Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แปลงร่าง, แปลง, ร่าง , then ปลง, ปลงราง, แปลง, แปฺลง, แปลงร่าง, ราง, ร่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แปลงร่าง, 477 found, display 101-150
  1. คราว ๒ : [คฺราว] ว. เรียกแมวตัวผู้ แก่ รูปร่างใหญ่ หน้าตาดุน่ากลัว และมีหนวดยาว ว่า แมวคราว.
  2. ควาย : [คฺวาย] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bubalus bubalis ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดําหรือเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและหน้าอก มีขนขาวเป็นรูปง่าม; (ปาก) โดยปริยายมักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่ แต่ไม่ฉลาด.
  3. ค็อกคัส : น. แบคทีเรียที่มีรูปร่างกลม. (อ. coccus).
  4. คอยล์ : น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อก่อ ให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. (อ. ignition coil).
  5. คัดเส้น : ก. เขียนให้ชัดเจนบนเส้นที่ร่างไว้.
  6. คับแค : น. ชื่อนกชนิด Nettapus coromandelianus ในวงศ์ Anatidae เป็น นกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย รูปร่างเล็ก อ้วนป้อม ปากสั้น ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีดํา ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ลําตัวตอนล่างสีขาว มีจุดกระสีนํ้าตาล ทํารัง ในโพรงไม้.
  7. คากรอง : น. เครื่องปกปิดร่างกายที่ทําด้วยหญ้า เช่น ควรหรือมานุ่ง คากรอง ควรแต่เครื่องทองไพศาล. (ศกุนตลา).
  8. คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
  9. คางเบือน : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดชนิด Belodontichthys dinema ในวงศ์ Siluridae รูปร่างคล้ายปลาค้าว เว้นแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปากเชิดขึ้น จะงอยปากสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ลําตัวแบนข้างมาก หลังกว้าง ลําตัวโดยเฉพาะด้านหลังสีเทาอมเขียว ข้างท้องสีเงิน มีชุกชุมตามแหล่งนํ้าใหญ่ทั่วไป, เบี้ยว อ้ายเบี้ยว หรือ ขบ ก็เรียก.
  10. ค้าว : น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือน ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทาง หาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดํา คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาว กว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
  11. เคย ๑, เคอย : [เคย] น. ชื่อสัตว์ทะเลหลายชนิดหลายสกุล มี ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดํา (Mesopodopsis orientalis) ในอันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus) ในอันดับ Decapoda ของชั้น Crustacea รูปร่างคล้ายกุ้งแต่ตัวเล็กมาก ขนาดยาว ไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด ๒ แฉก ลําตัวใสหรือขุ่น ทุกชนิดเนื้อยุ่ย เหมาะสําหรับใช้หมักเกลือทํากะปิและนํ้าเคย.
  12. โคมดอกไม้ : น. โคมที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยนำดอกไม้มาร้อยกรองให้มี รูปร่างอย่างโคมสำหรับแขวนในเทศกาลหรืองานพระราชพิธีบางอย่าง.
  13. โครง : [โคฺรง] น. ร่างของสิ่งต่าง ๆ ที่คุมกันอยู่เป็นรูป เช่น โครงกระดูก โครงว่าว.
  14. โคร่ง ๒, โคร่งคร่าง, โคร่งเคร่ง : [โคฺร่ง, -คฺร่าง, -เคฺร่ง] ว. ใหญ่โต, เร่อร่า, ไม่กะทัดรัด.
  15. โครงสร้าง : น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็น รูปร่างเดียวกัน.
  16. ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
  17. งาช้าง ๒ : น. ชื่อหอยทะเลในชั้น Scaphopoda เปลือกมีรูปร่างคล้ายงาช้าง ส่วนมาก เป็นสีขาวมีหลายชนิด เช่น ชนิด Dentalium aprinum, D. longitrorsum, ฟันช้าง ก็เรียก.
  18. ง่าม ๒ : น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
  19. ง่ามถ่อ : น. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้ หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่าง โค้งคล้ายเขาควาย มีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลง ในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ.
  20. เงาะ ๑ : น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดํา ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มี รูปร่างเช่นนั้น.
  21. จงกล : [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้าน ของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. (รูปภาพ จงกล)
  22. จ่อ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็น ช่องโค้งอยู่ภายในใช้เลี้ยงตัวไหม.
