Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แปลงร่าง, แปลง, ร่าง , then ปลง, ปลงราง, แปลง, แปฺลง, แปลงร่าง, ราง, ร่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แปลงร่าง, 477 found, display 201-250
  1. บิดเบี้ยว : ว. บิดจนผิดรูปผิดร่างไปมาก เช่น หน้าตาบิดเบี้ยว รูปร่างบิดเบี้ยว.
  2. บี้แบน : ว. แบนจนผิดรูปผิดร่างเพราะถูกกดหรือทับ.
  3. บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  4. บุหงา : [-หฺงา] น. ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มีมะลิ กระดังงา กุหลาบ เป็นต้น ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ ทําเป็น รูปร่างต่าง ๆ. (ตัดมาจาก บุหงารําไป).
  5. บุหงารำไป : น. ดอกไม้ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้า โปร่งเล็ก ๆ ทําเป็นรูปร่างต่าง ๆ, มักเรียกย่อว่า บุหงา. (ช.).
  6. บู่ : น. ชื่อปลาจําพวกหนึ่งในหลายสกุลและหลายวงศ์ มีตั้งแต่ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก รูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน มีทั้งใน ทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด เช่น บู่จาก หรือ บู่ทราย (Oxyeleotris marmorata) ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือ บู่ลูกทราย (Glossogobius spp.) ในวงศ์ Gobiidae, บู่รําไพ (Vaimosa rambaiae) และ บู่ทะเล หรือ บู่ขาว (Acentrogobius caninus).
  7. เบอะบะ : ว. ซึมเซ่อ เช่น หน้าตาเบอะบะ; อ้วนใหญ่เทอะทะ ไม่ได้ส่วน เช่น รูปร่างเบอะบะ.
  8. เบิกเรือ : ก. ถ่างเรือที่ขุดเป็นรูปร่างแล้วให้ปากผายออกโดยวิธี สุมไฟให้ร้อน.
  9. เบื้อ ๒ : น. สัตว์ในนิยายเล่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายคน แต่ไม่มีสะบ้าหัวเข่า พูดไม่ได้, โดยปริยายเรียกผู้ที่นิ่งเฉยไม่พูดไม่จาเหมือนตัวเบื้อว่า เป็นเบื้อ เช่น นั่งเป็นเบื้อ.
  10. แบคทีเรีย : น. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ไม่มีผนังห่อหุ้มนิวเคลียส มีรูปร่างกลม เป็นท่อน โค้ง หรือเป็นเกลียว, บัคเตรี ก็ว่า. (อ. bacteria).
  11. แบ่งภาค : ก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลาย ร่างโดยเอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็น คําเปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่ง ภาคไปทําได้ ไม่สามารถแบ่งภาคไปทําได้.
  12. แบบบาง : ว. อ้อนแอ้น, เอวบางร่างน้อย, ไม่แน่นหนาหรือไม่คงทน.
  13. ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
  14. ใบจอง : (กฎ) น. หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดิน ชั่วคราวในเขตท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเขตสํารวจที่ดิน หรือ ในกรณีที่สภาพของที่ดินเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นผู้ออกให้.
  15. ประกอบ : ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ประกอบรถยนต์; ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสมหรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น อธิบายประกอบ.
  16. ประชามติ : น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชน ที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสําคัญที่ได้ผ่าน สภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสําคัญในการบริหาร ประเทศ. (อ. referendum).
  17. ประทัด ๑ : น. เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทําด้วยกระดาษสีแดงอัดแน่นห่อดินปืน รูปร่างคล้ายบุหรี่ มีชนวนสําหรับจุด มีเสียงดัง, ลักษณนามว่า ดอก เช่น ประทัด ๒ ดอก.
  18. ประเปรียว : ว. มีรูปร่างหรือท่าทางปราดเปรียว, มีลักษณะแคล่วคล่องว่องไว.
