Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอ่อนหวาน, อ่อน, หวาน, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอ่อนหวาน, 3964 found, display 3501-3550
  1. หานะ : น. ความเสื่อม, ความทรุดโทรม. (ป.).
  2. หามรอก : น. ชื่อต้นไม้ชนิด Miliusa velutina Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ใบป้อม ขนนุ่ม ดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นพวง ทุกส่วนใช้ทำยา.
  3. หาไม่ ๑ : ก. ใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า ไม่, ไม่มี, เช่น เขาจะสำนึกผิด ก็หาไม่ เขาจะมีความเกรงใจสักนิดก็หาไม่; สิ้นสุด เช่น จนกว่าชีวิตจะหาไม่.
  4. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  5. หายนะ ๑ : [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).
  6. หายห่วง : ก. ไม่ต้องเป็นห่วงอีกแล้ว, ไม่ต้องกังวลถึงอีกแล้ว, เช่น คนนี้ มีความสามารถเชื่อถือได้ เมื่อมอบงานให้แล้ว หายห่วงได้เลย; (ปาก) นานมากเช่น ใช้ให้ไปซื้อของตั้งแต่เช้า ไปเสียหายห่วงเลย, มาก เช่น เขาวิ่งทิ้งคู่แข่งหายห่วงเลย.
  7. หารือ : ก. ขอความเห็น, ปรึกษา.
  8. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  9. หาสก, หาสกะ : [-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).
  10. หาสยะ : [-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).
  11. หาสะ : น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).
  12. หิงสา : น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางที ก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  13. หิต, หิต- : [หิด, หิตะ-] น. ความเกื้อกูล, ประโยชน์. (ป., ส.).
  14. หินติดไฟ : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารน้ำมันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นำมากลั่นเอาน้ำมัน เชื้อเพลิงออกได้, หินน้ำมัน ก็เรียก.
  15. หินน้ำมัน : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารนํ้ามันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นํามากลั่นเอานํ้ามัน เชื้อเพลิงออกได้, หินติดไฟ ก็เรียก.
  16. หินแปร : น. หินที่แปรสภาพจากหินเดิม โดยการกระทําของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี.
  17. หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.
  18. หินสบู่ : น. หินแปรชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อสารประกอบด้วยแร่ทัลก์เป็นส่วนใหญ่ มีเนื้ออ่อน เอาเล็บขูดเป็นรอยได้ง่าย และลื่นมือคล้ายสบู่.
  19. หิม-, หิมะ : [หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).
  20. หิรัญญิการ์ : [หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.
  21. หิริ : [หิหฺริ] น. ความละอายใจ, ความละอายบาป. (ป.; ส. หฺรี).
  22. หิริโอตตัปปะ : [หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัว บาป, ความละอายใจ. (ป.).
  23. หีบชัก : (โบ) น. หีบไม้รูปทรงสี่เหลี่ยม ภายในมีที่ตั้งโถอุจจาระ ด้านหลัง เปิดได้เพื่อชักโถออกทําความสะอาด ตอนบนเป็นที่นั่ง มีร่องเจาะตรงกับ ปากโถตอนล่าง.
  24. หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  25. หื่น : ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).
  26. หื้อ ๑ : อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความรับรู้.
  27. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  28. หุ้นสามัญ : (กฎ) น. หุ้นธรรมดาของบริษัทจำกัด ซึ่งแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมี มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและผู้ถือหุ้นมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนหุ้น ที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  29. หุนหันพลันแล่น : น. ด่วนทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปโดยไม่ยั้งคิดด้วยความโกรธ ความโลภ เป็นต้น.
  30. หูตาสว่าง : ว. รู้เหตุการณ์ดีขึ้น, รู้ความจริงมากขึ้น.
  31. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  32. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  33. เหงือกปลาหมอ ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบ เป็นหนาม ชนิด A. ilicifolius L. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ, จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก.
  34. เหงื่อกาฬ : น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย; โดยปริยายหมายถึงเหงื่อแตกด้วย ความตกใจกลัวเป็นต้น.
  35. เหตุสุดวิสัย : น. ภาวะที่พ้นความสามารถที่ใครจะป้องกันได้.
  36. เห็นจะ : ก. คงจะ เช่น เห็นจะจริง, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เป็น ไม่เห็นจะ.
  37. เห็นใจ : ก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ ยากของผู้อื่นเช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.
  38. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  39. เห็นดำเห็นแดง : ว. ถึงที่สุดจนรู้ความจริงว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูก เป็นต้น.
  40. เห็นดีกัน : ก. เห็นว่าใครจะมีฝีมือหรือความสามารถเป็นต้นมากกว่ากัน (มักใช้ในทางท้าทาย) เช่น สักวันหนึ่งจะต้องเห็นดีกัน.
  41. เหนียง : [เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.
  42. เหนียวแน่น : ว. มีความระมัดระวังมากในการใช้จ่าย เช่น เขาเป็นคน เหนียวแน่น; แน่นแฟ้น เช่น มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสองนี้ เหนียวแน่นมาก.
  43. เหนือ : [เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอํานาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือ เหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.
  44. เหนื่อย : ก. รู้สึกอ่อนแรงลง, อิดโรย.
  45. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  46. เหมวดี : [เหมะวะดี] น. ขัณฑสกร มีลักษณะคล้ายนํ้าตาลกรวด รสหวาน ใช้ทํา ยาไทย.
  47. เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
  48. เหมาะสม : ว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.
  49. เหยียบถ้ำเสือ, เหยียบถิ่นเสือ : ก. เข้าไปในแดนผู้มีอิทธิพลโดยไม่แสดง ความยำเกรง.
  50. เหยียบย่ำ : ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำ คนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | [3501-3550] | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-3964

(0.0972 sec)