Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอ่อนหวาน, อ่อน, หวาน, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอ่อนหวาน, 3964 found, display 3401-3450
  1. หมากฝรั่ง : น. ของเคี้ยวเล่นอย่างหนึ่ง ทําจากสารคล้ายยางไม้ มักหุ้มด้วย สารหวาน แล้วปรุงให้มีกลิ่นและรสต่าง ๆ เมื่อเคี้ยวจะยืดหยุ่นคล้ายยาง.
  2. หมาขี้เรื้อน : (สำ) น. คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย (ใช้กล่าว ถึงผู้อื่นด้วยความดูถูกเหยียดหยาม).
  3. หมาถูกน้ำร้อน : (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
  4. หมาไม้ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Martes flavigula ในวงศ์ Mustelidae หัวคล้ายหมา ใบหูกลม ขอบหูขาว ลําตัวยาวสีนํ้าตาลอ่อน หางยาว ขนที่คาง ลําคอ และหน้าอกสีเหลือง ขนด้านบนของหัวสีดํา เล็บ แหลมคม กินผลไม้และเนื้อสัตว์ ว่องไวมาก กลิ่นแรง อาศัยอยู่บน ต้นไม้เป็นส่วนใหญ่.
  5. หมายความว่า : ก. ตีความว่า, แปลความว่า.
  6. หมายตา : ก. มองไว้ด้วยความมั่นหมาย, มั่นหมายใจไว้.
  7. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  8. หมายหัว : ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัว ไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่น เด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ.
  9. หมายอาญา : (กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้ อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับ แล้วด้วย.
  10. หมาร่า : น. ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือ เล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือ เหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes petiolata.
  11. หมาหางด้วน : (สํา) น. คนที่ทําอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้ว ชวนให้ผู้อื่นทําตามโดยยกย่องการกระทํานั้นว่าดี ควรเอาอย่าง.
  12. หมาเห็นข้าวเปลือก : (สำ) น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวย ความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้ หรืออำนวย ประโยชน์ให้แก่ตนได้.
  13. หมิ่นประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อ ความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่า จะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.
  14. หมีเหม็น : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Litsea glutinosa (Lour.) C.B. Rob. ในวงศ์ Lauraceae ใบรูปรี มีขนนุ่ม ดอกสีเหลืองอ่อน.
  15. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  16. หมู่บ้าน : (กฎ) น. ท้องที่ที่รวมบ้านหลายบ้านให้อยู่ในความปกครอง อันเดียวกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า ปกครอง.
  17. หมูป่า : น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกําเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมู บ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่าปลายบานใช้สําหรับดุดดิน ลําตัวมี ขนดกหยาบสีดํา ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปาก กินพืช ลูกอ่อนสีนํ้าตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว ในประเทศไทย เป็นชนิด Sus scrofa พบในป่าทุกภาค.
  18. หยวก ๒ : น. ชื่อพริกพันธุ์หนึ่งของชนิด Capsicum annuum L. วงศ์ Solanaceae ผลใหญ่ป้อม เมื่ออ่อนสีเหลืองอมเขียว.
  19. หยั่งทราบ, หยั่งรู้ : ก. เล็งรู้ความจริง, ค้นหาเพื่อให้รู้ความจริง.
  20. หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
  21. หยับ, หยับ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
  22. หย่า : ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านม หย่าศึก.
  23. หยำเป : (ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคน หยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยําเป.
  24. หยิกเล็บเจ็บเนื้อ : (สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผล กระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้อง กันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.
  25. หยี ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมี เมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดํา เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดํา.
  26. หยุ : [หฺยุ] (โบ) ว. น่วม, อาการที่อ่อนจนกดบู้ลงได้.
  27. หรรษ-, หรรษา : [หันสะ-, หันสา] น. ความรื่นเริง, ความยินดี. (ส. หรฺษ).
  28. หริต : [หะริด] น. ของเขียว; ผัก, หญ้า. ว. เขียว; สีนํ้าตาล, สีเหลือง, สีเหลืองอ่อน. (ป., ส.).
  29. หรือ : สัน. คําบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง; คําประกอบกับประโยคคําถาม เช่น ไปหรือ.
  30. หฤษฎี : [หะริดสะดี] น. ความยินดี, ความปลาบปลื้ม. (ส. หฺฤษฺฏี).
  31. หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
  32. หลงลืม : ก. มีความจำเลอะเลือน, มีความจำเสื่อมจึงทำให้ลืม, มีสติเฟือน ไป.
  33. หลวง : ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
  34. หลวงพ่อ : (ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อ โสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรือ อยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.
  35. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  36. หลอกตา : ก. ทำให้เห็นขนาด ระยะทาง เป็นต้น ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น ที่แปลงนี้หลอกตา ดูเล็กนิดเดียวแต่มีเนื้อที่หลายไร่. ว. ที่ทำให้เห็น ขนาดหรือรูปร่างผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เสื้อตัวนี้หลอกตา ใส่แล้ว ดูผอม กระจกหลอกตา.
  37. หลอกเล่น : ก. แสดงกิริยาหรือวาจาเพื่อความสนุก, ล้อเล่น ก็ว่า.
  38. หลอม : [หฺลอม] ก. ทําให้ละลายด้วยความร้อน เช่น เขาหลอมทองคำด้วยไฟพ่น จากเป่าแล่น, โดยปริยายหมายถึงอบรมบ่มนิสัยให้มีจิตใจโน้มน้าวไป ทางใดทางหนึ่ง เช่น หลอมความคิด หลอมจิตใจ, หล่อหลอม ก็ว่า.
  39. หลอมตัว : ก. ละลายรวมกัน, เปลี่ยนภาวะเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น เขาใช้ไฟจากเป่าแล่นพ่นจนทองคำหลอมตัว.
  40. หละ : [หฺละ] น. ชื่อโรคที่เป็นแก่เด็กอ่อน เกิดจากสายสะดือเป็นพิษ มีอาการ ลิ้นกระด้างคางแข็ง.
  41. หละหลวม : [หฺละหฺลวม] ว. สะเพร่า, ไม่ถ้วนถี่, ไม่รอบคอบ, เช่น ทำงานหละหลวม, ไม่รัดกุม เช่น งานรักษาความปลอดภัยในพิธีนี้หละหลวมมาก.
  42. หลักชัย ๑ : น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดย ปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบ ปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
  43. หลักฐาน : น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคง อันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดง ประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้ พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).
  44. หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
  45. หลักวิชา : น. ความรู้ที่เป็นหลักของแต่ละวิชา.
  46. หลักแหลม : ว. คมคาย เช่น วาจาหลักแหลม, เฉียบแหลม เช่น ความคิด หลักแหลม, แหลมหลัก ก็ว่า.
  47. หลังฉาก : (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
  48. หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  49. หลาม ๑ : น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมี เส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
  50. หลุด : ก. ออกจากที่ที่ติดอยู่ เช่น พลอยหลุดจากหัวแหวน, พ้นจากความควบคุม อยู่ เช่น หลุดจากที่คุมขัง; (กฎ) ขาดกรรมสิทธิ์ เช่น เอาทรัพย์จํานําหลุด เป็นสิทธิ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | [3401-3450] | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-3964

(0.1145 sec)