Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลวง , then หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลวง, 495 found, display 401-450
  1. เพ็จ ๒ : ก. เผล็ด, ผลิ, เช่น พิเภทเพ็จผกากาญจน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  2. เพณี : น. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. เวณิ).
  3. ไพชยนต์ : [ชะยน] น. ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์; ปราสาททั่วไปของ หลวง; ธงของพระอินทร์. (ส. ไวชยนฺต, ไวชยนฺตี; ป. เวชยนฺต).
  4. ไพร่สม : (โบ) น. ชายฉกรรจ์ อายุครบ ๑๘ ปี เข้ารับราชการทหาร ฝึกหัดอยู่ ๒ ปี แล้วย้ายมาเป็นไพร่หลวง.
  5. ไพร่ส่วย : (โบ) น. พวกไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าประจําการ แต่ต้องหาสิ่งของใช้ในราชการส่งมาแทนทุกปี.
  6. มนทิระ, มนทิราลัย : [มนทิระ] (แบบ) น. เรือนหลวง. (ป., ส.).
  7. มนเทียร : [มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).
  8. มองโกเลีย : น. ชื่อประเทศอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจีน มีเมืองหลวงชื่อ อูลานบาตอร์ เดิมเรียกว่า มองโกเลียนอก ส่วนมองโกเลียใน ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน,เรียกประชาชนในประเทศนั้นว่า ชาวมองโกเลีย. (อ. Mongolia).
  9. มันทิระ, มันทิราลัย : น. มนเทียร, เรือนหลวง. (ป., ส.).
  10. มีดดาบ : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอน ขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียก ต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียง ปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.
  11. มือสะอาด : (สํา) ว. มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกง หรือฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  12. เมรุ, เมรุ- : [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
  13. เมียน้อย : (ปาก) น. หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวง หรือไม่ได้จดทะเบียน.
  14. โมกใหญ่ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เปลือกใช้ทํายาได้, มวกใหญ่ หรือ มูกหลวง ก็เรียก.
  15. โมงครุ่ม : น. การเล่นมหรสพอย่างหนึ่ง มีในงานหลวง เช่น ในพระราชพิธีโสกันต์เป็นต้น.
  16. ยาดา : น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตร ก็ดี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. ยาตา).
  17. ยุกดิ, ยุกติ : (แบบ; กลอน) ก. ชอบ เช่น รุ่งนั้นธก็เสด็จโดยอุตราภิมุข ดําเนอรยุกติ ยูรยาตร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ส. ยุกฺติ; ป. ยุตฺติ).
  18. ยุคเข็ญ : น. คราวที่มีความเดือดร้อนลําเค็ญอย่างใหญ่หลวง.
  19. ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
  20. ระเบ็ง ๑ : น. การมหรสพชนิดหนึ่งของหลวง ที่แสดงในงานพระราชพิธีสมโภช เช่น พระราชพิธีโสกันต์.
  21. ระเบียง : น. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม; โรงแถวที่ล้อมรอบ อุโบสถหรือวิหาร, ถ้าเป็นอารามหลวง เรียกว่า พระระเบียง. ว. เรียง, เคียง, ราย.
  22. ราชทัณฑ์ : น. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุม อบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).
  23. ราชธานี : น. เมืองหลวง.
  24. ราชบัณฑิต : [–บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.
  25. ราชบาตร : น. คําสั่งหลวง.
  26. ราชปะแตน : [ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัด ตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคําบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).
  27. ราชยาน : [ราดชะยาน] น. ยานชนิดคานหามของหลวง, เรียกว่า พระยาน ก็มี เช่น พระยานมาศ, เรียกว่า พระราชยาน ก็มี เช่น พระราชยานกง พระราชยานถม, เรียกว่า พระที่นั่งราชยาน ก็มี เช่น พระที่นั่งราชยาน พุดตานทอง, หรือเรียกเป็นอย่างอื่นก็มีคือ พระที่นั่งราเชนทรยาน. (ส.).
  28. ราชวงศ์ : น. ตระกูลของพระราชา เช่น ราชวงศ์พระร่วง ราชวงศ์บ้าน พลูหลวง; ตําแหน่งเจ้านายในเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ เรียกว่า เจ้าราชวงศ์. (ส.).
  29. ราชวรมหาวิหาร : [ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวง ชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุกรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโทชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะ สงคราม.
  30. ราชวรวิหาร : [ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดหนึ่งซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอาราม หลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียก พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.
  31. รำโคม : น. การรําแบบหนึ่ง ผู้เล่นถือโคมรําเป็นท่าต่าง ๆ, เดิมเล่นเฉพาะ ในงานหลวง.
  32. รำแย้ : น. ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เช่น กระเทียมหอมรําแย้ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  33. ริบราชบาตร : [–ราดชะบาด] ก. รวบเอาทรัพย์สินของคนที่ต้อง พระราชอาญาเข้าเป็นของหลวง.
  34. รุบาการ : (กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กําบงงรุบาการอันตรธาน ไป. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).
  35. เรียงราย : ก. เรียงติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น ต้นมะขามเรียงรายรอบ สนามหลวง นักเรียนเข้าแถวเรียงรายไปตามถนน.
  36. เรือกัญญา : น. เรือหลวงที่จัดตั้งเก๋งประกอบหลังคาทรงกัญญา ใช้เป็น เรือประทับแรม หรือเรือพระประเทียบ.
  37. เรือแซง : น. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้าย กระบวน.
  38. เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
  39. เรือพระที่นั่ง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่ง อนันตนาคราช.
  40. เรือพระที่นั่งกราบ : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่าง ลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรง สำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
  41. เรือพระที่นั่งกิ่ง : น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของ พระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือ พระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่ง กิ่งไกรสรมุข.
  42. เรือพระที่นั่งรอง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค เช่น เรืออนงคนิกร เรืออัปสรสุรางค์.
  43. เรือพระที่นั่งศรี : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้า สักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับ ลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
  44. เรือพระประทีป : น. เรือที่ใช้ลอยในงานพระราชพิธีลอยพระประทีป ทำด้วยไม้ขุดจำลองจากเรือหลวงที่ใช้ในพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค ปักเทียนรายตามหลังกระทงเรือ ถวายให้ทรงจุดและปล่อย ลอยไปตามน้ำแทนกระทงหลวงซึ่งมีมาแต่เดิม.
  45. เรือพระประเทียบ : น. เรือหลวงจัดเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหรือ พระราชทานเป็นยานพาหนะของสมเด็จพระสังฆราช.
  46. เรือพิฆาต ๑ : น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้า กระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.
  47. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  48. ลบม : [ละบม] (แบบ) ก. ระบม เช่น นางก็ถวายบังคม ลบมพิลาลศกําสรด ไปมา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  49. ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  50. ลิตร : น. ชื่อหน่วยมาตราตวงตามวิธีเมตริก เท่ากับ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์ เซนติเมตร เทียบกับอัตราวิธีประเพณี เท่ากับ ๑ ทะนานหลวง. (ฝ. litre).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-495

(0.0386 sec)