Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความหลากหลาย, หลาย, หลาก, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความหลากหลาย, 4015 found, display 3101-3150
  1. โศผะ : (ราชา) น. ความบวม, ความพอง, โศถะ ก็ว่า. (ส. โศผ, โศถ). น. ความงาม, ความดี. (ส.; ป. โสภณ).
  2. โศภา : ว. งาม, ดี. (ส. ว่า สว่าง, ความงาม).
  3. ส ๒ : คําประกอบหน้าคําอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).
  4. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  5. ส่งกระแสจิต : ก. อาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่ง กับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใด อย่างหนึ่ง.
  6. สงกรานต์ ๒ : [กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ใน ทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณ น้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.
  7. สงกา : น. ความสงสัย. (ป. สงฺกา; ส. ศงฺกา).
  8. สงค์ : น. ความข้องอยู่, ความเกี่ยวพัน, การติดอยู่. (ป. สงฺค; ส. สํค).
  9. สงคร : [คอน] (แบบ) น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร; ส. สํคร).
  10. ส่งใจ : ก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.
  11. สงบราบคาบ : ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้าง กระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ.
  12. สงบเสงี่ยม : ก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลา อยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
  13. ส่งพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทาง โหราศาสตร์.
  14. สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  15. สงวนปากสงวนคำ : ก. พูดด้วยความระมัดระวัง, ระมัดระวังคำพูด, เช่น จะพูดจาอะไร รู้จักสงวนปากสงวนคำไว้บ้าง ผู้อื่นจะรู้ความคิด.
  16. ส่งวิญญาณ : ก. ทำพิธีเพื่อให้วิญญาณผู้ตายไปเกิดในสุคติตามคติความ เชื่อถือของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน.
  17. ส่งสายตา : ก. มองโดยมีเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ว่าตนมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ อ้อนวอน หรือเพื่อเป็นการปรามเป็นต้น เช่น ส่งสายตาปราม ไม่ให้เพื่อนพูด.
  18. สงสาร ๒ : [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  19. สดับตรับฟัง : ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรม เทศนา.
  20. สดี : [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี. (ส. สตี).
  21. สติ : [สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).
  22. สติวินัย : น. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจําเลยไว้ซึ่ง เรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
  23. สติสัมปชัญญะ : น. ความระลึกได้และความรู้ตัว, ความรู้สึกตัวด้วย ความรอบคอบ, เช่น จะทำอะไรต้องมีสติสัมปชัญญะ.
  24. สติอารมณ์ : น. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย. (ป.).
  25. สตี : [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี; ธรรมเนียมที่ผู้หญิงชาวฮินดู เผาตัวบนกองไฟพร้อมกับศพสามีเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและ ความบริสุทธิ์.(ส.).
  26. สถาน ๒, สถานะ : [สะถานะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะ ยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะปรกติ เป็นของเหลว.
  27. สถานการณ์ฉุกเฉิน : (กฎ) น. สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ ในภาวะคับขัน หรือภาวะการรบหรือการสงคราม.
  28. สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
  29. สถาพร, สถาวร : [สะถาพอน, วอน] ว. ยืนยง, มั่นคง, เช่น ขอให้มีความสุขสถาพร สถิตสถาพร. (ส. สฺถาวร; ป. ถาวร).
  30. สธุสะ, สาธุสะ : คําเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคําอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคํา ศุภมัสดุ.
  31. สน ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น สนสองใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกหนา (Pinus merkusii Jungh. de Vriese), สนสามใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกบาง (P. kesiya Royle ex Gordon) ในวงศ์ Pinaceae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้ สนเขา ก็เรียก, พายัพเรียก จ๋วง; สนหางกระรอก (Dacrydium elatum Blume) ในวงศ์ Cupressaceae; สนฉําฉา หรือ สนญี่ปุ่น [Podocarpus macrophyllus (Thunb.) D. Don] ในวงศ์ Podocarpaceae; สนทราย หรือ สนสร้อย (Baeckea frutescens L.) ในวงศ์ Myrtaceae; สนทะเล (Casuarina'' equisetifo lia J.R. et G. Forst.) ในวงศ์ Casuarinaceae.
  32. สนตะพาย : ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทําตามด้วยความจําใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
  33. สนธิสัญญา : น. หนังสือสัญญาที่สําคัญยิ่งและทําเป็นตราสาร สมบูรณ์แบบ, ความตกลงระหว่างประเทศ; หนังสือสัญญาที่ทําขึ้น ระหว่างประเทศเอกราชตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไป. (อ. treaty).
  34. สนม ๓ : [สะหฺนม] (โบ) น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์ แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความ ควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่า ติดสนม.
  35. สนิทใจ : ว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึง รังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวม ใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.
  36. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  37. สภาพ : น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพความ เป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ, ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).
  38. สภาพธรรม : น. หลักแห่งความเป็นเอง.
  39. สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  40. ส้ม ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยว หรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
  41. สม ๒ : ใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.
  42. สมการ : [สะมะกาน, สมมะกาน] (คณิต) น. ข้อความที่แสดงความ เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ เฉพาะบางค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏ ในนิพจน์นั้น ๆ หรือการเหมือนกันของข้อความย่อย ๒ ข้อความที่ ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย =. (อ. equation).
  43. สมจริง : ว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดง บทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้ สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.
  44. สมณศักดิ์ : น. ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้น มีพัดยศเป็นเครื่องกําหนด.
  45. สมถ, สมถะ : [สะมะถะ] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย. (ป.; ส. ศมถ).
  46. สมบัติ ๑ : น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
  47. สมบัติผู้ดี : น. มารยาทของผู้ที่มีความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และ ความคิด.
  48. สมบุกสมบัน : ว. ทนลําบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบัน จึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนา อย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
  49. สมประดี, สมปฤดี, สมปฤๅดี : [สมปฺระ, สมปะรึ, สมปะรือ] น. ความรู้สึกตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสมประดี เช่น ไม่ได้สติสมประดี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
  50. สมเพช : [เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถา แล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | [3101-3150] | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4015

(0.1667 sec)