Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ดัง , then ดง, ดัง, ตํ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ดัง, 475 found, display 351-400
  1. หงุดหงิด : ว. มีอารมณ์เสียอยู่เสมอ ๆ เช่น เขาเป็นคนหงุดหงิดง่าย, มีอารมณ์เสียเพราะ ไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นไปตามกำหนดเป็นต้น.
  2. หงุบหงับ : ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยว อาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  3. หนับ : ว. มาก เช่น เหนียวหนับ, มีเสียงดังอย่างดึงของเหนียวจนขาดหรือปล่อย เช่น ดึงหนังสติ๊กดังหนับ.
  4. หนุบ, หนุบ ๆ : ว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ; อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.
  5. หมาถูกน้ำร้อน : (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
  6. หย่ง ๒, หย่ง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการ ที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  7. หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
  8. หวอ : [หฺวอ] ว. เปิดเป็นช่องเป็นโพรง เช่น นั่งอ้าปากหวอ; ให้สัญญาณเสียงดัง เช่นนั้น.
  9. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  10. หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
  11. หวาก : ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้องไห้, ว้าก ก็ว่า.
  12. หวิว, หวิว ๆ : ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
  13. หวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังเช่นนั้น เรียกว่า นกหวีด. ว. มีเสียงร้อง ดังเช่นนั้น โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง.
  14. หวือ : ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงสะเก็ดไม้กระเด็นอย่างแรง.
  15. หวูด : น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. มีเสียงดังเช่นนั้น อย่างเสียงเปิดหวูด.
  16. ห้อมล้อม : ก. โอบล้อม, แวดล้อม, เช่น ฝูงชนห้อมล้อมดาราภาพยนตร์ ชื่อดัง.
  17. หะแห้น : (วรรณ) ว. เสียงร้องของสัตว์ดังเช่นนั้น.
  18. หัวขวาน ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Picidae ไต่ตามต้นไม้ โดยใช้ปากเจาะต้นไม้เพื่อหากิน แมลง ขนหางแข็งช่วยพยุงตัวขณะไต่ต้นไม้ในแนวตั้ง เจาะต้นไม้เสียงดัง มาก ทํารังในโพรงไม้ สีสวย มีหลายชนิด เช่น หัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Chrysocolaptes lucidus) หัวขวานสีตาล (Celeus brachyurus).
  19. หางกระรอก : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียว เสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.
  20. ห่างเหิน : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกัน เหมือนเดิม, จืดจาง, เหินห่าง ก็ว่า.
  21. หินปูน : น. หินที่มีเนื้อสารเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเกือบทั้งสิ้น สารประกอบ หินดังกล่าวเกิดจากการตกตะกอนเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีก็มี และที่เกิดจาก การตกจมรวมตัวเป็นพืดใหญ่ของสัตว์ประเภทมีเปลือกหุ้มตัวเป็นแคลเซียม คาร์บอเนตก็มี.
  22. หีบเพลงปาก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบน ยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่ง ดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).
  23. หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียง ฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.
  24. หึ, หึ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  25. หุ้นกู้ : (กฎ) น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่า เท่ากัน และกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้ล่วงหน้าในอัตราเท่ากัน ทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวม ถึงตั๋วเงิน. (อ. debenture).
  26. หูดับ : ว. อาการของหูที่อื้อไปพักหนึ่งเนื่องจากได้ยินเสียงดังมาก.
  27. หูดับตับไหม้ : ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น.
  28. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  29. เหง่ง : [เหฺง่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  30. เหน่ง ๒ : [เหฺน่ง] ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงระนาดเป็นต้น.
  31. เหม่ง ๒ : ว. มีเสียงดังเช่นนั้น.
  32. เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
  33. เหมือนกับ : สัน. ดังเช่น เช่น เขาพูดเหมือนกับเห็นมาด้วยตนเอง.
  34. เหินห่าง : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกันเหมือน เดิม, จืดจาง, ห่างเหิน ก็ว่า.
  35. แหมะ ๒, แหมะ ๆ : [แหฺมะ] ว. เสียงดังอย่างเสียงน้ำหยด.
  36. แหว : [แหฺว] ว. ลักษณะของเสียงดังที่แสดงอาการดุ. ก. แผดเสียงดุ.
  37. แหะ, แหะ ๆ : ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร ได้แต่แหะ ๆ.
  38. โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
  39. โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
  40. โหวกเหวก : [โหฺวกเหฺวก] ว. มีเสียงดังเอะอะโวยวาย เช่น เรียกกันโหวกเหวก ตะโกน โหวกเหวก.
  41. โหวด ๑ : [โหฺวด] (โบ) น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. เสียงดังเช่นนั้น อย่างเสียงเปิดโหวด.
  42. อสัญญีสัตว์ : น. พรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา ดังมีกล่าวไว้ ในไตรภูมิกถา. (ป. อส?ฺ??สตฺต).
  43. ออด ๑ : ก. พรํ่าอ้อนวอน, พรํ่ารําพัน. (ปาก) น. เครื่องบอกสัญญาณที่มี เสียงดังเช่นนั้น.
  44. ออด ๒, ออด ๆ : ว. ไม่หยุดหย่อน (มักใช้แก่กริยาบ่น); เสียงดังเช่นเสียงของแข็ง ๆ เสียดสีกัน.
  45. อ๊อดแอ๊ด, อ๊อด ๆ แอ๊ด ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเปิดปิดประตูที่บานพับฝืดเป็นต้น.
  46. อั้ก, อั้ก ๆ, อั๊ก, อั๊ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกําปั้นหรือเสียง ดื่มนํ้าอย่างเร็วเป็นต้น.
  47. อาสัญ : (แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อส?ฺ? ว่า ไม่มีสัญญา).
  48. อี๊ด : ว. เสียงร้องดังเช่นนั้น.
  49. อึก ๑, อึ้ก, อึ้ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นหรือเสียงดื่มน้ำ อย่างเร็วเป็นต้น.
  50. อึง : ก. ดัง, เอ็ด, อึกทึก, แพร่งพราย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-475

(0.0686 sec)