Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอ่อนหวาน, อ่อน, หวาน, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอ่อนหวาน, 3964 found, display 3301-3350
  1. สัมมาคารวะ : น. ความเคารพนบนอบ เช่น พูดกับผู้ใหญ่ต้องมี สัมมาคารวะ.
  2. สัมมาทิฐิ : น. ความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. (ป. สมฺมาทิฏฺ??).
  3. สัมมาวายามะ : น. ความพยายามชอบ. (ป.).
  4. สัมมาสติ : น. ความระลึกชอบ. (ป.).
  5. สัมมาสมาธิ : น. สมาธิชอบ, ความตั้งใจชอบ. (ป.).
  6. สัมมาสังกัปปะ : น. ความดําริในทางที่ชอบ. (ป.).
  7. สัมโมทนียกถา : [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจ แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
  8. สัมฤทธิ, สัมฤทธิ์ : [สําริดทิ, สําริด] น. ความสําเร็จ ในคําว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่าสําริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).
  9. สาก ๓ : ว. อาการที่ระคายเพราะมีลักษณะไม่ละเอียดอ่อนหรือไม่นุ่มนวล เช่น ใบข่อยจับแล้วสากมือ ผู้หญิงคนนี้มือสากเพราะทำงานหนักตั้งแต่เด็ก, ขรุขระเพราะมีพื้นไม่ราบเรียบ เช่น กระดานแผ่นนี้ผิวสากเพราะยัง ไม่ได้ไสกบ.
  10. สากัลย์ : (แบบ) น. ความรวมกันของสิ่งทั้งหมด. (ป., ส.).
  11. สาแก่ใจ : ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่า อย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่าย ให้สาแก่ใจ.
  12. สาคูเปียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ต้มสาคูเม็ดเล็กจนบานใส แล้วใส่น้ำตาล จะใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหรือแห้วเป็นต้นก็ได้ เมื่อจะกินจึงหยอดหน้าด้วยกะทิ.
  13. สาคูลาน : น. แป้งสาคูที่เอาเยื่อในลําต้นแก่ของสาคูชนิดคล้ายต้นลานมาทํา เป็นแป้งเม็ดโต ๆ ทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น ซุปสาคู สาคูน้ำเชื่อม, สาคูเม็ดใหญ่ ก็ว่า.
  14. สาง ๔ : น. ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด เริ่มแต่มีความมืดน้อยลง ๆ ตามลําดับ จนกว่าจะสว่างแจ้งเป็นที่สุด เรียกว่า ท้องฟ้าสาง. ก. ทําให้ แจ้งให้กระจ่าง เช่น สางคดี, ทําให้หายยุ่ง เช่น สางผม.
  15. สางห่า : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อจิ้งเหลนหางยาวชนิด Takydromus sexlineatus ในวงศ์ Lacertidae ตัวเล็ก หางยาวประมาณ ๕ เท่าของความยาวลําตัว พบทุกภาคของประเทศไทย ที่เรียกสางห่าเพราะเข้าใจผิดว่ามีพิษร้ายแรง.
  16. สาดน้ำรดกัน : (สํา) ก. กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน, ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่กันและกัน.
  17. ส่าเลือด : น. เม็ดผื่นที่ขึ้นตามตัวเนื่องจากความผิดปรกติของเลือด ประจําเดือน.
  18. หกคว่ำ : ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ ล้มคว่ำคะมำหงาย.
  19. หง : ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสม สีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.
  20. หงสคติ : [หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อย และเป็นสง่า.
  21. หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
  22. หงอด, หงอด ๆ : [หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่น ด้วยความไม่พอใจ.
  23. หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน : (สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.
  24. หญ้างวงช้าง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Heliotropium indicum R. Br. ในวงศ์ Boraginaceae ดอกสีม่วงอ่อนออกเป็นช่อลักษณะคล้ายงวงช้าง, แพว ก็เรียก.
  25. หญ้าใต้ใบ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Phyllanthus วงศ์ Euphorbiaceae คือ ชนิด P. amarus Schum. et Thonn. ทั้งต้นรสขม ใบมีนวล ผลเกลี้ยง และชนิด P. urinaria L. ใบอ่อนสีแดง ๆ ผลขรุขระทั้ง ๒ ชนิด ใช้ทํายาได้.
  26. หญ้าแพรก : [-แพฺรก] น. ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้; (สํา) สามัญชน ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
  27. หน่วยคำ : น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
  28. หนอ : [หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอ น่าอนาถจริงหนอ.
  29. หนอน ๑ : [หฺนอน] น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิดเมื่อฟักออกจากไข่ มีรูปร่าง ทรงกระบอกหรือรูปกรวย ลําตัวอ่อนนุ่มเป็นปล้อง เคลื่อนที่โดยการคืบ คลานไป.
  30. หนอน ๒ : [หฺนอน] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลําตัวยาวอ่อนนุ่ม ไม่มีรยางค์.
  31. หน่อไม้น้ำ : น. ชื่อหญ้าชนิด Zizania latifolia (Griseb.) Turcz. ในวงศ์ Gramineae ใบแบนยาว หน่ออ่อนที่เชื้อราลงจะพองออก กินได้.
  32. หน่อไม้ฝรั่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Asparagus officinalis L. ในวงศ์ Asparagaceae หน่ออ่อนกินได้.
  33. หนักไม่เอา เบาไม่สู้ : (สํา) ว. ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน.
  34. หนักสมอง : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหา หนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.
  35. หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์ : ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิด ครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
  36. หนักหัว : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว, หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  37. หนังสือเดินทาง : น. หนังสือสําคัญประจําตัวซึ่งทางราชการของประเทศ หนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการ เดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.
  38. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  39. หนังหน้าไฟ : (สํา) น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิด มา พ่อความผิดมาแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.
  40. หนา ๒ : คําประกอบท้ายคําอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.
  41. หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
  42. หน้าเฉย : ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่ง หรือเหตุการณ์ใด ๆ.
  43. หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย : ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
  44. หน้าเชิด : น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.
  45. หน้าเซียว : ว. มีสีหน้าแสดงความอิดโรยไม่สดใสเพราะอดนอนมาก เป็นต้น.
  46. หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
  47. หน้าดำ : น. ใบหน้าหมองคล้ำไม่มีราศีเพราะความทุกข์หรือต้องทำงาน กลางแจ้งเป็นต้น.
  48. หน้าดำคล้ำเครียด : น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่ กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า.
  49. หน้าแดง : น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธ เป็นต้น.
  50. หน้าตัก : น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิ โดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของ ผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | [3301-3350] | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-3964

(0.1571 sec)