  23. จ่อคิว : (ปาก) ว. ใกล้ถึงลำดับที่จะได้หรือจะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้น (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็น
  24. จอบ ๓ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Pinnidae เปลือกค่อนข้างเปราะ รูปร่าง คล้ายซองพลู ปลายด้านหนึ่งแผ่บานออก อีกด้านหนึ่งเรียวลง สีนํ้าตาล อมเทา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Pinna bicolor, Atrina vexillum, ซองพลู ก็เรียก.
  25. จะกูด : น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่าง คล้ายพาย มีด้ามยาว, จังกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก.
  26. จะเข้ ๑ : น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
  27. จะละเม็ด ๑ : น. ชื่อปลาทะเลในวงศ์ Stromateidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลําตัวแบน ข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา (P. chinensis) หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดํา (Parastromateus niger) ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้อง เฉพาะในปลาขนาดเล็ก.
  28. จังกูด : น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่างคล้ายพาย มีด้ามยาว, จะกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก. (ข. จงฺกูต).
  29. จาตุ- : ว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
  30. จาตุร- : [จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบ หน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
  31. จ้าน : ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
  32. จำแลง : ก. แปลงตัว.
  33. จุ๊บแจง ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cerithidea obtusa ในวงศ์ Potamididae เปลือกผิวขรุขระเวียนเป็นวง รูปร่างค่อนข้างยาว ปลาย แหลม สีเทาอมดํา.
  34. จุมพรวด : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes ชนิด B. boddarti พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรม ในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
  35. จุฬา ๒ : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวกุลา ก็เรียก.
  36. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  37. ฉวะ : [ฉะวะ] (แบบ) น. ร่างสัตว์หรือคนที่ตายแล้ว, ซากศพ. (ป.; ส. ศว).
  38. ฉาบ ๑ : น. เครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะรูปร่างเป็นแผ่นกลม คล้ายจานแต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง เจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือ เส้นหนังสําหรับถือตี.
  39. ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  40. โฉม ๑ : น. รูปร่าง, ทรวดทรง, เค้า, เช่น เนื้อชาววังใช้ช้า โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้า กริกกริว. (ลอ). ว. งาม.
  41. โฉมฉาย, โฉมฉิน, โฉมเฉิด : น. รูปร่างงามเปล่งปลั่ง, รูปร่างงามสง่าผ่าเผย.
  42. โฉมเฉลา : น. รูปร่างหล่อเหลา, หญิงงามหล่อเหลา.
  43. โฉมยง : น. รูปร่างงามสง่า เช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชาย โฉมยง. (อิเหนา), หญิงงามสง่า เช่น พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพี้ยงดวงเดือน. (ลอ).
  44. ไฉน ๒ : [ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนปี่ชวา ใช้บรรเลงนำหมู่กลองชนะ สำหรับประโคมในงานพระราชทานเพลิงศพที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นต้น มีหัวหน้าเรียกว่า จ่าปี่, สรไน ก็ว่า.
  45. ชะโด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมี จํานวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒–๙๕ เกล็ด ข้างลําตัวมีแถบสีดําเรียงคู่กันจากนัยน์ตาถึงหาง ระหว่างแถบ เป็นสีแดง แถบนี้อาจแตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก.
  46. ชะมด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและ ขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้ นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดํา(V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  47. ช้างน้ำ : น. สัตว์ในนิยาย มีรูปร่างเหมือนช้าง มีงวงและ งาคล้ายช้าง หางเป็นปลา.
  48. ชิงฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีหนวด ชนิด Mylopharyngodon aethiops ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ลําตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลําคอเพียงแถวเดียว ที่สําคัญ คือ ทั่วลําตัวและครีบสีออกดํา มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
  49. ซวดทรง : (โบ) น. ทรวดทรง, รูปร่าง, สัณฐาน.
  50. ซอง : น. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทําขึ้นสําหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่ บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสําหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่งบุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็ง ก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่าง คล้ายกระบอก แต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทําด้วยไม้ไผ่ เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สําหรับใส่ หัวผักกาดเค็มเป็นต้น. (รูปภาพ ซอง)
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-477

(0.0939 sec)