Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความหลากหลาย, หลาย, หลาก, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความหลากหลาย, 4015 found, display 3451-3500
  1. หลวง : ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
  2. หลวงพ่อ : (ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อ โสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรือ อยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.
  3. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  4. หลอกเล่น : ก. แสดงกิริยาหรือวาจาเพื่อความสนุก, ล้อเล่น ก็ว่า.
  5. หลอม : [หฺลอม] ก. ทําให้ละลายด้วยความร้อน เช่น เขาหลอมทองคำด้วยไฟพ่น จากเป่าแล่น, โดยปริยายหมายถึงอบรมบ่มนิสัยให้มีจิตใจโน้มน้าวไป ทางใดทางหนึ่ง เช่น หลอมความคิด หลอมจิตใจ, หล่อหลอม ก็ว่า.
  6. หลอมตัว : ก. ละลายรวมกัน, เปลี่ยนภาวะเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น เขาใช้ไฟจากเป่าแล่นพ่นจนทองคำหลอมตัว.
  7. หละหลวม : [หฺละหฺลวม] ว. สะเพร่า, ไม่ถ้วนถี่, ไม่รอบคอบ, เช่น ทำงานหละหลวม, ไม่รัดกุม เช่น งานรักษาความปลอดภัยในพิธีนี้หละหลวมมาก.
  8. หลักชัย ๑ : น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดย ปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบ ปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
  9. หลักฐาน : น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคง อันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดง ประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้ พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).
  10. หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
  11. หลักวิชา : น. ความรู้ที่เป็นหลักของแต่ละวิชา.
  12. หลักแหลม : ว. คมคาย เช่น วาจาหลักแหลม, เฉียบแหลม เช่น ความคิด หลักแหลม, แหลมหลัก ก็ว่า.
  13. หลังฉาก : (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
  14. หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  15. หลิน : [หฺลิน] น. ชื่อแพรจีน มีหลายชนิด.
  16. หลุด : ก. ออกจากที่ที่ติดอยู่ เช่น พลอยหลุดจากหัวแหวน, พ้นจากความควบคุม อยู่ เช่น หลุดจากที่คุมขัง; (กฎ) ขาดกรรมสิทธิ์ เช่น เอาทรัพย์จํานําหลุด เป็นสิทธิ.
  17. ห่วงคล้องคอ : น. ความรับผิดชอบที่ผูกพันอยู่.
  18. หวังใจ, หวังใจว่า : ก. คาดว่า (มักใช้ในทางที่ดี) เช่น ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่าน คงจะประสบความสำเร็จ.
  19. หวังดี : ก. มีความปรารถนาที่ดี.
  20. หวั่นใจ : ก. มีความรู้สึกพรั่นใจไปเอง, มีอาการกริ่งเกรงไป.
  21. หวั่นวิตก : ก. มีความรู้สึกกังวลใจ.
  22. หว่า ๒ : ว. คำประกอบท้ายแสดงความแคลงใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนหว่า.
  23. หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
  24. หวาดวิตก : ก. มีความกังวลใจด้วยความหวาดกลัว.
  25. หวาดเสียว : ก. รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความกลัว, หวาดกลัวจนขนลุกขนชัน. ว. ที่น่าหวาดกลัวจนขนลุกขนชัน เช่น เรื่องหวาดเสียว.
  26. หวาดไหว : ว. หมดสิ้น เช่น งานตั้งมากมายใครจะทำหวาดไหว, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่หวาดไม่ไหว หรือ ไม่หวาดไหว หมายความว่า ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว.
  27. หวานเย็น : น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิ เป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่ รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.
  28. หวานลิ้นกินตาย : (สำ) ก. หลงเชื่อคำพูดเพราะ ๆ หรือคำสรรเสริญเยินยอ จะได้รับความลำบากในภายหลัง.
  29. หวาย : น. (๑) ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ลําผิวต้นยาวทอดเลื้อย เกลี้ยงเหนียว กาบและก้านใบมีหนาม เช่น หวายตะค้าทอง (Calamus caesius Blume), หวายขม (C. viminalis Willd.) หัวใช้ทํายาได้, หวายนํ้า (Daemonorops angustifolia Mart.). (๒) ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Dendrobium วงศ์ Orchidaceae เช่น หวายตะมอย.
  30. หวา, หว่า ๑ : ว. คําประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.
  31. หวิว, หวิว ๆ : ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
  32. หวี่ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้ หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.
  33. หสน- : [หะสะนะ-] น. การหัวเราะ, ความรื่นเริง. (ป., ส.).
  34. หอการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผล กําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
  35. หอบ ๒ : ก. หายใจถี่ด้วยความเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย.
  36. หอม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียกผิดเป็น หอมแดง. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลยาว กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด.
  37. หอม ๓ : ก. เก็บ, รวบรวม, ในความว่า เก็บหอมรอมริบ.
  38. หอยเม่น : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Echinoidea ไฟลัม Echinodermata รูปทรงกลมคล้ายผลส้ม มีหนามแข็งทั่วตัว อาศัยตามแนวปะการัง มีหลายชนิดหลายสกุล เช่น ชนิด Diadema setosum, เม่นทะเล ก็เรียก.
  39. ห่อเหี่ยว : ว. มีความรู้สึกหดหู่, สลดใจ, เช่น หมู่นี้อ่านหนังสือพิมพ์มีแต่ ข่าวร้าย ๆ ทำให้รู้สึกห่อเหี่ยว.
  40. หักมุก : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่า กับกล้วยตานี ผลเป็นเหลี่ยม นิยมทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนกิน.
  41. หักหาญ : ก. หักเอาด้วยความกล้า, หักเอาด้วยอํานาจ.
  42. หัตถศิลป์ : น. ศิลปะในการผลิตสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ โดยถือความงามเป็น หลัก. (ป.).
  43. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  44. หัว ๒ : น. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทาง ดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.
  45. หัว ๓ : (โบ) ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือ หัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี.
  46. หัวกระเด็น : น. สิ่งของที่โตและเด่นกว่าเพื่อนในหมู่หนึ่งหรือกองหนึ่ง, โดยมากมักใช้แก่ผลไม้บางชนิด เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่มีความสามารถดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักเรียนห้องนี้ล้วนแต่ หัวกระเด็นทั้งนั้น.
  47. หัวขวาน ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Picidae ไต่ตามต้นไม้ โดยใช้ปากเจาะต้นไม้เพื่อหากิน แมลง ขนหางแข็งช่วยพยุงตัวขณะไต่ต้นไม้ในแนวตั้ง เจาะต้นไม้เสียงดัง มาก ทํารังในโพรงไม้ สีสวย มีหลายชนิด เช่น หัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Chrysocolaptes lucidus) หัวขวานสีตาล (Celeus brachyurus).
  48. หัวข้อ : น. ต้นเรื่อง, ส่วนสําคัญของเรื่องที่แยกออกเป็นส่วน ๆ และ กำหนด ไว้ตอนต้นเรื่อง, ใจความสําคัญ.
  49. หัวแข็ง ๑ : ว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยน ความคิด.
  50. หัวเงื่อน : น. ปมที่ทำไว้สำหรับกระตุกหรือชักออกเมื่อเวลาแก้, โดยปริยาย หมายถึงข้อความตรงที่จะต้องไขความให้กระจ่าง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | [3451-3500] | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4015

(0.0678 sec)