Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปฏิบัตินิยม, ปฏิบัติ, นิยม , then นยม, นิยม, ปฏบตนยม, ปฏิบัติ, ปฏิบัตินิยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปฏิบัตินิยม, 395 found, display 301-350
  1. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทางทฤษฎี เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์.
  2. วิธีการ : น. วิธีปฏิบัติตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่ประชาชน วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ มีหลายวิธี.
  3. วินย, วินัย : [วินะยะ] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).
  4. วิปัสสนายานิก : น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
  5. วิสามัญฆาตกรรม : [วิสามันคาดตะกํา] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตาย ถูกซึ่งเจ้าพนักงานอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่า ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่.
  6. ไว้ทุกข์ : ก. แต่งกายหรือแสดงเครื่องหมายตามประเพณีนิยม ว่าตนมีทุกข์เพราะบุคคลสำคัญในครอบครัวเป็นต้นตายไป เช่น ไว้ทุกข์ให้พ่อ.
  7. ศรมณะ : [สะระมะ] น. ผู้ปฏิบัติบําเพ็ญพรต, พระสงฆ์. (ส.; ป. สมณ).
  8. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  9. ศาสนกิจ : น. งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณรเป็นต้นปฏิบัติ เช่น การทำวัตรสวดมนต์และการเผยแผ่ศาสนาเป็นศาสนกิจของสงฆ์.
  10. ศาสนธรรม : น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติ ตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.
  11. ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.
  12. ศิษย์นอกครู : (สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของ ครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบ ฉบับที่นิยมกันมา.
  13. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  14. ศูนย์ชุมชน : น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผน ปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและ องค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะ กรรมการขึ้นทําหน้าที่กําหนดนโยบายและบริหารงาน.
  15. สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิมรรค : [มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
  16. สง่า : [สะหฺง่า] ว. มีลักษณะผึ่งผายเป็นที่น่ายำเกรงหรือน่านิยมยกย่อง เช่น ผู้นำจะต้องมีบุคลิกลักษณะสง่า, เป็นที่น่าเกรงขาม เช่น เสือโคร่งมี ท่าทางสง่า.
  17. สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
  18. สบถ : [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ ตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือ ไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
  19. สมถวิปัสสนา : น. สมถะและวิปัสสนา เป็นแบบปฏิบัติในการ เจริญกรรมฐานทางพุทธศาสนา. (ป.). (ดู วิปัสสนา ประกอบ).
  20. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  21. สมาทาน : [สะมา] ก. รับเอาถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล. (ป., ส.).
  22. สรรเสริญ : [สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอ คุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้.
  23. ส่วนสัด : น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มี ความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.
  24. ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
  25. สวาด : [สะหฺวาด] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ฝักมีหนามละเอียด เมล็ดกลม เปลือกแข็งสีเทาอมเขียว. ว. สีเทาอมเขียวอย่างสีเมล็ดสวาด เรียกว่า สีสวาด, เรียกแมวที่มีสีเช่นนั้นว่า แมวสีสวาด ว่าเป็นแมวไทยที่ชาว ต่างประเทศนิยมเลี้ยงและมีราคาแพง.
  26. สหประชาชาติ : (กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็น ทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมี วัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจาก สนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การ สหประชาชาติ (United Nations Organization).
  27. สะเทินน้ำสะเทินบก : ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบิน สะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก.
  28. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  29. สัญญาณจราจร : (กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
  30. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  31. สัตยาเคราะห์ : น. การยึดความจริงเป็นหลักการต่อสู้เพื่อความเป็น ธรรมในสังคม โดยใช้วิธีดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคําสั่ง ที่ไม่ยุติธรรม แต่ไม่ใช้วิธีรุนแรง. (ส. สตฺยาคฺรห).
  32. สันถว, สันถวะ : [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน; ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).
  33. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  34. สากล : ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา ''ระหว่างประเทศ'' ก็มี เช่น สภา กาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
  35. หนังสือเวียน : น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้ บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.
  36. หนุ่ม : น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชาย ที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่.
  37. หมวกกะหลาป๋า : น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรง สูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้น รัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.
  38. หมอนข้าง : น. หมอนที่มีลักษณะกลมยาวเกินกึ่งกาย นิยมวางข้าง ๆ ยาว ไปตามที่นอน.
  39. หมายรับสั่ง : น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า ''ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ''.
  40. หลักการ : น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติ รับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.
  41. หลักเกณฑ์ : น. หลักที่กำหนดไว้เพื่อใช้วินิจฉัยและปฏิบัติตาม.
  42. หลิว : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix babylonica L. ในวงศ์ Salicaceae ดอกออกเป็นช่อ กิ่งและใบห้อยลง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ.
  43. หวี่ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้ หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.
  44. หอบังคับการ : น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงาน ควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตาม ที่ได้รับมอบหมาย.
  45. หักมุก : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่า กับกล้วยตานี ผลเป็นเหลี่ยม นิยมทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนกิน.
  46. หัน ๑ : ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้า ไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้า กับศัตรู.
  47. หัวเก่า : ว. นิยมของเก่า, นิยมตามแบบเก่า, (ปาก) ครึ, ไม่ทันสมัย.
  48. หัวใจ : น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.
  49. หัวนอก : ว. ที่นิยมแบบฝรั่ง, ที่มีความคิดอ่านแบบฝรั่ง, ที่นิยมของที่ผลิต จากต่างประเทศ.
  50. หัวใน : ว. ที่มีความคิดแบบไทย, ที่นิยมของที่ผลิตภายในประเทศ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-395

(0.0969 sec)