Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความหลากหลาย, หลาย, หลาก, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความหลากหลาย, 4015 found, display 1701-1750
  1. ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
  2. ประกาย : น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็ง บางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้น กระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยาย หมายถึงแสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจาก กระเบื้องหลังคาโบสถ์. (แผลงมาจาก ผกาย).
  3. ประการ : น. อย่าง เช่น จะทําประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทํานอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
  4. ประกิต : (แบบ) ก. แจ้งความ, ประกาศ, แสดง. (ส.).
  5. ประคัลภ์ : (แบบ) น. ความกล้า, ความสามารถ, ความคะนอง. ว. คล่องแคล่ว, ประเปรียว. (ส.).
  6. ประเคน : ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กําหนดไว้ เช่น ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอาไป ประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที.
  7. ประเคราะห์ : (แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกําราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
  8. ประจวบ : ก. จําเพาะพอดี, สบเหมาะ, บังเอิญพบ, เช่น นํ้าเหนือหลากมา ประจวบกับนํ้าทะเลหนุน นํ้าเลยท่วม.
  9. ประจาน : ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
  10. ประชด : ก. แกล้งทําให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
  11. ประชาชน, ประชาราษฎร์ : น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และ ประชาชน.
  12. ประชาทัณฑ์ : น. การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทําร้าย เป็นการลงโทษบุคคล ที่ตนเข้าใจหรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดําเนินการตามกระบวนการ ยุติธรรม.
  13. ประชาพิจารณ์ : น. การฟังความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่. (อ. public hearing).
  14. ประชาสัมพันธ์ : ก. ติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้อง ต่อกัน. น. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการนี้.
  15. ประณิธาน : น. การตั้งความปรารถนา. (ส. ปฺรณิธาน; ป. ปณิธาน).
  16. ประณิธิ : น. การตั้งความปรารถนา. (ส. ปฺรณิธิ; ป. ปณิธิ).
  17. ประดง : น. ชื่อโรคผิวหนังจําพวกหนึ่ง ทําให้คันเป็นต้น ตามตําราแพทย์ แผนโบราณว่ามีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม.
  18. ประดับ : ก. ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งต่าง ๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น เช่น ประดับ เหรียญตรา ประดับอาคารสถานที่ ประดับโคมไฟ, โดยปริยายหมาย ความว่า ประกอบ, เพิ่ม, เช่น ประดับบารมี.
  19. ประดาตาย : ว. แทบตาย ในความว่า แทบล้มประดาตาย.
  20. ประดาป : น. ความร้อน, ความร้อนใจ, ความร้อนรน; อํานาจ, ความเป็นใหญ่, เกียรติยศ. (ส. ปฺรตาป; ป. ปตาป).
  21. ประเด็น : น. ข้อความสําคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่คู่ความยกขึ้น เป็นข้ออ้างในคดี.
  22. ประทัด ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Quassia amara L. ในวงศ์ Simaroubaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกสีแดง กลีบดอกแยกจากกัน เปลือกใช้ ทํายาได้, ประทัดใหญ่ ประทัดจีน หรือ ประทัดทอง ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Russelia equisetiformis Schltr. et Cham. ในวงศ์ Scrophulariaceae ลําต้นเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นฝอย คล้ายใบสน ดอกมีหลายสี กลีบดอกเป็นหลอดแคบ ๆ, ประทัดเล็ก หรือ ประทัดฝรั่ง ก็เรียก.
  23. ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  24. ประธาน ๓ : น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาป เกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนา ประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).
  25. ประนอมหนี้ : (กฎ) ก. การที่ลูกหนี้ขอทําความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอชําระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น.
  26. ประพจน์ : น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
  27. ประพฤติ : [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
  28. ประมาท : [ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ ทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ. น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท; (กฎ) กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).
  29. ประมาทเลินเล่อ : ก. กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังหรือ ละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ.
  30. ประเมินผล : ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติ งานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง
  31. ประโมทย์ : [ปฺระโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, โดยมากใช้ ปราโมทย์.
  32. ประยุกต์ : ก. นําความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์. ว. ที่นํา ความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยา ประยุกต์. (ส. ปฺรยุกฺต; ป. ปยุตฺต).
  33. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  34. ประลอง : ก. ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกัน เช่น ประลองฝีมือ ประลองกําลัง ประลองความเร็ว.
  35. ประลัย : น. ความตาย, ความฉิบหาย, ความป่นปี้, ความย่อยยับไป. (ส. ปฺรลย; ป. ปลย).
  36. ประวรรตน์ : [ปฺระวัด] น. ความเป็นไป. (ส. ปฺรวรฺตน; ป. ปวตฺตน).
  37. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  38. ประสบการณ์ : [ปฺระสบกาน] น. ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทํา หรือได้พบเห็นมา.
  39. ประสบการณ์นิยม : [ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่า ประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้น ประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
  40. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  41. ประสาท ๒, ประสาท- ๒ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ความเลื่อมใส. (ส.; ป. ปสาท).
  42. ประสาทหลอน : น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงคนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
  43. ประสิทธิ์ประสาท : [ปฺระสิดปฺระสาด] ก. อํานวยความสําเร็จให้เกิดมีขึ้น.
  44. ประสิทธิ-, ประสิทธิ์ : [ปฺระสิดทิ-, ปฺระสิด] น. ความสําเร็จ. ก. ทําให้สําเร็จ. (ส. ปฺรสิทฺธิ).
  45. ประสิทธิภาพ : [ปฺระสิดทิพาบ] น. ความสามารถที่ทําให้เกิดผลในการงาน.
  46. ประสิทธิเม : [ปฺระสิดทิ-] น. คํากล่าวเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ หมายความว่า ขอให้สําเร็จแก่เรา.
  47. ประสีประสา : น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
  48. ประหารชีวิต : ก. ลงโทษฆ่า. (กฎ) น. โทษทางอาญาขั้นสูงสุด ที่ลงแก่ผู้กระทําความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตาม ประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิต ไปยิงเสียให้ตาย.
  49. ปรักปรำ : [ปฺรักปฺรํา] ก. กล่าวโทษหรือให้การใส่ร้ายเกินความเป็นจริง.
  50. ปรักมะ : [ปะรักกะ-] น. ความเพียร, ความบากบั่น. (ป. ปรกฺกม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | [1701-1750] | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4015

(0.0745 sec)