Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปฏิบัตินิยม, ปฏิบัติ, นิยม , then นยม, นิยม, ปฏบตนยม, ปฏิบัติ, ปฏิบัตินิยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปฏิบัตินิยม, 395 found, display 151-200
  1. ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
  2. ที่ว่าการ : น. สถานที่ปฏิบัติราชการระดับอําเภอ เรียกว่า ที่ว่าการอําเภอ.
  3. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  4. ทุย : ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติ จนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็น คําเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
  5. เทคโนโลยี : น. วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม. (อ. technology).
  6. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  7. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  8. ธรรมกาม : น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
  9. ธุดงคญ, ธุดงค์ : น. องค์คุณเครื่องกําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).
  10. ธุร-, ธุระ : [ทุระ] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทํา, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
  11. นมาซ : น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลาม เพื่อชำระจิตใจ ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, ละหมาด ก็เรียก.
  12. นโยบาย : น. หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดําเนินการ. (ป. นย + อุปาย).
  13. นร : [นอระ] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคําหน้า สมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).
  14. นอกครู : ก. ประพฤติไม่ตรงตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ประพฤติ ไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.
  15. นะ ๒ : น. ชื่อตัวตั้งธาตุน้ำของเวทมนตร์คาถาทางเมตตามหานิยม เช่น เขาคง มีนะดี ใคร ๆ เห็นก็เมตตา.
  16. นางกวัก ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Eucharis grandiflora Planch. et Link. ในวงศ์ Amaryllidaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมในตอนเย็น นิยมปลูกไว้ ในบ้านโดยเชื่อว่านําโชคลาภมาให้, ว่านนางกวัก ก็เรียก.
  17. นางพระกำนัล : น. คุณพนักงานหญิงที่ยังมิได้แต่งงาน มีหน้าที่ปฏิบัติ รับใช้พระราชินีในการเสด็จไปในพระราชพิธีต่าง ๆ.
  18. นางรม ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปร่างค่อนข้างกลม หรือยาวรี มีสีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็นสีเทา เปลือกด้านล่างโค้งเล็กน้อย ยึดติดกับวัสดุที่เกาะ นิยมใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด Saccostrea forskali, อีรม ก็เรียก.
  19. นางสนองพระโอษฐ์ : น. คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับ พระราชเสาวนีย์ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการ ตามพระราชประสงค์ของพระราชินี.
  20. นาฟางลอย : น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ''ข้าวขึ้นน้ำ'' เนื่องจาก มีรากยาวสามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อ และที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมี ระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
  21. นำสมัย : ว. มีความคิดริเริ่มในการแต่งกายเป็นต้นก่อนสมัยนิยม.
  22. นิติ : [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  23. นิติกร : น. ชื่อตําแหน่งผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมาย.
  24. นิติการ : น. สายงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานทางกฎหมาย.
  25. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  26. แนวคิด : น. ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติ เช่น แนวคิดในการปฏิรูป การศึกษา.
  27. แนวทาง : น. ทางปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนว.
  28. แนะนำ : ก. ชี้แจงให้ทําหรือปฏิบัติ เช่น แนะนําให้ทําความดี แนะนํา ในการใช้ยา; บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม.
  29. แนะแนว : ก. แนะนําแนวทางว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร.
  30. บทอัศจรรย์ : น. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดย ใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.
  31. บ่มนิสัย : ก. อบรมให้มีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย.
  32. บรรทัดฐาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.
  33. บริการ : [บอริกาน] ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการ ลูกค้าดี. น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้ บริการ ใช้บริการ.
  34. บอกวัตร : (โบ) ก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทําวัตร เย็นเสร็จแล้ว.
  35. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  36. บัวบาท : น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมา หมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
  37. บาทบริจาริกา : [บาดบอริ-] น. หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้า แผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปาริจาริกา).
  38. บิดพลิ้ว : ก. หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติไม่ตรงตาม ข้อตกลง.
  39. บุคลากร : [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ บริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
  40. เบี้ยกันดาร : (กฎ) น. เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง ประจําเนื่องจากการปฏิบัติราชการประจําในท้องที่กันดารหรือ โรงในเรียนที่กันดาร.
  41. เบี้ยปรับ : (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็น จํานวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระ หนี้ หรือไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษี อากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่ ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
  42. แบบฉบับ : น. หลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน, สิ่งที่ถือเป็นแบบได้.
  43. แบบแผน : น. ขนบธรรมเนียมที่กําหนดใช้หรือที่เคยประพฤติปฏิบัติ สืบต่อกันมา.
  44. ใบสั่ง : น. หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ เช่น ใบสั่งยา ใบสั่งจ่าย ใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ.
  45. ปฏิเวธ : [-เวด] ก. เข้าใจตลอด, ตรัสรู้, ลุล่วงผลปฏิบัติ. (ป.).
  46. ปฐมพยาบาล : [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉิน ตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  47. ปทัฏฐาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน ก็ว่า. (ป.; ส. ปทสฺถาน).
  48. ปทัสถาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. ปทฏฺ?าน).
  49. ปรนนิบัติ : [ปฺรนนิบัด] ก. เอาใจใส่คอยปฏิบัติรับใช้, ปรนนิบัติวัตถาก ก็ว่า.
  50. ประกาศ : ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของ บริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือ วางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ กระทรวง ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-395

(0.0783 sec)