  19. ปรึกษา : [ปฺรึกสา] ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนํา, พิจารณาหารือกัน, พิจารณาอภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคําพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา (ในทางศาล). น. เรียกความเห็นแนะนําที่ให้เนื่อง ด้วยการหารือว่า คําปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนําว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับหารือเพื่อให้ความเห็นแนะนําว่า ผู้รับปรึกษา. (ส. ปรีกฺษา).
  20. ปลวก : [ปฺลวก] น. ชื่อแมลงในอันดับ Isoptera รูปร่างคล้ายมด แต่ส่วนท้อง กับอกมีขนาดไล่เลี่ยกัน หนวดมีลักษณะเป็นปล้องกลมคล้ายลูกปัด ไม่หักงอเป็นข้อศอกเหมือนมด ส่วนใหญ่ตัวสีขาวหรือครีม ไม่ชอบ แสง อาศัยทํารังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนพื้นหรือใต้ดิน มักจะเอา ดินมาสร้างคลุมทางเดิน บางชนิดทําลายไม้ ต้นไม้ ฯลฯ.
  21. ปลา ๑ : [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วน หัว ลําตัว และหาง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือกยกเว้นปลาปอด มี ครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่าง ลักษณะ ขนาดและพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
  22. ปลาเงินปลาทอง : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus ในวงศ์ Cyprinidae ซึ่งมีประวัติการคัดเลือกพันธุ์ในต่างประเทศ กันมานานนับพันปีจนมีลักษณะรูปร่างแปลกเพื่อเลี้ยงเป็นปลา สวยงามหรือปลาปล่อย เกล็ดทั่วลําตัวมักมีสีเงินหรือทอง แต่ก็อาจ เป็นสีดําหรือด่าง ตัวที่มีสีเหลืองหรือแดงส้ม เรียก ปลาทอง.
  23. ปลาติดหลังแห : (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ.
  24. ปลิงทะเล : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Holothuroidea ลำตัวยาว อ่อนนุ่ม รูปร่างทรงกระบอกยืดหดได้ หัวท้ายยาวรี อาศัยอยู่ใน ทะเล บางชนิดรับประทานได้ เช่น ปลิงขาว (Holothuria scabra) ปลิงดํา (H. atra) ในวงศ์ Holothuriidae.
  25. ป่อง ๑ : น. ชื่อแมงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Scorpionida หัวติด กับอกเป็นส่วนเดียวกัน รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมยาว ส่วนท้อง เป็นปล้อง ๆ ขนาดไล่เลี่ยกับอก ๗-๘ ปล้อง ส่วนที่เหลือเล็กลงต่อ กันยาวคล้ายหาง ที่ปลายมีเหล็กในสามารถต่อยให้เจ็บปวดได้ มีขา ๔ คู่ ด้านหน้ามีส่วนของปากขยายใหญ่โตกว่าขา ลักษณะเหมือน ก้ามปูใช้สําหรับจับเหยื่อ.
  26. ปะการัง : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
  27. ปาด ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบก ในวงศ์ Rhacophoridae รูปร่างคล้ายเขียดแต่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ปลายนิ้วแบนช่วยใน การเกาะ ทํากองฟองวางไข่ตามกิ่งไม้ชายนํ้า มีหลายชนิด เช่น ชนิด Rhacophorus leucomystax ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบิน (R. nigropalmatus), เขียดตะปาด ก็เรียก.
  28. ป้ำป้อ : ว. มีรูปร่างเทอะทะ.
  29. ปี่กลาง : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว ๓๗ เซนติเมตร กว้างราว ๔ เซนติเมตร.
  30. ปี่ชวา : [-ชะวา] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งที่ได้แบบมาจากชวา รูปร่างลักษณะ ทุกอย่างคล้ายปี่ไฉน แต่มีขนาดยาวกว่า.
  31. ปี่นอกต่ำ : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ มีรูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว ๓๔ เซนติเมตร กว้างราว ๓.๕ เซนติเมตร.
  32. ปี่ใน : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก เป็นปี่ ขนาดใหญ่ที่สุด ยาวราว ๔๑-๔๒ เซนติเมตร กว้างราว ๔.๕ เซนติเมตร เป็นปี่ที่ใช้กันมากที่สุด.
