Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เส้นโลหิต, โลหิต, เส้น , then ลหต, โลหิต, โลหิตะ, สน, เส้น, เส้นโลหิต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เส้นโลหิต, 505 found, display 101-150
  1. ขนาน ๒ : [ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียก เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน; เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกัน เป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน. (ข. ขฺนาน ว่า เทียบ).
  2. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  3. ขมวน : [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัว เต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลําตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดํา ท้องสี ขาวหม่นและมีเส้นสีดําเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้ง ปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
  4. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  5. ข้ออ้อย : น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อเหล็กเส้นชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะ คล้ายลำอ้อย.
  6. ข้างตะเภา : น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลา ขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัว โตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
  7. ข้าวซอย : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง เป็นเส้นคล้ายบะหมี่ แล้วปรุงเครื่อง, เดิมเรียก ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ.
  8. ขาวพวง : น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มจุก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๑๕ เซนติเมตร.
  9. ข้าหลวง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scolopsis leucotaenia ในวงศ์ Nemipteridae มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น พบอาศัย อยู่ตามแนวหินปะการัง.
  10. ขิด : น. ชื่อผ้าทอชนิดหนึ่ง มีวิธีทําลวดลายโดยใช้ไม้แผ่นแบนบางปากโค้ง ให้ปลายหนึ่งแหลมเป็นเครื่องมือสําหรับสะกิดเส้นเครือหรือเส้นยืน เพื่อเก็บยกขึ้นตามรูปลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถว แต่ละลาย, เขียนเป็น ขิต ก็มี.
  11. ขีด : ก. ใช้ของแหลมหรือมีดเป็นต้นทําให้เป็นเส้นหรือรอยยาว. น. แนวเส้น; ระดับ เช่น เกินขีด, ขีดขั้น ก็ว่า; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาว ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด; (ปาก) เรียกเครื่องหมาย แสดงระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน เช่น ข้าราชการชั้นตรีที่บ่ามีขีดใหญ่ ๑ ขีด; เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัมว่า ขีดหนึ่ง.
  12. ขีดคร่อม : (กฎ) ก. ขีดเส้นขนานคู่ขวางไว้ข้างด้านหน้าเช็ค. (ดู เช็คขีดคร่อม).
  13. ขีดฆ่า : (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือ ชื่อกำกับเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวล รัษฎากร หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีด เส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
  14. ขี้เหล็ก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Cassia siamea Lam. ในวงศ์ Leguminosae มักขึ้นตามริมนํ้าหรือป่าชื้น ดอกเหลืองดกเป็นช่อใหญ่ เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่หรือบางทีเกือบดํา มีลายเป็นเส้นสีแก่หรือสีอ่อนกว่าพื้น แข็ง เหนียว และหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ใบอ่อน และดอกกินได้.
  15. ขึง : ก. ทําให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียด ออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
  16. เขตแดน : น. พื้นที่ที่กําหนดขีดคั่นไว้, เส้นแบ่งพื้นที่ระหว่าง ๒ ประเทศ, อาณาเขต.
  17. เขย่งก้าวกระโดด : น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทาง ทีละคนจนถึงเส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับ ยันตัวขึ้นแล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใคร กระโดดได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ.
  18. เขียดตะปาด : ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาด, แต่งหนังสือ.
  19. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  20. แขละ : [แขฺละ] น. ลายเกลียวเส้นลวดเล็ก ๆ ส่วนมากนิยมทำไว้ตรงโคนกระเปาะ ที่ฝังหัวแหวนแบบโบราณชนิดเม้มหรือล้มขอบ.
  21. แขสร์ : [ขะแส] น. กระแส; เส้นเชือก. (ข.).
  22. ไข่ปลา : น. จุดที่เรียงกันเป็นเส้น, ลายที่มีจุดเล็ก ๆ เป็นเส้นหรือเป็นกลุ่ม.
  23. คดกริช : น. ชื่อลายชนิดหนึ่งเป็นเส้นยาวคดไปมาอย่างรูปกริช, พดกริช ก็เรียก.
  24. ค้นหูก : ก. จัดเส้นไหมหรือด้ายสําหรับทอผ้าให้มีจํานวนเหมาะกัน กับช่องฟันฟืม.
  25. คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
  26. คร่ำ ๔ : [คฺร่ำ] ก. เอาเส้นเงินหรือเส้นทองกดและตอกให้ติดบนผิวเหล็ก ทำเป็น ลวดลาย, ถ้าเป็นลวดลายเงิน เรียก คร่ำเงิน, ถ้าเป็นลวดลายทอง เรียก คร่ำทอง.
