Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความอ่อนหวาน, อ่อน, หวาน, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความอ่อนหวาน, 3964 found, display 3901-3950
  1. อุษณกร : [กอน] น. ''ผู้กระทําความร้อน'' หมายถึง พระอาทิตย์.
  2. อุสภ ๑ : [อุสบ] น. วัวผู้ (เป็นเครื่องหมายแสดงความสามารถของบุรุษ ผู้นักรบ), เขียนเป็น อุสุภ ก็มี. (ป.; ส. ฤษภ, วฺฤษฺภ).
  3. อุสภ ๒ : [อุสบ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณเท่ากับ ๑ เส้น ๕ วา, ๘๐ อุสภ เป็น ๑ คาวุต. (ป.).
  4. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  5. อุเหม่ : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, เหม่ หรือ เหม่ ๆ ก็ว่า.
  6. อู้ ๒ : ก. ถ่วง, แกล้งทําให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอา ประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น).
  7. เอ ๒, เอ๊ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ สงสัย เป็นต้น.
  8. เอกจิต : [เอกะ] น. ความคิดจําเพาะถึงสิ่งอย่างเดียว, ความคิด อันหนึ่งอันเดียว, ความคิดต้องกัน, ความเห็นพ้องกัน. (ป., ส. เอกจิตฺต).
  9. เอกฉันท์ : [เอกกะ] ว. มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด.
  10. เอกรรถประโยค : [เอกัดถะ] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบท กริยาสําคัญเพียงบทเดียว.
  11. เอกลักษณ์ : [เอกกะ] น. ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน; (คณิต) ข้อความที่แสดงความเท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ สําหรับทุกค่า ของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ. (อ. identity).
  12. เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
  13. เอกัคตา : [เอกักคะ] น. ''ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว'' หมายถึง ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว. (ป. เอกคฺคตา).
  14. เอ็ด ๒ : ก. ทําเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.
  15. เอม : ว. หวาน; ชื่นใจ
  16. เอมโอช : [โอด] (กลอน) น. รสหวาน, รสอร่อย.
  17. เอ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่าพูดผิดไปเป็นต้น. ว. คําลงท้ายชื่อ หรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๋ย ก็ว่า.
  18. เอ๋ย : ว. คําลงท้ายชื่อหรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความ เอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คําที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคํากลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ย กาดํา รถเอ๋ยรถทรง.
  19. เอ่ย ๒ : ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
  20. เออ ๆ คะ ๆ : ก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราว โดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.
  21. เออแน่ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงว่า ไม่น่าจะเป็น อย่างนั้น.
  22. เออร์เบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๘ สัญลักษณ์ Er เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เป็นเงาวาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๔๙๗?ซ. ใช้ประโยชน์นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. erbium).
  23. เอ้อเฮอ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงหรือประหลาดใจเป็นต้น.
  24. เอ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความฉงน ไม่เข้าใจ หรือไม่พอใจ เป็นต้น.
  25. เอาการ ๑, เอาการเอางาน : ว. ตั้งใจทําการงานด้วยความขยันขันแข็ง.
  26. เอางาน : ก. แสดงความเคารพเจ้านายชั้นสูงโดยแบมือเอาสันมือ ลงแล้วกระดกมือขึ้นน้อย ๆ ก่อนรับของ (ใช้แก่การรับของจาก เจ้านายชั้นสูงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม).
  27. เอาชัย : ว. มุ่งให้ได้ชัยชนะฝ่ายตรงข้าม, มุ่งความเจริญ.
  28. เอาตัวรอด : ก. รักษาตัวให้พ้นจากความยากลำบาก, หลบหลีกปัญหา ยุ่งยากไปได้.
  29. เอาถ่าน : ว. ใช้การได้, เอาการเอางาน, รักดี, มักใช้ในความปฏิเสธ ว่าไม่เอาถ่าน.
