Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ร้อนผ่าว, ร้อน, ผ่าว , then ผาว, ผ่าว, รอน, ร้อน, รอนผาว, ร้อนผ่าว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ร้อนผ่าว, 433 found, display 251-300
  1. ฟ้าร้อง : น. เสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศขยายตัวเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็วเพราะความร้อนที่เกิดจากฟ้าแลบ.
  2. ฟ้าแลบ : น. แสงที่เกิดวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจํานวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็น เหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น.
  3. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  4. ไฟจุกตูด : (ปาก) ว. มีธุระร้อนมาก.
  5. ไฟฟ้า : น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มี สมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่.
  6. ไฟสุมขอน : น. ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่ม อยู่ในใจ.
  7. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  8. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  9. ภูเขาไฟ : น. ภูเขาที่เกิดขึ้นโดยการปะทุของหินหนืดร้อนแรงดันสูงใต้ เปลือกโลก.
  10. มดแดง : น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidae ลูกรังลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอด รวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทํารังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออก มาแล้วกัดให้เกิดแผลทําให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.
  11. มนัสดาป : [มะนัดสะดาบ] น. ความร้อนใจ. (ส.).
  12. มรสุม : [มอระสุม] น. คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยาย หมายถึงความยุ่งยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. (เทียบอาหรับ mausim).
  13. มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
  14. มหาหิงคุ์ : น. ยางของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Ferula วงศ์ Umbelliferae มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็น นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก เช่น ชนิด F. assafoetida L. และชนิด F. foetida (Bunge) Regel. (ป.; ส. หิงฺคุ).
  15. มืดหน้า : ว. มีอาการเวียนหัวเห็นอะไรพร่าไปหมด เช่น อากาศร้อน มากจนรู้สึกมืดหน้า.
  16. มือเย็น : ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ได้งอกงามดีว่า คนมือเย็น, ตรงข้ามกับ มือร้อน.
  17. แมลงวันสเปน : น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Lytta vesicatoria ในวงศ์ Meloidae เกิดขึ้นมากในฤดูร้อนในสเปนและส่วนอื่นของยุโรป ตัวยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายเต่าบ้า แต่สีเขียวปนทองหรือค่อนไปทางนํ้าเงินตลอดตัว มีสารแคนทาริดินอยู่ในตัวเช่นเดียวกับเต่าบ้า. (อ. Spanish fly).
  18. ไมกา : น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์ มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2 ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก. (อ. mica).
  19. ไมโครเวฟ : [-โคฺร-] น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวช่วงคลื่นสั้นมาก, เรียกเตาอบที่ใช้ ไมโครเวฟทำให้ร้อนว่า เตาไมโครเวฟ. (อ. microwave).
  20. ยัวะ : (ปาก) ก. เดือดดาล เช่น ชักยัวะแล้วนะ. ว. ที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความ รุ่มร้อนใจ เช่น แต่งตัวยัวะ รูปร่างยัวะ.
  21. ยาแดง : น. ยาสูบชนิดหนึ่งของจีน เส้นแดง; ยาผงชนิดหนึ่งสีแดงใช้ชง กินแก้ร้อนใน; ยาน้ำชนิดหนึ่งสีแดง สําหรับใส่แผลสด.
  22. ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  23. ยาหมู่ : น. ยาที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง มีแก่นไม้ เขี้ยวงา กระดูก เป็นต้น ใช้ฝนกินแก้ร้อนในและผิดสำแลง.
  24. ย้ำหัวเห็ด : ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท.
  25. ยิปซัม : น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4?2H2O เมื่อนํามาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐?๑๓๐?ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. (อ. gypsum).
  26. ยุคเข็ญ : น. คราวที่มีความเดือดร้อนลําเค็ญอย่างใหญ่หลวง.
  27. เย็น ๒ : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
  28. เย็นใจ : ก. สบายใจ, ไม่ยุ่งใจ, ไม่ต้องกังวลใจ, ไม่ร้อนใจ, เช่น เรื่องนี้ เย็นใจได้ สำเร็จแน่.