  27. ครุย : [คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวม หรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
  28. คล้อง : [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
  29. ความเฉื่อย : (ฟิสิกส์) น. สมบัติของเทหวัตถุที่จะคงสภาพนิ่งอยู่อย่างเดิมตลอดไป หรือคงสภาพเคลื่อนที่อย่างสมํ่าเสมอในแนวเส้นตรงตลอดไป. (อ. inertia).
  30. คอนกรีตเสริมเหล็ก : น. คอนกรีตที่ใช้เหล็กเส้นหรือตะแกรงเหล็ก เสริมภายในเพื่อเพิ่มความแข็งแรง.
  31. คอนกรีตอัดแรง : น. คอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กรรมวิธีดึงเหล็กเส้น ให้ยืดตัวเต็มที่ก่อนแล้วจึงหล่อคอนกรีตหุ้ม เพื่อให้รับนํ้าหนักได้ดียิ่งขึ้น.
  32. คอร์ด : (คณิต) น. เส้นตรงที่เชื่อมจุด ๒ จุด บนเส้นโค้งใด ๆ. (อ. chord).
  33. เคเบิล : น. เส้นลวดโลหะขนาดใหญ่ แข็งและเหนียว ใช้ผูกยึดของขนาดใหญ่ เช่นเรือ สะพานแขวน; ตัวนําไฟฟ้าหลายเส้นที่นํามาประกอบกันเป็น สายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์ สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. (อ. cable).
  34. โค้ง : ก. น้อมลง, ทําให้น้อมลง เช่น โค้งคำนับ โค้งตัว. ว. ลักษณะของเส้น หรือสิ่งที่มีรูปอย่างส่วนหนึ่งของวงกลม เช่น ทางโค้ง.
  35. โครโมโซม : น. ส่วนหนึ่งของนิวเคลียสของเซลล์ มีลักษณะเป็นท่อนหรือเป็นเส้น ประกอบขึ้นด้วยสารดีเอ็นเอ (DNA = deoxyribonucleic acid) เชื่อมกับ โปรตีน ทําหน้าที่สําคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ทั้งควบคุมการทํางานของเซลล์และการแบ่งเซลล์. (อ. chromosome).
  36. โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  37. งวง ๒ : น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo ในวงศ์ Meleagrididae ขนสวยงาม คอและหัวเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ เหนือจะงอยปากบนมี หนังเส้นหนึ่งห้อยยาวเหมือนงวง ตัวผู้มักพองขนและรําแพนหาง มีถิ่น กำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ.
  38. งา ๔ : น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือ ครีบก้น ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียง ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงินอมเหลืองส้ม.
  39. เงินแล่ง : น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า.
  40. เงื่อน ๑ : น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือ เงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อน ที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย.
  41. จบ ๓ : ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน.
  42. จัก ๑ : ก. ทําให้เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ คล้ายฟันเลื่อย, เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ. ว. เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ.
  43. จักตอก : ก. เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบนบาง สำหรับใช้ผูกมัด หรือสานสิ่งต่าง ๆ.
  44. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  45. จิ้งหรีด : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลําตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้าง ของลําตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็น ชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับ ทําเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทํา เสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดํา (Acheta bimaculatus) ทองแดง (Gryllus testaceus), จังหรีด ก็เรียก. จิ้งหรีดผี ดู แอ้ด.
  46. จิตรเลขา : น. รูปภาพลายเส้น. (ส.; ป. จิตฺตเลขา).
  47. จุกพราหมณ์ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cymbiola nobilis ในวงศ์ Volutidae เปลือกหนารูปไข่ พื้นผิวด้านนอกมีลายเส้นหยักสีนํ้าตาลไหม้บนพื้น สีนํ้าตาลอ่อน ปลายยอดเป็นจุกม้วนเป็นวงเหมือนมวยผมของพราหมณ์.
  48. จุดศูนย์กลาง : (คณิต) น. จุดที่อยู่ตรงใจกลางของวงกลมหรือวงรี ซึ่งเป็นจุด กึ่งกลางของคอร์ดทุกเส้นที่ผ่านจุดนั้น, จุดรวม.
  49. จุดสัมผัส : (คณิต) น. จุดที่เส้นสัมผัสแตะเส้นโค้ง. (อ. point of contact).
  50. เจ็ดชั่วโคตร : น. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-505

(0.1143 sec)