Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปฏิบัตินิยม, ปฏิบัติ, นิยม , then นยม, นิยม, ปฏบตนยม, ปฏิบัติ, ปฏิบัตินิยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปฏิบัตินิยม, 395 found, display 351-395
  1. หัวโบราณ : ว. นิยมตามแบบเก่าแก่, (ปาก) ครึมาก, ล้าสมัย.
  2. หัวสมัยใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวใหม่ ก็ว่า.
  3. หัวใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย, ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวสมัยใหม่ ก็ว่า.
  4. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  5. หูป่าตาเถื่อน : ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจ เป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติ อย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.
  6. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  7. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  8. แหกคอก : ก. ประพฤติตัวผิดเหล่าผิดกอหรือผิดขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เคยประพฤติปฏิบัติกันมา (มักใช้ในเชิงตำหนิ).
  9. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  10. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  11. อนาคามิมรรค : น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระอนาคามี. (ส. อนาคามินฺ + มารฺค; ป. อนาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
  12. นิยม, อนิยม : [อะนิยม, อะนิยะมะ] ว. ไม่มีกําหนด, ไม่ต้องด้วยกฎหรือแบบแผน, ไม่แน่นอน, นอกแบบ. (ป., ส.).
  13. อนุกรม : [อะนุกฺรม] น. ลําดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็น ส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. (ส. อนุกฺรม; ป. อนุกฺกม).
  14. อนุช : [อะนุด] น. ''ผู้เกิดภายหลัง'', น้องสาว, นิยมใช้ว่า นุช. (ป., ส.).
  15. อนุรักษนิยม : [อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม] น. อุดมคติทาง การเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทาน การเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว.
  16. อนุวัต : ก. ทําตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
  17. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ : น. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอน อันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็น ปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  18. อปภาคย์, อัปภาคย์ : [อะปะพาก, อับปะพาก] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนา น้อย, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์. (ส.).
  19. อภัย, อภัย : [อะไพ, อะไพยะ] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษ ให้ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
  20. อภิธรรม : [อะพิทํา] น. ชื่อปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก ได้แก่ ๑. พระวินัยปิฎก ๒. พระสุตตันตปิฎก ๓. พระอภิธรรมปิฎก, ชื่อธรรมะชั้นสูง มี ๗ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. สังคณี ๒. วิภังค์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมก ๗. ปัฏฐาน นิยมใช้สวดในงานศพ. (ส. อภิธรฺม; ป. อภิธมฺม).
  21. อภิลักขิตกาล, อภิลักขิตสมัย : น. เวลาที่กําหนดไว้, วันกําหนด, (มักนิยมใช้แก่วันทําบุญคล้ายวันเกิดหรือวันทําพิธีประจําปี).
  22. อมต, อมตะ : [อะมะตะ, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).
  23. อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
  24. อรหัตมรรค : น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. (ส. อรฺหตฺตฺว + มารฺค; ป. อรหตฺตมคฺค). (ดู มรรค).
  25. อัปภาคย์ : [อับปะ] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
  26. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  27. อัษฎมงคล, อัษฏมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).
  28. อัษฎางคิกมรรค : [อัดสะดางคิกะมัก] น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรค มีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.
  29. อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
  30. อาน ๖ : [อานะ] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจ ออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคําว่า อานาปานัสสติ = สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).
  31. อามิสบูชา : น. การบูชาด้วยสิ่งของ, คู่กับ ปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการ บูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน.
  32. อายัน ๒ : น. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึงการมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. (อ. solstice).
  33. อารัณยกะ ๒ : [รันยะกะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหา ไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก.
  34. อาวรณ์ : [วอน] ก. ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์. น. เครื่องกั้น, เครื่องกําบัง. (ป., ส.).
  35. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  36. อิสริยยศ : [อิดสะริยะยด] น. ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความ ยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศ ทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้า พระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดี ความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรม จึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระนามเดิม เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.
  37. อุณหภูมิ : [อุนหะพูม] น. ระดับความสูงต่ำของความร้อน นิยมวัด ได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์.
  38. อุดมการณ์ : [อุดมมะ, อุดม] น. หลักการที่วางระเบียบไว้เป็น แนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้.
  39. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  40. อุปัชฌายวัตร : [อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริก จะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
  41. อุปัทว, อุปัทวะ : [อุปัดทะวะ, อุบปัดทะวะ] ว. อุบาทว์, อัปรีย์, จัญไร, ไม่เป็น มงคล, นิยมใช้คู่กับคำ อันตราย เป็น อุปัทวันตราย. (ป. อุปทฺทว; ส. อุปทฺรว).
  42. เอกภาคี : [เอกะ, เอกกะ] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัว ปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลําพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วม หรือรับรู้ด้วย.
  43. เอาใจ : ก. คอยปฏิบัติให้ถูกใจ, ตามใจ.
  44. เอาอกเอาใจ : ก. คอยปฏิบัติให้ถูกใจ.
  45. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-395]

(0.0909 sec)