณะใช้งานได้.
  2. เวจมรรค : น. ทวารหนัก, วัจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
  3. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  4. ศูนย์ถ่วง : น. จุดซึ่งถือว่าแนวน้ำหนักของวัตถุผ่านลงที่จุดนั้น เช่น ตุ๊กตาล้มลุกมีศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ.
  5. สตางค์ : [สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มี สตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัด น้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของทศางค์.
  6. สนิมสร้อย : [สะหฺนิมส้อย] ว. ถนิมสร้อย, หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ), เช่น ดุว่านิดหน่อยก็น้ำตาร่วง ทำเป็นแม่สนิมสร้อยไปได้.
  7. สบถ : [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ ตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือ ไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
  8. สมมูลเคมี : น. จํานวนเลขที่บ่งแสดงนํ้าหนักของสารที่ทําปฏิกิริยา โดยทางตรงหรือทางอ้อมได้พอดีกับ ๑.๐๐๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกัน ของธาตุไฮโดรเจน หรือกับ ๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุ ออกซิเจน. (อ. chemical equivalent).
  9. สมอ ๑ : [สะหฺมอ] น. หิน. (ข. ถฺม); ของหนักที่ล่ามโซ่หรือเชือกอยู่กับเรือ เวลาจอดเรือใช้ทอดลงไปในนํ้าให้เกาะพื้นเพื่อไม่ให้เรือเคลื่อนไปที่อื่น.
  10. สลึง : [สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (รูปภาพ) หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตรา ชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.
  11. ส้วง : น. ช่อง, โพรง, (โดยมากมักใช้แก่ทวารหนัก).
  12. สวน ๒ : อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะ ปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายา หรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้ อุจจาระออก.
  13. สว้าน : [สะว่าน] ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เป็นอาการของไข้หนัก จวนจะสิ้นใจ.
  14. สะพานแขวน : น. สะพานที่สร้างแขวนไว้กับโซ่หรือสายลวด ไม่ใช้ เสารับนํ้าหนักสะพาน แต่อาจมีเสาคํ้าสายลวดให้สูงตํ่าตามต้องการ.
  15. สังฆาทิเสส : [เสด] น. ชื่ออาบัติหนักหมวดหนึ่งรองจากปาราชิก. (ป.).
  16. สัญประกาศ : [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ใช้ขีดไว้ใต้คํา หรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
  17. สาก ๓ : ว. อาการที่ระคายเพราะมีลักษณะไม่ละเอียดอ่อนหรือไม่นุ่มนวล เช่น ใบข่อยจับแล้วสากมือ ผู้หญิงคนนี้มือสากเพราะทำงานหนักตั้งแต่เด็ก, ขรุขระเพราะมีพื้นไม่ราบเรียบ เช่น กระดานแผ่นนี้ผิวสากเพราะยัง ไม่ได้ไสกบ.
  18. หงิก : ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการ ที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.
  19. หน้าเขียว : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
  20. หน้าดำคล้ำเครียด : น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่ กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า.
  21. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  22. หวา, หว่า ๑ : ว. คําประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.
  23. หัตถศึกษา : น. การศึกษาที่เน้นในเรื่องการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ.
  24. หัว ๒ : น. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทาง ดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.
  25. หูตูบ : น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทํางานอย่าง หนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.
  26. หูรูด : น. รูที่ร้อยเชือกสําหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวาร หนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด.
  27. เหน็บ ๒ : ก. เสียบ, สอดไว้ในที่บังคับ; กิริยาที่เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีสบู่เป็นต้นสอด เข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก.
  28. แหละ : [แหฺละ] ว. คําประกอบเพื่อเน้นความ เช่น คนนี้แหละ.
  29. อกคราก : ว. คําที่กล่าวเปล่งออกมาหมายความว่า หนักเหลือเกิน, เดือดร้อนเหลือเกิน.
  30. อนันตริยกรรม : [ตะริยะกํา] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรม ที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทําให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทําให้ สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).
  31. อภัยโทษ : [อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา หรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดี ถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.
  32. อรหันตฆาต : น. การฆ่าพระอรหันต์, นับว่าเป็นบาปหนักที่สุด อย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕ อันได้แก่ ๑. ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา ๒. มาตุฆาต คือ ฆ่ามารดา ๓. อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท คือ ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. สังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป.).
  33. อเวจี : น. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสําหรับลงโทษ แก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.
  34. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  35. ออนซ์ : น. หน่วยวัดนํ้าหนัก ๑ ออนซ์ มีค่าเท่ากับ หรือ ๒๘.๓๔๑๕ กรัม. (อ. ounce).
  36. อ๋อย : ว. คําใช้ขยายกริยา คราง ในคําว่า ครางอ๋อย; ใช้เน้นแสดงว่ามาก ในคําว่า เหลืองอ๋อย.
  37. อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย : [อะหฺล่วย] ก. ปรองดองกัน, ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน.
  38. อัญประกาศ : [อันยะ] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ '' '' สําหรับเขียนคร่อมคํา หรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้น ให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  39. อาน ๒ : ว. บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียอาน, โดยปริยายหมายความว่า อย่างหนัก, อย่างมาก, เช่น ถูกต่อว่าอานเลย.
  40. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  41. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  42. อ้ายแอ้ด : น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Gryllidae, จิ้งหรีดผี ก็เรียก. (ดู แอ้ด๑), โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีขนาดเล็กหรือน้ำหนัก น้อยกว่าปรกติ เช่น รถถังอ้ายแอ้ด มวยรุ่นอ้ายแอ้ด.
  43. อิริเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๗ สัญลักษณ์ Ir เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวคล้ายเงิน เนื้อแข็งมาก เป็นธาตุที่หนักที่สุดเท่าที่รู้จักกัน หลอมละลายที่ ๒๔๕๔?ซ. เป็นโลหะที่ทนทานต่อการสึกกร่อน ที่สุด ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. iridium).
  44. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  45. อุจจารมรรค : [อุดจาระมัก] น. ทวารหนัก. (ส.; ป. อุจฺจารมคฺค).
  46. อุ้ย : ว. หนักและแน่น.
  47. เอกอุ : [เอก] ว. เอกเป็นเลิศ. (ตัดมาจาก เอกอุดม); มากมาย, หนักหนา, เช่น ทำผิดอย่างเอกอุ.
  48. เอง : ว. คําเน้นแสดงว่าไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฉันเอง เป็นธรรมดา อยู่เอง; ตามลําพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง; แหละ, นี่แหละ, นั่นแหละ, เช่น แค่นั้นเอง.
  49. เออน่ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อเน้นแสดงคํารับอย่างรู้สึกรําคาญ.
  50. เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-392

(0.0908 sec)