Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หวีดร้อง, หวีด, ร้อง , then รอง, ร้อง, หวด, หวิด, หวีด, หวีดร้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หวีดร้อง, 503 found, display 301-350
  1. เหมียว ๒, เหมียว ๆ : ว. มีเสียงอย่างเสียงแมวร้อง, เสียงร้องเรียกแมว.
  2. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  3. เห่เรือ : น. ทํานองที่ใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค.
  4. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  5. แหง่ : [แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยัง ทําอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.
  6. โหย : [โหยฺ] ก. อ่อนกําลัง, อ่อนใจ; ครวญถึง, รํ่าร้อง; มักใช้ประกอบคำอื่น ๆ เช่น โหยหา โหยหิว โหยหวน โหยไห้.
  7. โหยไห้ : ก. ร้องไห้ครํ่าครวญถึง.
  8. อกทะเล : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง มักร้องหรือบรรเลงเป็นเพลงลา.
  9. อภิรุต : น. เสียง, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  10. อรรถคดี : [อัดถะคะดี] (กฎ) น. เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล.
  11. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  12. อ้อน : ก. พรํ่าร้องขอ, ร้องสําออย, อาการร้องไห้อย่างเด็กอ่อน.
  13. อาญา : น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺ?า); (กฎ) คดีที่เกี่ยวกับการ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับ คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.
  14. อายัด : (กฎ) ก. ห้ามจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง.
  15. อายุความ : (กฎ) น. ระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ใช้สิทธิ เรียกร้อง บังคับฟ้อง หรือร้องทุกข์.
  16. อี๊ด : ว. เสียงร้องดังเช่นนั้น.
  17. อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
  18. อื้น : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, เอิ้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.
  19. อุก ๑ : น. ชื่อเรียกปลากดหลายชนิดในวงศ์ Ariidae ซึ่งเมื่อถูกจับขึ้นมา พ้นนํ้าจะร้องเสียงอุก ๆ.
  20. อุทธรณ์ : [อุดทอน] น. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ, การ นำมาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์. ก. (กฎ) ยื่นฟ้องหรือยื่นคําร้องต่อศาลสูงคัดค้านคํา พิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งหรือคํา วินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน, ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. (ป., ส. อุทฺธรณ).
  21. อุทลุม : [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียก ลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใด เปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมา ฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวน มันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).
  22. อุปรากร : [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).
  23. อุลปนะ : [อุนละปะ] น. การกล่าวอ้าง, การเรียกร้อง. (ป. อุลฺลปน).
  24. เอ๋ง : ว. เสียงอย่างเสียงหมาร้องเมื่อถูกตีเป็นต้น.
  25. เอ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่าพูดผิดไปเป็นต้น. ว. คําลงท้ายชื่อ หรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๋ย ก็ว่า.
  26. เอ๋ย : ว. คําลงท้ายชื่อหรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความ เอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คําที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคํากลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ย กาดํา รถเอ๋ยรถทรง.
  27. เอิ้น : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคํา, อื้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.
  28. เอื้อน ๑ : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, อึ้น หรือ เอิ้น ก็ว่า.
  29. เอื้อน ๒ : ก. ออกเสียงขับร้องให้เลื่อนไหลกลมกลืนไปตามทำนองตอนที่ไม่มี เนื้อร้อง, ยืดหรือลากเสียงออกไปให้เข้ากับจังหวะของทํานองเพลง.
  30. โอ๊ก ๑ : ว. เสียงอย่างเสียงไก่ร้อง; อาการที่แสดงว่าเหลืออดเหลือทน เช่น ของแพงจนคนร้องโอ๊ก.
  31. โอดกาเหว่า : (ปาก) ก. ร้องไห้ครํ่าครวญ.
  32. โอดโอย : ก. ร้องเพราะความเจ็บปวด, (ปาก) ร้องเรียนว่าไม่ได้รับ ความเป็นธรรมเป็นต้น.
  33. โอละพ่อ : ว. กลับตรงกันข้าม อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ. น. คําขึ้นต้น ที่พวกระเบ็งร้องและรําในการมหรสพของหลวงเช่นพระราชพิธี โสกันต์.
  34. หวด ๑ : น. ภาชนะอย่างหนึ่งสําหรับนึ่งของ ทำด้วยดินเผา ไม้ไผ่สาน เป็นต้น.
  35. หวด ๒ : ก. ฟาด, ตีแรง ๆ, โบย.
  36. รองพื้น ๑ : ดูใน รอง.
  37. รองจ่าย : (ปาก) ก. ทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย, เรียกเงินที่ใช้เช่น นั้นว่า เงินรองจ่าย.
  38. รองบ่อน : ว. ประจําบ่อน, ที่ยืนโรงไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด เช่น ไก่รองบ่อน.
  39. รองพื้น ๑ : ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะ ระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น; อาการที่เอาครีมหรือแป้ง; ป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น.
  40. รองท้อง : ก. กินพอกันหิวไปก่อน.
  41. รองพื้น ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่าเท้าทําให้พื้นเท้าเป็นรูพรุน.
  42. ไก่รองบ่อน : (สํา) น. ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสํารอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้.
  43. ฉลอง ๓ : [ฉะหฺลอง] ก. จำลอง, รอง, แทน, ช่วย.
  44. บรรทัดรองมือ : น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียน ภาพ เป็นไม้แบน ๆ ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลาย ข้างหนึ่งด้วยสำลีพันกระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม.
  45. ใบรับรอง : น. เอกสารที่แสดงการรับรอง เช่น ใบรับรองแพทย์.
  46. มีดหวด : น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว ด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า, พร้าหวด ก็เรียก.
  47. มือรอง : น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก, คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
  48. เรืองรอง : ว. สุกปลั่ง เช่น พระพุทธรูปมีแสงเรืองรอง.
  49. อุปะ : [อุปะ, อุบปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและ สันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).
  50. โอร : [ระ] ว. ตํ่า, ใต้; รอง; หลัง; ฝั่งนี้. (ป.; ส. อวร).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-503

(0.0939 sec)