Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอ่อนหวาน, อ่อน, หวาน, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอ่อนหวาน, 3964 found, display 1201-1250
  1. ตกนรกทั้งเป็น : (สํา) ก. ได้รับความลําบากแสนสาหัส เช่นคนที่ ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจํา.
  2. ตกใน : ก. อาการที่เลือดไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก แทงหรือฟันเป็นต้น เรียกว่า เลือดตกใน; โดยปริยายใช้เรียกอาการ ที่ต้องกลํ้ากลืนความทุกข์ไว้ ไม่แสดงออกมาว่า นํ้าตาตกใน.
  3. ตกพุ่มม่าย : ก. อยู่ในฐานะที่เป็นม่าย. ว. เรียกชายหรือหญิงที่หย่าขาด จากความเป็นผัวเมียกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไป, เป็นม่าย ก็ว่า.
  4. ตกว่า : ว. คือ, คือว่า, รวมความว่า, ลงความว่า, ถือเอาว่า, บางทีใช้ว่า ตก ก็มี เช่น ตกมีฤทธิไกรกว่าพี่ยา. (อิเหนา).
  5. ตงิด : [ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก) เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.
  6. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  7. ต้นสายปลายเหตุ : น. ความเป็นมาของเรื่อง.
  8. ตบ ๑ : น. ชื่อไม้นํ้าในวงศ์ Pontederiaceae มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Monochoria hastata (L.) Solms ขึ้นตามท้องนาที่แฉะและนํ้านิ่ง ดอกสีนํ้าเงิน ยอดอ่อนและดอกกินได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักสามหาว, และชนิด Eichhornia crassipes (C. Martius) Solms-Laub. ขึ้นตามลํานํ้า ทั่วไป ดอกสีม่วงอ่อน เรียกว่า ผักตบชวา.
  9. ตบ ๒ : ก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.
  10. ตบมือ : ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ ก็ว่า.
  11. ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
  12. ตบะแตก : ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมด ความอดกลั้น, สิ้นความอดทน.
  13. ตม- ๑, ตโม- : [ตะมะ-] น. ความมืด, ความเศร้าหมอง, ความเขลา. (ป.; ส. ตมสฺ).
  14. ต้มกะทิ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อเค็ม หรือปลาแห้ง หรือปลาสลิดเป็นต้น ต้มในนํ้ากะทิ ใส่หัวหอมกับส้มมะขาม มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน; เรียก ผักชนิดต่าง ๆ ที่ต้มกับกะทิ สำหรับกินกับน้ำพริกกะปิ ว่า ผักต้มกะทิ.
  15. ต้มข่า : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้มยํากะทิ แต่มักใช้เนื้อไก่ ใส่ ข่าอ่อน ปรุงรสด้วยนํ้าพริกเผา นํ้าปลา มะนาว พริกขี้หนู.
  16. ต้มเค็ม : น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น เคี่ยว ให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบ ไทยมีรสหวานเค็ม.
  17. ต้มโคล้ง : [-โคฺล้ง] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้ปลาแห้งหรือหัวปลาแห้งเป็นต้น ต้มกับหัวหอม ส้มมะขามหรือใบมะขามอ่อน แล้วเติมเกลือ ให้ออกรส เปรี้ยวเค็ม, โฮกอือ ก็เรียก.
  18. ตโมนุท : น. พระอาทิตย์, พระจันทร์. (ส. ตโมนุท ว่า ผู้ขจัดความมืด).
  19. ตโมไพรี : น. ไฟ. (ส. ตโมไพรี ว่า ศัตรูของความมืด).
  20. ตโมหร : น. พระจันทร์. (ส. ตโมหร ว่า ผู้คลายความมืด).
  21. ตรงกัน : ว. เหมือนกัน เช่น ความคิดตรงกัน, เป็นแนวเดียวกัน เช่น เข้าแถว ให้ตรงกัน.
  22. ตรงกันข้าม : ว. คนละฝ่ายคนละพวก; มีความหมายต่างกันอย่างขาวกับดํา ดีกับชั่ว.
  23. ตรรก-, ตรรกะ : [ตักกะ] (แบบ) น. ความตรึก, ความคิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).
