Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แปลงร่าง, แปลง, ร่าง , then ปลง, ปลงราง, แปลง, แปฺลง, แปลงร่าง, ราง, ร่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แปลงร่าง, 477 found, display 401-450
  1. จอมสุรางค์ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  2. ดีดลูกคิดรางแก้ว : (สํา) ก. คิดถึงผลที่จะได้ทางเดียว.
  3. ภิรมย์สุรางค์ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  4. ลำราง : น. ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือ ระบายน้ำออกจากนา.
  5. วรางคณา : น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.).
  6. หมาสองราง : (สํา) น. คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่าย.
  7. กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
  8. เงา ๆ : ว. ราง ๆ.
  9. ชรราง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ราง ๆ เช่น แฝงข่าวยินเยียชรราง. (แช่งนํ้า).
  10. ระนาด ๑ : น. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัว ท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง ใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้น ยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗–๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่ง เรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.
  11. สลัว, สลัว ๆ : [สะหฺลัว] ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ในห้องมีแสงสลัวมองเห็นได้ ราง ๆ ใกล้ค่ำมีแสงสลัว ๆ.
  12. หน้าไม้ : น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและ ราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้.
  13. ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  14. เปลี่ยนแปลง : [-แปฺลง] ก. ทําให้ลักษณะต่างไป.
  15. กระยาง ๑ : น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
  16. กราง ๑ : [กฺราง] ก. ถูไปถูมาด้วยบุ้ง ตะไบ หรือหนังกระเบน.
  17. กราง ๒ : [กฺราง] (โบ; กลอน) ว. เสียงอย่างเสียงใบตาลแห้งที่ถูกลมพัด กระทบกัน เช่น ด่งงไม้รงงรจิตร อันอยู่ชชิดทางเทา ร่มเย็นเอาใจโลกย์ ลําโล้โบกใบกราง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  18. กะราง, กะลาง : น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวขนาดนกเอี้ยง หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน มีหลายชนิด เช่น กะรางหัวหงอก (Garrulax leucolophus) กะรางคอดํา (G. chinensis). (ในรําพันนามพฤกษา ฯลฯ ว่ากะราง, ในพระลอ ว่า กะลาง).
  19. กะรางหัวขวาน : น. ชื่อนกชนิด Upupa epops ในวงศ์ Upupidae ปากยาวแหลมโค้งสีดํา หงอนสีส้มขอบดํา ลักษณะหงอน เหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลําตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบดําขาวสลับกัน, การางหัวขวาน ก็เรียก.
  20. เกรินบันไดนาค : น. เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญพระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง.
  21. ข้าวเม่า ๑ : น. ข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำ ให้แบน, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง, ข้าวเม่าราง ทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้หั่นทอด เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่.
  22. เข้าลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น.
  23. โขน ๒ : น. ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า โขนเรือ; เรียกเรือ ชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย. (ลิลิตพยุหยาตรา); ส่วนสุดทั้ง ๒ ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวงที่งอนขึ้น.
  24. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  25. คราง ๒ : [คฺราง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Scapharca inaequivalvis ในวงศ์ Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ที่เปลือกมีขน อาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่มีโคลนปนทราย.
  26. จราง : [จะราง] (แบบ) ก. ผุดขึ้น เช่น ลางส่ำจรางมันผัน ม่ายม้า. (ยวนพ่าย). (ข. จฺรางว่า ตั้งขึ้น, ขนชัน).
  27. ดินหู : น. ดินปืนอย่างแรง ใช้โรยที่รางชนวนในการยิงปืนคาบศิลาสมัย โบราณ.
  28. ท้องร่อง : น. ทางนํ้าที่ขุดลงไปเป็นลํารางเพื่อขังนํ้าไว้รดต้นไม้เป็นต้น.
  29. ทางสาธารณะ : (กฎ) น. ทางบกหรือทางนํ้าสําหรับประชาชนใช้ใน การจราจร และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถ เดินสําหรับประชาชนโดยสารด้วย.
  30. ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  31. บรรยากาศ : น. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความ ถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กําหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่าเท่ากับความดันของลําปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐?ซ. ณ ระดับทะเลที่ละติจูด ๔๕? หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.
  32. บังสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
  33. บาร์ ๑ : (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๑๐๖ ดายน์ ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๕ นิวตันต่อตารางเมตร; (ธรณี) หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖ เซนติเมตรต่อวินาที ต่อ วินาที. (อ. bar).
  34. เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  35. ปราง : [ปฺราง] น. แก้ม; มะปราง.
  36. ปรางค์ : [ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด และมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.
  37. ปรางคณะ : [ปฺรางคะนะ] น. คณะ, สํานัก; สนาม; พื้นอย่างพื้นเรือน. (ส.).
  38. ปรางค์ปรา : [ปฺรางปฺรา] (กลอน) ตัดมาจาก ปรางค์ปราสาท.
  39. ปลัง : [ปฺลัง] น. ชื่อไม้เถาชนิด Basella alba L. ในวงศ์ Basellaceae ใบอวบนํ้า เถาและใบสีเขียวอ่อนหรือแดง มียางเป็นเมือก ผลสุก สีม่วงดํา ยอดและดอกอ่อนกินได้และใช้ทํายาได้, ผักปลัง ก็เรียก, พายัพเรียก ปั๋ง.
  40. ปลิง ๑ : [ปฺลิง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในวงศ์ Hirudinidae ตัว ยืดหดได้คล้ายทาก เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีหลายชนิด เช่น ชนิด Hirudo medicinalis, Hirudinaria manillensis; เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับ ตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ตัวปลิง ก็เรียก.
  41. ผลง : [ผฺลง] ก. ปลิดปลง, ฆ่าให้ตาย.
  42. ผ่อง ๑ : ว. ปลั่ง, ปราศจากมลทิน, ไม่ขุ่นมัว, เช่น ผิวผ่อง หน้าผ่อง ขาวผ่อง.
  43. ฝาไหล : น. แผ่นไม้กระดานวางตามแนวยืน แต่ละแผ่นเว้นช่องว่าง เท่าความกว้างของไม้แผ่นหนึ่งตลอดทั้งแผง ฝาชนิดนี้ประกอบด้วย แผงดังกล่าววางชิดและซ้อนขนานกันในรางซึ่งเลื่อนเปิดปิดได้.
  44. พราง : [พฺราง] ก. ทําให้เข้าใจเป็นอื่น, ทําให้เลือน, เช่น พรางตัว พรางไฟ.
  45. มะปราง : [-ปฺราง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bouea macrophylla Griff. ในวงศ์ Anacardiaceae ใบคล้ายใบมะม่วงแต่เล็กกว่า ปลายใบแหลม ผลสุกสีเหลืองอมแดง พันธุ์รสเปรี้ยวจัดเรียก กาวาง, พันธุ์รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เรียก มะยง, พันธุ์รสหวานแหลมเรียก มะยงชิด.
  46. มิลลิบาร์ : (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ มิลลิบาร์มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ ดายน์ ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๐ นิวตันต่อตารางเมตร. (อ. millibar).
  47. เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
  48. ไม้หมอน : น. ไม้กลมยาวสำหรับรองรับของเวลาเคลื่อนย้าย; ท่อนไม้สี่เหลี่ยม สําหรับหนุนหรือรองรับรางรถไฟ.
  49. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  50. รถถ่อ : น. ยานพาหนะชนิดหนึ่งสำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้ถ่อค้ำยัน ให้แล่นไปบนรางรถไฟ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-477

(0.0971 sec)