Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระเพาะอาหาร, กระเพาะ, อาหาร , then กรพาอาหาร, กระเพา, กระเพาะ, กระเพาะอาหาร, อาหาร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระเพาะอาหาร, 488 found, display 251-300
  1. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  2. เนื้อเปื่อย : น. เนื้อวัวที่ต้มจนเปื่อยใช้ประกอบอาหาร.
  3. เนื้อหา : น. ใจความสําคัญ, ข้อสําคัญ, สาระสําคัญ; วงเงินตามข้อตกลงที่ จ้างหามา รวมทั้งค่ารถค่าอาหาร เป็นต้น (มักใช้แก่การมหรสพ เช่น ลิเก ละคร).
  4. แน่นท้อง : ว. อึดอัดท้องเพราะกินอาหารมากเป็นต้น.
  5. ไนต์คลับ : น. สถานเริงรมย์ที่เปิดเวลากลางคืน ขายอาหาร เครื่องดื่ม มีดนตรี และมักจัดให้มีการแสดงด้วย. (อ. nightclub).
  6. บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
  7. บ๊ะจ่าง : น. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ.).
  8. บะหมี่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
  9. บาตร : [บาด] น. ภาชนะชนิดหนึ่งสําหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหาร บิณฑบาต. (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
  10. บึ่ง ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่ หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือด คนและสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล และในป่าทึบ ที่สําคัญได้แก่ สกุล Phlebotomus วงศ์ Psychodidae, สกุล Simulium วงศ์ Simuliidae, สกุล Lepto conops และ Culicoides วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
  11. บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
  12. เบียน : ก. รบกวน, ทําให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคํา เบียด เป็น เบียดเบียน; (โหร) เปลี่ยนแปลง เช่น ดาวพระศุกร์ถูกราหูเบียน. น. เรียกสัตว์ หรือพืชที่อาศัยอยู่ภายนอกหรือภายในสัตว์หรือพืชอื่นโดยแย่งกิน อาหารว่า ตัวเบียน.
  13. เบื่อ ๒ : ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร.
  14. เบื้อง ๒ : น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่ง ทําโดยละเลงแป้งที่ผสมดีแล้วลงบน กระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอ กัน ใส่ไส้หวานหรือไส้เค็มแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้อง หรือ ขนมเบื้องไทย.
  15. เบื้องญวน : น. ชื่ออาหารว่างแบบญวนชนิดหนึ่ง ใช้วิธีกรอกแป้ง ลงบนกระทะให้บางกรอบ ใส่ไส้กุ้งแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้อง ญวน.
  16. ใบไม้ ๑ : น. ส่วนของพืชที่มีหน้าที่หายใจ คายนํ้า เก็บอาหาร สืบพันธุ์.
  17. ใบไม้ ๓ : น. ชื่อพยาธิทางเดินอาหารในอันดับ Digenea มีหลายสกุลและ หลายวงศ์ ลําตัวแบนคล้ายใบไม้ เป็นพยาธิที่ทําอันตรายต่อระบบ ทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะตับ ถุงนํ้าดีและท่อ นํ้าดี มีหลายชนิด เช่น ชนิด Fasciola hepatica, Opisthorchis sinensis, Fasciolopsis buski.
  18. ประเคน : ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กําหนดไว้ เช่น ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอาไป ประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที.
  19. ประณีต : ว. ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทําอย่าง ประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอัน ประณีต. (ส. ปฺรณีต; ป. ปณีต).
  20. ปริณามัคคิ : น. ไฟธาตุที่ย่อยอาหาร. (ป.).
  21. ปลาจีน : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae โดยเฉพาะที่ชาวจีนจากประเทศจีนได้นําเข้ามาเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น ปลาเฉาฮื้อ (Ctenopharyngodon idellus) ปลาซ่งฮื้อ (Aristichthys nobilis) ปลาเล่งฮื้อ (Hypophthalmichthys molitrix) ทั้งยังอาจหมายถึง ปลาหลีฮื้อ หรือ ปลาไน (Cyprinus carpio) ด้วย.
  22. ป่วน : ก. มวน, อลวน, อาการที่ปวดมวนอยู่ในท้องเพราะอาหารเป็นเหตุ.
  23. ปศุ : [ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสําหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).
  24. ป้อน : ก. เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน, โดยปริยายหมายถึง กิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินป้อน; ส่งวัตถุดิบแก่ โรงงานเพื่อให้เครื่องจักรผลิตเป็นสิ่งสําเร็จรูปหรือทําให้เครื่องจักร เกิดพลังงาน.
  25. ปัง ๑ : น. อาหารชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งผสมเชื้อ เรียกว่า ขนมปัง. (โปรตุเกส p?o, เทียบฝรั่งเศส ว่า pain).
  26. ปัจฉาภัต : น. เวลาภายหลังบริโภคอาหาร คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป. (ป.).