  24. ตรวจ : [ตฺรวด] ก. พิจารณาดูความเรียบร้อย เช่น ตรวจพล ตรวจราชการ, พิจารณา ดูว่าถูกหรือผิด ดีหรือร้าย เป็นต้น เช่น ตรวจบัญชี ตรวจแบบฝึกหัด ตรวจ ดวงชะตา, พิจารณาหาสมุฏฐาน เช่น ตรวจโรค, สํารวจ เช่น ตรวจพื้นที่. น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง.
  25. ตระกัด : [ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกําหนัด ใน ความตระกัดกรีธา. (ม. คําหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
  26. ตระลาการ : [ตฺระ-] (โบ) น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
  27. ตระเวน : [ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยว ตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นํานักโทษ ตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.
  28. ตระหนี่ : [ตฺระหฺนี่] ว. หวงไม่อยากให้ง่าย ๆ เช่น ตระหนี่ทรัพย์ ตระหนี่ความรู้.
  29. ตรับ, ตรับฟัง : [ตฺรับ] ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง.
  30. ตรา : [ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทําเป็นรูปต่าง ๆ สําหรับประทับเป็น ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ ประดับในจําพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สําหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสําคัญ เช่น ตราไว้; กําหนดไว้, จดจําไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
  31. ตรากตรำ : [ตฺรากตฺรํา] ว. ทนทําอย่างไม่คิดถึงความยากลําบาก เช่น ทํางานอย่าง ตรากตรํา; อย่างสมบุกสมบัน, อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้อย่าง ตรากตรํา.
  32. ตราตั้ง : น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทาน ให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทําประโยชน์ในราชการส่วน พระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรม ความตกลงกัน.
  33. ตราบาป : น. บาปติดตัว, ความรู้สึกว่าเป็นบาปซึ่งมีฝังอยู่ในจิตใจตลอดไป.
  34. ตราสิน : ก. แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน, จดทะเบียน, เช่น ตราสินหนังสือ พิมพ์ ตราสินชื่อย่อโทรเลข.
  35. ตรีเกสรมาศ : น. เกสรทอง ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง.
  36. ตรีเอกภาพ, ตรีเอกานุภาพ : น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
  37. ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
  38. ตรึกถอง : [ตฺรึก-] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึกถอง หรือ ไม่ตรึกไม่ถอง เช่น มีทรัพย์สมบัติไม่ตรึกถอง นับไม่ตรึกไม่ถอง.
  39. ตฤษณา : [ตฺริดสะหฺนา] (แบบ) น. ความปรารถนา, ความอยาก, ความดิ้นรน. (ส.; ป. ตณฺหา).
  40. ตวาด : [ตะหฺวาด] ก. ขู่เต็มเสียง, คุกคามด้วยแผดเสียง, พูดเสียงดังด้วยความโกรธ.
  41. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  42. ต้อง : ก. ถูก เช่น ต้องชะตา ต้องใจ; เป็นกริยาช่วยบอกความแน่ใจหรือบังคับ เช่น ต้องกิน ต้องนอน ต้องทํา. น. เรียกต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกัน ว่าถูกผีกระทําว่า ข้าวต้อง.
  43. ต่อปากต่อคำ, ต่อปากหลากคำ : ก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.
  44. ตอแย : ก. ยั่วให้เกิดความรําคาญหรือให้โกรธ, สนใจ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าไปตอแยด้วย.
  45. ต้อหิน : น. โรคตาซึ่งเกิดจากความดันภายในลูกตาสูง เป็นผลให้ประสาทตาเสีย. (อ. glaucoma).
  46. ต่ออายุ : ก. ทําพิธีเพื่อให้มีอายุยืนตามความเชื่อทางไสยศาสตร์.
  47. ตะกรับ ๓ : [-กฺรับ] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus ในวงศ์ Scatophagidae รูปร่างสั้น แบนข้างและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็ก สากมือ สีพื้นลําตัวมี แตกต่างกันมากอาจเป็นสีเขียว เทาหรือนํ้าตาล ครึ่งบนของ ลําตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดํา พาดขวางหลายแนวและแตกเป็นจุดที่ ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา อยู่ได้ทั้งในนํ้าจืด และทะเล, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. (๒) ดู หมอช้างเหยียบ.
  48. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  49. ตะเกียกตะกาย : ก. พยายามป่ายปีนไป, พยายามทุกทางเพื่อให้ประสบความสําเร็จ.
  50. ตะเกียงแก๊ส : น. ตะเกียงที่ใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับนํ้าได้แก๊ส อะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติดให้ความสว่าง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-3964

(0.1145 sec)