  33. เป็ด ๓ : น. ชื่อเรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้ายแบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่องดูรูปร่างคล้ายเป็ด, อีเป็ด ก็เรียก.
  34. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  35. แปรญัตติ : ก. แก้ถ้อยคําหรือเนื้อความในร่างกฎหมายที่สภารับ หลักการแล้ว.
  36. โป่ง : น. ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลมหรือแก๊ส เช่น ลูกโป่ง; พื้นดินที่มี เกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีโป่ง เรียกว่า ป่าโป่ง ดินโป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีโป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้าง คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่งว่า นั่งโป่ง, ป่ง ก็ว่า; เรียกพื้นดินที่มีนํ้าผุด พุขึ้นมาว่า โป่งน้ำ โป่งนํ้า และเรียกนํ้าที่ผุดพุขึ้นมานั้นว่า นํ้าโป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ ป่ง ก็ว่า. โป่งค่าง น. สัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายค่างแต่ใหญ่กว่ามาก ชอบ ออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า เชื่อกัน ว่าเป็นผีโป่งชนิดหนึ่ง.
  37. ไปวัดไปวาได้ : (สํา) ว. มีรูปร่างหน้าตาดีพอจะอวดเขาได้.
  38. ผิดเพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย, คลาดเคลื่อน, เพี้ยน ก็ว่า. ผิดมนุษย์มนา ว. ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดาสามัญ เช่น รูปร่าง ใหญ่โตผิดมนุษย์มนา มีพละกำลังผิดมนุษย์มนา.
  39. แผลง : [แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลง พยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คําแผลง.
  40. พรวน ๓ : [พฺรวน] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo pruol ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์ ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน. (ข.).
  41. ร่าง : [พฺร่าง] ว. แวววาวพร่าไปหมด.
  42. พอก ๓ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Perigrypta วงศ์ Veneridae รูปร่าง และเปลือกหนาคล้ายหอยตลับ แต่ผิวเปลือกนอกสาก สีครีม เช่น ชนิด P. puerpera.
  43. พาน ๑ : น. ภาชนะมีเชิงประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด บางชนิดมีรูปทรงคล้าย จาน บางชนิดมีรูปทรงคล้ายขัน เชิงมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ใช้สําหรับ ใส่สิ่งของมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น.
  44. พิกล : ว. ผิดปรกติ, แปลกไป, เช่น รูปร่างพิกล ทำท่าพิกล พูดพิกล. (ป., ส. วิกล ว่า ขาดแคลน, อ่อนแอ).
  45. พิมปะการัง : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Pholas orientalis ในวงศ์ Pholadidae รูปร่างค่อนข้างยาว สามารถใช้เปลือกขุดดินให้เป็นรูอยู่ได้, พิมพการัง ก็เรียก.
  46. พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
  47. พิราบ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่าง คล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบน พื้นดิน กินเมล็ดพืช ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia. (ส. วิราว, พิราว, พิราพ ว่า เสียงร้อง).
  48. พิลึก : ว. ผิดปรกติ เช่น ทำพิลึก ท่าทางพิลึก, แปลกประหลาด เช่น รูปร่าง พิลึก.
  49. พิษ, พิษ : [พิด, พิดสะ] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความ เดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทํา ให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).
  50. เพรียง ๒ : [เพฺรียง] น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังประเภทสัตว์ขาปล้อง มีหลายชนิดในอันดับ Thoracica เปลือกหุ้มตัวมี ๖ แผ่น เรียงซ้อน กัน รูปร่างของเปลือกมีหลายแบบ เช่น รูปกรวยควํ่า มีปากเปิดด้าน บน เปลือกบริเวณปากบางและคม เกาะอยู่ตามหินและวัสดุอื่น ๆ ที่นํ้าท่วมถึง เช่น ชนิด Balanus amphitrite ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่ฐานประมาณ ๑ เซนติเมตร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-477

(0.0977 sec)