  27. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  28. ปากกว้าง : น. ชื่องูนํ้าชนิด Homalopsis buccata ในวงศ์ Colubridae กินปลาเป็นอาหาร มีพิษอ่อนมาก.
  29. ปากห่าง : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans ในวงศ์ Ciconiidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกาบบัวแต่ตัวเล็กกว่า ลําตัวสีเทาอมขาว แต่ จะเป็นสีเทาเข้มในฤดูผสมพันธุ์ ปากหนาแหลมตรง เมื่อจะงอยปาก สบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน ทั้งนี้เพื่อ สะดวกในการคาบเหยื่อ กินหอยเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะหอยโข่ง มีที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เป็นจํานวนมาก.
  30. ปุ้ย : น. ลักษณะแก้มที่ตุ่ยออกมาเช่นในเวลากินอาหาร; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ของลับหญิง.
  31. ปุ๋ย ๑ : น. สิ่งที่ใส่ลงไปในดินหรือให้ธาตุอาหารพืชหนึ่งหรือหลายธาตุ.
  32. ปุ๋ยเคมี : น. ปุ๋ยที่ผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมีให้มีธาตุอาหาร หลักเพียงธาตุเดียวหรือหลายธาตุ; (ปาก) ปุ๋ยวิทยาศาสตร์.
  33. ปุ๋ยหมัก : น. ปุ๋ยที่ได้จากนำเศษอินทรียวัสดุมากองสุมไว้ รดน้ำ ให้ชื้นและทิ้งไว้ให้เกิดการสลายตัวโดยการกระทำของจุลินทรีย์ อาจผสมสารเคมีเข้าไปด้วยเพื่อให้มีธาตุอาหารเพิ่มขึ้นหรือให้ อินทรียวัสดุสลายตัวเร็วขึ้น.
  34. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  35. เปราะ ๑ : [เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและ ทํายาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.
  36. เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
  37. เปรี้ยวหวาน : น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ใช้ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ หอมใหญ่ ผัดกับเนื้อสัตว์ ปรุงให้มีรสออกเปรี้ยวและหวาน.
  38. เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
  39. แป้ง : น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดได้จากเมล็ดพืช ผลไม้ และรากไม้ เป็นต้น ใช้เป็นอาหาร, ผงขาว ๆ ที่ทําด้วยหินเป็นต้น สําหรับผัดหน้า.
  40. แป้งเปียก : น. แป้งเจือเกลือเล็กน้อยตั้งไฟกวนให้ข้น ใช้เป็น อาหาร, แป้งที่ตั้งไฟกวนให้ข้นเหนียว ใช้แทนกาว.
  41. แป๊ะซะ : น. ชื่ออาหารใช้ปลานึ่งจิ้มนํ้าส้มกินกับผัก. (จ.).
  42. โปร่งฟ้า : [โปฺร่ง-] น. ชื่อไม้เถามีรากสะสมอาหารชนิด Asparagus setaceus (Kunth) Jessop ในวงศ์ Asparagaceae กิ่งเป็นเส้นเล็กละเอียดโปร่ง ออกเป็นแผงคล้ายใบ ใบเป็นเกล็ดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ปลูกเป็น ไม้ประดับ.
  43. โป๊ะแตก : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา.
  44. ผงชูรส : น. เกลือกรดชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต หรือโมโนโซเดียมกลูทาเมต มีสูตร HOOC(CH2)2CH(NH2) COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร.
  45. ผลาหาร : [ผะลาหาน] น. อาหารคือลูกไม้.
  46. ผัก : น. พืชที่ใช้เป็นอาหาร; ใช้เป็นคํานําหน้าชื่อพืชบางจําพวก เช่น ผักกาด ผักกูด ผักปลาบ ผักหนอก.
  47. ผัด : ก. เอาสิ่งที่ใช้เป็นอาหารใส่ลงในกระทะที่มีนํ้ามันหรือนํ้าเล็กน้อย ตั้งไฟแล้วพลิกกลับไปมาจนสุก เช่น ผัดข้าว ผัดหมี่, เรียกอาหาร ที่ทําด้วยวิธีการเช่นนั้น เช่น ข้าวผัด หมี่ผัด; ย้ายไปย้ายมา, หมุน ไปมา, ล่อให้ไล่; ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้; เอาแป้งลูบ ที่หน้าเพื่อให้นวล เช่น ผัดหน้า.
  48. ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
  49. ผ้าขี้ริ้ว ๑ : น. ชื่อกระเพาะอย่างหนึ่งของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัว ควาย เป็นต้น; ผ้าเก่าขาดที่ใช้เช็ดถูเป็นต้น.
  50. ผ้าเช็ดมือ : น. ผ้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสำหรับเช็ดมือหรือเช็ดปาก ที่โต๊ะอาหาร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-488

(0.0975 sec)