  29. ใยหิน : น. แร่ประเภทซิลิเกต โดยมากเป็นแคลเซียมและแมกนีเซียม ซิลิเกต ลักษณะเป็นเส้นใย ทนไฟ ใช้ประโยชน์นําไปทําวัสดุทนไฟ และฉนวนความร้อน.
  30. รนหาที่ : (ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.
  31. รบกวน : ก. ทําให้รําคาญ, ทําให้เดือดร้อน.
  32. รมดำ : ก. ใช้น้ำมันกำมะถันเป็นต้น ทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วอบด้วยความ ร้อนให้ดำ เช่น รมปืน รมพระ รมรูปหล่อโลหะ.
  33. ร่มเย็น : ว. มีความสุขสบาย, ไม่มีความเดือดร้อน.
  34. ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
  35. ระบมบาตร : ก. รมบาตรให้ดําเป็นมันเพื่อกันสนิมด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น เอากํามะถันและนํ้ามันทาบาตรแล้วรมไฟให้ร้อน.
  36. ระราน : ก. ประพฤติเป็นพาลเกเร ทำให้เดือดร้อน เช่น เขาเที่ยวระรานชาวบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ เกะกะ เป็น เกะกะระราน.
  37. ระอุ : ว. ร้อนมาก ในความว่า อากาศร้อนระอุ แผ่นดินร้อนระอุ; สุกทั่ว เช่น ข้าวระอุ.
  38. รังแก : ก. แกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่น ผู้ใหญ่รังแกเด็ก.
  39. รังควาน : ก. รบกวนทําให้รําคาญหรือเดือดร้อน เช่น คนพาลชอบรังควานคนอื่น. น. ผีที่ประจําช้างป่า, ผีตายร้ายที่สิงอยู่ในกายคนได้.
  40. รังผึ้ง : น. รังที่ผึ้งทําสําหรับอยู่อาศัยและทํานํ้าผึ้ง, รังที่คนทําให้ผึ้งอาศัย ทํารวงข้างใน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; เครื่องสําหรับระบาย ความร้อนของหม้อนํ้ารถยนต์ มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง; ดินเผาหรือเหล็ก เป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตก ลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น, ตะกรับ ก็ว่า.
  41. รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
  42. รำเพย ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Thevetia peruviana Schum. ในวงศ์ Apocynaceae มียางขาว ใบคล้ายยี่โถ ดอกสีเหลือง รูปกระบอกปากบาน ผลมีพิษ ถิ่นเดิมอยู่ในอเมริกาแถบร้อนชื้น,ดอกกระบอก หรือ ยี่โถฝรั่ง ก็เรียก.
  43. รึง : ว. ร้อน, ระอุ เช่น เถ้ารึง. ก. รัด.
  44. รุม ๑ : ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทําอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอม เมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ, ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่; กรุ่นอยู่ภายในเพราะพิษไข้ เป็นต้น เช่น เป็นไข้ร้อนรุมอยู่หลายวัน.
  45. รุม ๒, รุม ๆ : ว. อาการที่คนเริ่มจะเป็นไข้ หรือจวนจะหายแต่ยังไม่หายดี ตัวยังร้อนอยู่ บ้างนิดหน่อย เรียกว่าตัวรุม หรือ ตัวรุม ๆ, (ไฟ) อ่อน ๆ เช่น ย่างบนไฟ รุม ๆ เคี่ยวบนไฟรุม ๆ.
  46. รุมไข้ : ก. เอายาให้คนไข้กินเพื่อไม่ให้ตัวร้อนจัดหรือเย็นจัด.
  47. รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
  48. เร่าร้อน : ก. กลัดกลุ้มด้วยร้อนใจ.
  49. เริม : น. ชื่อโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ พองใสติดกันเป็น กลุ่ม มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน.
  50. เรื่อยเฉื่อย : ว. เอื่อย ๆ, ตามสบาย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่รีบร้อน, เช่น เขาเป็นคนเรื่อยเฉื่อย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-433

(0.0920 sec)