  30. เอาเถอะ, เอาเถอะ ๆ, เอาเถิด ๑, เอาเถิด ๆ : น. คำพูดแสดงความ ยินยอมหรือแสดงความประนีประนอม.
  31. เอาทาร : [ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (แผลงมาจาก อุทาร).
  32. เอาทารย์ : [ทาน] น. ความมีใจโอบอ้อม, ความเป็นคนใจบุญ, ความเผื่อแผ่. (ส. เอาทารฺย).
  33. เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.
  34. เอาผิด : ก. ถือว่าเป็นความผิด.
  35. เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน : (สํา) ก. แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่ รู้เรื่องดีกว่า.
  36. เอามือซุกหีบ : (สํา) ก. หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลําบากใส่ตัว โดยใช่ที่.
  37. เอาไม่อยู่ : ก. ปกครองไม่ได้, ควบคุมไม่ได้, เช่น เด็กคนนี้ซนมาก จนพ่อแม่เอาไม่อยู่, ควบคุมให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เช่น ม้าตัวนี้ พยศมากจนเจ้าของเอาไม่อยู่, เหลือความสามารถที่จะเยียวยาได้ เช่น โรคของเขาอาการหนักมากแพทย์คงจะเอาไม่อยู่.
  38. เอาฤกษ์เอาชัย : ว. ที่มุ่งให้เกิดความสุขความเจริญหรือได้ชัยชนะ ฝ่ายตรงข้าม เช่น โห่เอาฤกษ์เอาชัย.
  39. เอาหัวเป็นประกัน : (สำ) ก. รับรองด้วยความมั่นอกมั่นใจ.
  40. เอาอยู่ : ว. เอาการ, เอาเรื่อง, เช่น ระยะทางไกลเอาอยู่, ถ้าใช้ใน ลักษณะปรารภเชิงขอความเห็นหรือแสดงความหนักใจเป็นต้น มักใช้ว่า เอาอยู่นะ เช่น ปัญหานี้ยากเอาอยู่นะ. ก. ปกครองได้, ควบคุมได้, เช่น เด็กคนนี้เกเรมาก คิดว่าจะเอาอยู่ไหม.
  41. เอียน ๑ : ว. ชวนให้คลื่นไส้ (มักใช้แก่รสหวาน). ก. เบื่อมาก เช่น ฉันเอียน หน้าเขาเต็มทีแล้ว.
  42. เอือน ๒ : น. ลักษณะของเนื้อมะพร้าวแก่ที่บาง ขรุขระเหมือนผิวมะกรูด มีรสออกหวานไม่มัน เรียกว่า มะพร้าวเป็นเอือน หรือ มะพร้าว เอือนกิน.
  43. เอื้อนวาจา, เอื้อนโอฐ ๑ : (ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมา ได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.
  44. แอ้ม : (ปาก) ก. กิน เช่น แอ้มขนมหรือยัง, ได้สมประสงค์ (มักใช้ใน ความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้แอ้ม.
  45. แอมโมเนีย : น. สารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร NH3 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี กลิ่นฉุน ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใน อุตสาหกรรมทําปุ๋ย กรดไนตริก ใยสังเคราะห์ เป็นตัวทําความเย็น. (อ. ammonia).
  46. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  47. โอชะ, โอชา : ว. มีรสดี, อร่อย. น. รสที่ซึมซาบ, เครื่องหรือสิ่งบํารุงเลี้ยงให้เกิด ความเจริญงอกงาม. (ป.).
  48. โอดโอย : ก. ร้องเพราะความเจ็บปวด, (ปาก) ร้องเรียนว่าไม่ได้รับ ความเป็นธรรมเป็นต้น.
  49. โอตตัปปะ : [โอด] น. ความเกรงกลัวบาป, มักใช้เข้าคู่กับคำ หิริ เป็น หิริโอตตัปปะ. (ป.).
  50. โอภาปราศรัย : [ปฺราไส] ก. ทักทายด้วยความสนิทสนมเป็นกันเอง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | [3901-3950] | 3951-3964

(0.1126 sec)