Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หวีดร้อง, หวีด, ร้อง , then รอง, ร้อง, หวด, หวิด, หวีด, หวีดร้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หวีดร้อง, 503 found, display 101-150
  1. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  2. เข้าชื่อ : ก. ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจํานง.
  3. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  4. คดีแพ่ง : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน.
  5. คดีหมายเลขดำ : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียน คดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียง เป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยโดยเริ่ม ตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีดำ'' เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีดำที่ ๑/๒๕๔๐.
  6. คดีอนาถา : (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสีย ค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกาศาลเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
  7. คนธรรพ-, คนธรรพ์ : [คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชํานาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).
  8. คนธรรพศาสตร์ : [คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า วิชาดนตรี).
  9. ครวญ : [คฺรวน] ก. ร้องรําพัน.
  10. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  11. คร่ำครวญ : ว. ร้องรํ่ารําพัน.
  12. คฤธระ : [คฺรึทฺระ] (แบบ) น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็น ภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  13. คลอ : [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทําเสียงดนตรีหรือร้องเพลง เบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
  14. ค้อนทอง : น. ชื่อนกร้องเสียงดังกุ๊ก ๆ. (พจน. ๒๔๙๓).
  15. คอนเสิร์ต : น. การแสดงดนตรีสากลแบบหนึ่ง ใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่ อาจมี นักร้องด้วย. (อ. concert).
  16. คอสอง ๑ : น. ผู้ร้องถัดจากคนที่ ๑ ในวงเพลงที่ร้องแก้กันเป็นต้น, ผู้ว่าคล้อยตามอย่างลูกคู่.
  17. คายกคณะ : [คายะกะ-] น. หมู่คนผู้ขับร้อง, พวกขับร้อง, ลูกคู่. (ป., ส.).
  18. คายก, คายก- : [-ยก, คายะกะ-] (แบบ) น. ผู้ร้องเพลง, ผู้ขับร้อง. (ป., ส.).
  19. คายัน : (แบบ) ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส.).
  20. คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
  21. คำร้อง : (กฎ) น. (๑) คําขอที่ยื่นต่อทางราชการ เพื่อให้ทําการอย่างใด อย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง. (๒) คําขอที่คู่ความยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ศาล มีคําสั่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, คําร้องขอ ก็ว่า. (อ. request).
  22. คำร้อง : น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, เนื้อร้อง บทเพลง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
  23. คำร้องขอ : (กฎ) ดู คําร้อง๑(๒).
  24. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  25. คีต, คีต-, คีตกะ, คีตะ : [คีด, คีตะ-, คีตะกะ] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีต สําเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  26. คีรีบูน : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Fringillidae มีหลายชนิดและหลายสี ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปยุโรป กินเมล็ดพืช เป็นนกเลี้ยงใส่กรงไว้ฟัง เสียงร้องซึ่งไพเราะ ที่นิยมคือ ชนิดสีเหลือง (Serinus pusillus) และชนิดสีชมพู (Carpodacus erythrinus).
  27. คุ้มกัน : ก. คอยป้องกันให้ปลอดภัย, คุ้มครองให้พ้นจากบางสิ่งบางอย่าง เช่น คุ้มกันโรค คุ้มกันไม่ให้ถูกฟ้องร้อง.
  28. คู ๒ : ก. กิริยาที่นกบางชนิดเช่นนกเขาหรือนกพิราบขันหรือร้อง, โดยปริยาย หมายความว่า พูดแทะโลมกัน เช่น ข้อยคูดนูแนบนิทรา. (สรรพสิทธิ์).
  29. โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
  30. โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
  31. โฆษก : [โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).
  32. โฆษณา : [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทําการไม่ว่าโดยวิธี ใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการ ค้า. (ส.; ป. โฆสนา).
  33. โฆษณาการ : น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).
  34. โฆษิต : ก. กึกก้อง, ป่าวร้อง. (ส.; ป. โฆสิต).
  35. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  36. จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
  37. จ๊อก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมาเบา ๆ; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ก็ว่า.
  38. จ๋า : ว. คําขานรับ; คําลงท้ายคําร้องเรียก เช่น หนูจ๋า.
  39. จำเรียง : ก. ขับลํา, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (แผลงมาจาก เจรียง).
  40. จี่ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ส่วนใหญ่ ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย สีดําตลอด ปั้น มูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทํา เสียงร้องดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียกตัวฉู่ฉี่ หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อยได้แก่พวก ที่อยู่ในสกุล Onitis เช่น ชนิด O. subopacus พบมากในภาคใต้ ชนิด O. philemon พบมากในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ เป็นชนิด O. virens.
  41. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  42. เจรียง : [จะเรียง] (แบบ) ก. ขับลํา, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (ข. เจฺรียง).
  43. เจ้าข้า : ว. คําของผู้น้อยรับคําของผู้ใหญ่; คําร้องบอกกล่าว.
  44. เจี๊ยบ ๒ : น. เรียกลูกไก่ตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกเจี๊ยบ. ว. เสียงร้องของลูกเจี๊ยบ.
  45. ฉมบ : [ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น เงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
  46. ฉม่อง : [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
  47. ฉับฉ่ำ : (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
  48. ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  49. ฉุยฉาย : น. ชื่อเพลงร้องและท่ารําแบบหนึ่ง. ว. กรีดกราย.
  50. เฉด : ก. ขับไล่ไสส่ง เช่น เฉดหัวไป. ว. คําร้องไล่หมา.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-503

(0.0975 sec)